วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนพัฒนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแผแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสังคมแห่งชาติาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และคณะราษฎร์ ได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ ดำเนินการร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งคือ การรวมแรงงานและที่ดินเพื่อการผลิต ในรูปสหกรณ์ตามความสมัครใจ แต่ประเทศสังคมนิยมเท่านั้นที่ใช้แผนเศรษฐกิจ ต่อมา พ.ศ.2504 เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี การนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมที่นายปรีดี เสนอไว้มาใช้ มีการประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2504 จนถึงปัจจุบัน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504-2506
จุดหมายของพัฒนาการเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ. 2504-2506-2509
1.รายได้ประชาชาติ
2..การสะสมทุน
3.เกษตรกรรม
4.อุตสาหกรรม
5.พลังงาน
6.คมนาคม
7.การศึกษาและสาธารณสุข
8.การค้าระหว่างประเทศ
9.การเงินและการคลัง
นโยบายของพัฒนาการเศรษฐกิจ
1. เกษตรกรรม
2.การสหกรณ์
3.อุตสาหกรรม
4.การพลังงาน
5.การคมนาคม
6.การสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา ท่อระบายน้ำ สุขาภิบาลอื่นๆ)
7.การปรับปรุงระบบการจำหน่าย
8.การรักษาเสถียรภาพของเงิน
9.การสังคม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2510-2514
สาระสำคัญของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สอง (พ.ศ. 2510 – 2514)
ขอบเขตของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สอง
1. การวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ขยายขอบเขตให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นลำดับมา ได้มีการขยายขอบเขตของแผนให้คลุมถึงการพัฒนาของรัฐโดยสมบูรณ์ โดยได้รวมการพัฒนาในด้านรัฐวิสาหกิจและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วย
2. นอกจากได้มีการพิจารณาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐในสาขาต่างๆ ตลอดจนวิธีที่รัฐจะจัดหาเงินเพื่อใช้จ่ายตามโครงการโดยละเอียดแล้ว ได้มีการเพิ่มเติมสาระสำคัญขึ้นใหม่ดังต่อไปนี้
2.1 เน้นความสำคัญของการพัฒนาสังคม
2.2 ให้ความสำคัญในด้านพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกัน
2.3 เน้นความสำคัญของส่วนเอกชน
2.4 ส่งเสริมการพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชนบท
3. การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังได้กล่าวแล้วนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่รัฐจะสามารถกำหนดเป้าหมาย นโยบาย มาตรการและโครงการ ตลอดจนทรัพยากรทั้งในด้านกำลังเงินและกำลัง คนให้ประสานสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกันในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฉบับที่สองนี้ ตลอดจนวางแนวการพัฒนาในระยะยาวต่อไปด้วยการพัฒนาส่วนรวม
วัตถุประสงค์และนโยบาย
วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนา ได้แก่การเพิ่มรายได้และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้นโดยการระดมกำลังทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อขยายพลังการผลิตและเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
เป้าหมายและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในระยะเวลาของแผนคาดว่าประเทศไทยจะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ในประเทศ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในระยะของแผนได้แก่รายจ่ายลงทุนซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนเอกชนและส่วนรัฐบาลอันจะมีผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวและประชาชนมีงานทำและมีรายได้มากขึ้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519
สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515–2519) นอกจากจะปรับปรุงวิธีการวางแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นแล้ว ยังได้ขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุมไปถึงหัวข้อต่างๆ
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นี้ ได้เริ่มขึ้นในระยะที่การเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ค่อยอำนวยเป็นครั้งแรกในระยะสิบปี ประเทศอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคหลายประการ อุปสรรคดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ แนวทางพัฒนาส่วนรวมของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ จึงได้เน้นหนักในด้านนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ควบคู่ไปกับการเร่งรัดพัฒนาสาขาที่มีลำดับความสำคัญสูง และการปูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาในระยะต่อไป
แนวทางพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3
แนวทางการพัฒนาส่วนรวม
การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ การเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในขณะที่มีปัญหาเศรษฐกิจตึงตัวนั้นไม่อาจทำได้โดยการเพิ่มระดับรายจ่ายของประเทศแต่อย่างเดียว แนวทางพัฒนาส่วนรวม จึงมุ่งที่จะให้รายจ่ายของประเทศอยู่ในระดับเหมาะสม และรักษาระดับทุนสำรองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกินไป
.แนวทางการพัฒนา แยกได้เป็น 3 ทาง คือ
ก.ปรับปรุงโครงสร้างระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ข.ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าประเภทที่ทำการผลิตอยู่แล้ว และลดต้นทุนการผลิต
ค.ปรับปรุงระบบตลาดภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่แน่นอนยิ่งขึ้น
การดำเนินการข้างต้นนี้ จะทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจมั่นคงและมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
.การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ
การรักษาเสถียรภาพทางการเงินเป็นนโยบายหลักที่ค้ำจุนการพัฒนายกระดับรายได้ของประชาชน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตึงตัว จะได้พุ่งไปที่จุดสำคัญ 3 จุด ดังได้กล่าวแล้ว ในระยะปลายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2
การรักษาทุนสำรองให้อยู่ในระดับที่มั่นคงเพียงพอ เป้าหมายที่สำคัญได้แก่ การรักษาเงินทุนสำรองในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ไว้ให้อยู่ในระดับที่มั่นคงเพียงพอ
เสถียรภาพการเงินการคลัง
โดยที่ระบบเศรษฐกิจจะเจริญก้าวหน้าในอัตราสูงติดต่อกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีเสถียรภาพในด้านของระดับราคาและมีสมดุลระหว่างระบบการผลิตกับความต้องการทางตลาด
เป้าหมาย
ก.พยายามลดความเหลื่อมล้ำในระดับรายได้และความแตกต่างในระดับความเป็นอยู่ของประชากรในชนบท
ข.ดำเนินโครงการอันเป็นการสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขให้ลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวลง
จ.ปรับปรุงวิธีดำเนินการของส่วนราชการต่างๆ ให้สามารถแก้ไขอุปสรรคขัดขวางการดำเนินงานได้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524
บทบาทและภาระของรัฐบาลที่จะต้องรับผิดชอบต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศในช่วง 5 ปีต่อไปนั้นจะเพิ่มขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในแง่การวางแนวนโยบายการพัฒนาประเทศและการตระเตรียมโครงการ พัฒนาด้านต่างๆให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและสนองวัตถุประสงค์การพัฒนา ประเทศตาม “แนวใหม่” เพื่อสร้างสรรความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 จึงได้กำหนดให้มีลักษณะเป็นแผนแม่บทที่ วางกรอบ “นโยบายแห่งชาติ” ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลและ ผู้บริหารนโยบายของประเทศ สามารถนำไปเป็นแนวในการปรับปรุงนโยบายเฉพาะด้านและการจัดทำแผนงานตลอดทั้งโครงการพัฒนาในแต่ละสาขาที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาประเทศในแนวเดียวกัน สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งเป็นแผนจัดกรอบ “นโยบายแห่งชาติ” มีประเด็นสำคัญที่แตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนๆ คือ 1.เป็นแผนพัฒนาฯ ที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ภายใต้พื้นฐานของความมั่นคงแห่งชาติโดยเน้นการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลทางเศรษฐกิจให้ลดลง และมุ่งที่จะเสริมสร้างสวัสดิภาพทางสังคมแก่คนส่วนใหญ่ในชาติ 2. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เน้นถึงการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจสังคมหลายด้านที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาเหล่านี้
วัตถุประสงค์หลัก เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4
1.วัตถุประสงค์หลัก แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลักของชาติไว้รวม 5 ประการ ซึ่งเกี่ยวโยงและสอดคล้องกันไป ดังสาระสำคัญต่อไปนี้
1.1เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 1.2เพื่อลดช่องว่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง 1.3เพื่อลดอัตราเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากรตลอดทั้งการเพิ่มการจ้างงานในประเทศ 1.4เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมของชาติ 1.5เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ปัญหาในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคง 2.เป้าหมายส่วนรวมและเงื่อนไขการพัฒนาที่สำคัญๆ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯ ที่มุ่งแก้ปัญหาเร่งด่วนในการที่จะฟื้นฟูและรักษาเสถียรภาพของประเทศให้มั่นคงขึ้นในช่วง 2 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ และการแก้ปัญหาขั้นรากฐานของประเทศนั้น ได้กำหนดเป้าหมายส่วนรวมของการพัฒนาไว้ดังต่อไปนี้
2.1เป้าหมายการผลิต 2.2เป้าหมายการค้าระหว่างประเทศ 2.3เป้าหมายการลงทุน 2.4เป้าหมายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2.5เป้าหมายด้านการคลัง
2.6เป้าหมายประชากรและการมีงานทำ
3.แนวทางการพัฒนาหลักเพื่อให้การพัฒนาได้ดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์หลักที่ต้องการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหาขั้นรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้พื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัยของชาติตามเป้าหมายที่กำหนดมานั้น รัฐบาลจะดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
อนึ่ง เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจะเร่งปรับปรุงกลไกเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เป็นแกนกลางรับผิดชอบต่อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการวางแผนระดับชาติ การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน และการบริหารงานบุคคลของส่วนกลางให้มีประสิทธิภาพและประสานงานกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำเอานโยบายของรัฐบาลมาปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและชัดเจน และปรับปรุงฝ่ายประสานงานต่างๆ ให้สามารถติดตามและควบคุมผลการดำเนินงานในกิจการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาฯ ที่วางไว้ด้วย ในการนี้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525-2529

จะเห็นได้ว่าขีดความสามารถของกลไกบริหารพัฒนาของรัฐเองก็มีข้อจำกัดหลายประการ เพราะไม่ได้มีการปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่จะสามารถรับมือได้กับปัญหาต่างๆ ที่ประดังเข้ามา ยังขาดระบบการประสานงานที่ดีทั้งด้านการกำหนดนโยบายและการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติตลอดทั้งการประสานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกับภาคเอกชน ทั้งนี้เพราะว่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปัญหารากฐานขั้นโครงสร้างที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้โดยวิธีการเฉพาะหน้าระยะสั้นอย่างง่ายๆนอกจากนั้นการพัฒนาประเทศจะต้องสร้างความสมดุลและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพื่อลดช่องว่าทางสังคมลงโดยให้มีการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจ ลดการผูกขาดและการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจลง ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความมั่นคงและความอยู่รอดทางการเมืองของชาติในอนาคต
ดังนั้น การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จึงได้ปรับแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ “แนวใหม่” ซึ่งแตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่แล้วๆ มา โดยถือว่าเป็น “แผนนโยบาย” ที่มีความชัดเจนพอที่จะแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติได้และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้คือ
ประการแรก : เน้น “การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ” มากกว่า “การมุ่งขยายอัตราความเจริญทา’เศรษฐกิจ” แต่อย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจและการผลิตภายในประเทศสามารถปรับตัวรับกันสถานการณ์ของโลกในอนาคต โดยเน้นการ “เพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจและการเพิ่มผลผลิต” เป็นหลัก
ประการที่สอง : เน้น “ความสมดุล” ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจให้มากขึ้น
ประการที่สาม : เน้น “การแก้ปัญหาความยากจน” ของคนชนบทในเขตล้าหลัง
ประการที่สี่ : มุ่งการประสานงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารงานรักษาความมั่นคงของชาติ ประการที่ห้า : เน้นการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยการปฏิรูปขบวนการวาง
แผนงาน การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน การบริหารกำลังคนให้สอดประสานกัน ขณะเดียวกันจะทำการปรับหรือพัฒนาองค์กรของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้สามารถนำเอานโยบายและแผนงานพัฒนาที่สำคัญไปปฏิบัติให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการสุดท้าย : เน้น “บทบาทและระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน” ให้เข้ามาร่วมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการผลิตในสาขาเกษตร อุตสาหกรรม การพัฒนาพลังงานและเร่งการส่งออก
สรุปเป้าหมายในการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม มีดังนี้
1 เป้าหมายการรักษาความมั่นคงทางการเงินของประเทศ
2 เป้าหมายการขยายกำลังผลิตของประเทศ
3 เป้าหมายลดปริมาณการนำน้ำมันเข้าลงร้อยละ 3 ต่อปี ในช่วงแผนฯ 5
4 เป้าหมายการคลังของรัฐบาล
5 เป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างและบริการสังคม
6 เป้าหมายของการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง
7 เป้าหมายการพัฒนาเพื่อความมั่นคง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาและข้อจำกัดสำคัญ ประกอบกับโอกาสของการพัฒนาที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับในอนาคตอันใกล้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สำคัญไว้ 2 ประการ คือ
ทางด้านเศรษฐกิจ จะต้องรักษาระดับการขยายตัว เพื่อรองรับกำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทางด้านสังคม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จะมุ่งพัฒนาคุณภาพคนเพื่อให้สามารถพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า มีความสงบสุขเกิดความเป็นธรรม สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาประเทศส่วนรวม

แนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักและเป้าหมายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ชัดเจน ประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนัก ก็คือ แม้ว่าสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายไปบ้าง และโอกาสในการพัฒนาจะมีมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นักที่จะใช้โอกาสดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทุ่มเทเอาใจใส่ ตลอดจนร่วมมือประสานงานเพื่อการทำงานอย่างหนักต่อไป
แผนงานหลัก
จากวัตถุประสงค์และแนวทางการพัฒนาดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ได้กำหนดแผนงานเพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 10 แผนงานซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
การปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนา
การปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและบริการคุณภาพบริการพื้นฐาน
การกระจายความเจริญและสร้างความเป็นธรรม
แนวทางการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
เพื่อให้การใช้แผนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนฯ ที่กำหนดไว้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดขอบเขตและวิธีการใช้แผนฯ ให้ชัดเจน ดังนั้น ในแผนพัฒนาฯ ไว้ดังต่อไปนี้
(1)เรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายระยะสั้น ไม่อยู่ในขอบเขตของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้
(2)สำหรับในเรื่องนโยบายระยะปานกลางและระยะยาว จะเน้นให้ความสำคัญแก่การจัดทำแผนประจำปี และแผนปฏิบัติการประจำปี
(3)ในการจัดทำแผนปฏิบัติการจะเน้นบทบาทของกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535-2539
วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7
ผลการทบทวนประเด็นการพัฒนาที่ผ่านมาพอจะสรุปได้ว่าการพัฒนาประเทศในช่วงแผนฯ 7 จำเป็นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณ คุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคมควบคู่กันไปเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน ดังนั้น จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ไว้ 3 ประการดังนี้
1.รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ
2.การกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3.เร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาประเทศ
การพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลตามวัตถุประสงค์หลักทั้ง 3 ประการ นั้น จะต้องพิจารณาถึงโอกาสและข้อจำกัดที่จะเกิดขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 เพื่อใช้ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป
แนวทางการพัฒนาหลักของประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ไว้ดังนี้
1 แนวทางการรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ 2 แนวทางการกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท 3 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม (5) จัดตั้งระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
5. สรุป
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 จะเป็นแผนที่ให้ความสมดุลแก่การพัฒนาในทุกด้าน และกระจายรายได้ที่เป็นธรรมสู่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และก็มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถที่จะช่วยตัวเองได้มากขึ้น และพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติไว้มิให้เสื่อมโทรมลงไป
ด้วยแนวทางต่างๆ ที่กำหนดไว้ จะทำให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ และจะทำให้ เป็นประเทศที่ก้าวออกสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดีขึ้น มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น ควบคู่ไปกับการธำรงรักษา ไว้ซึ่งศิลปวัฒธรรมอันดีงาม ภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ภาคราชการจะต้องมีการปรับตัว โดยลดบทบาทในการกำกับ
ดูแลหรือลงมือพัฒนาเองมาเป็นผู้ประสานงานการพัฒนากับภาคเอกชนอย่างเหมาะสมต่อไป

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544
แนวคิด ทิศทางและกระบวนทัศน์ใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
การก้าวไปสู่วิสัยทัศน์สังคมไทยที่พึงปรารถนาจำเป็นจะต้องทำอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปในระยะยาว โดยการสร้างโอกาส หลักประกันและสภาพแวดล้อมให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมกำหนดแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล เพื่อให้การพัฒนาสังคมไทยในอนาคตเป็นสังคมที่มีเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหาและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นก้าวแรกของการนำวิธีการใหม่ในการพัฒนาประเทศมาใช้เพื่อจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมให้สามารถบรรลุถึงสภาวะอันพึงปรารถนาของคนไทยทั้งชาติในอนาคต การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ได้เริ่มต้นจากการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มสาขาอาชีพและภูมิภาคของประเทศเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางตั้งแต่การเริ่มจัดทำแผน แทนการกำหนดแผนจากภาคราชการแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่างแต่ก่อน
การพัฒนาที่ท้าทายต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของสังคมไทยในอนาคต คือ การพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของคนไทยให้สามารถมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ที่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน สังคม และของชาติในที่สุด ดังนั้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้ปรับแนวคิดการพัฒนาจากเดิมที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นจุดมุ่งเน้นหลักของการพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะคนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกเรื่อง ยุทธศาสตร์ใหม่ที่เป็นหัวใจสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสองประการ คือ ประการแรก การพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐกับประชาชนให้เกิดขึ้นมากที่สุด โดยการใช้ระบบความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม ประการที่สอง การปรับระบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งการปรับกระบวนการและกลไกในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวและสัมพันธ์สอดคล้องกัน

สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)
1.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคม ช่วยแก้ปัญหาการพัฒนาที่ขาดความสมดุลคือ เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน และเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงปรารถนาในระยะยาว
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3.ลักษณะและการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนชี้ทิศทางการพัฒนาประเทศในทศวรรษหน้า ซึ่งเน้นการพัฒนาในลักษณะที่เป็นกระบวนการเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาเป็นแบบองค์รวม คือ การพัฒนาแบบรวมส่วนหรือบูรณาการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องมานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ เริ่มตั้งแต่ขั้นการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันให้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และเมื่อดำเนินการจัดทำกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แล้วเสร็จ
จากนั้น ดำเนินการในขั้นการจัดทำรายละเอียดของแผน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือในหลายรูปแบบ มีหลายหน่วยงานรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองสาระรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ จนสามารถประมวลเป็น “ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9” ซึ่งได้มีการปรับปรุงสาระสำคัญมาโดยลำดับอย่างต่อเนื่อง
ส า ร ะ สํ า คั ญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ๒๐ ปี มีจุดมุ่งหมายมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” โดยยึด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศแนวใหม่ ที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพและคุณภาพ และก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ๑.วัตถุประสงค์
(๑)เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน ความมั่นคง
(๒)เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(๓)เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(๔)เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
๒.เป้าหมาย
(๑)เป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาค
(๒)เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรที่สมดุล
(๓)เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี สร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม (๔)เป้าหมายการลดความยากจน ให้มีการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรต่อคนจน ลำดับความสำคัญของการพัฒนา ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑.การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ๒.การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เน้นพัฒนาธุรกิจชุมชน ๓.การบรรเทาปัญหาสังคม โดยต้องเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร ๔.การแก้ปัญหาความยากจน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554
ส า ร ะ สำ คั ญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐(พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔) ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิสัยทัศน์และพันธกิจ 1วิสัยทัศน์ประเทศไทย มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุขเศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” 2 พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยจะต้องปรับตัวในอนาคต การพัฒนาประเทศในระยะ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาไว้ ดังนี้ วัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อน (2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ (3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม (4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงินการคลัง (5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ (6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ (7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน เป้าหมาย เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ดังนี้ (1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน (2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน (3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ (4) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สู่การปฏิบัติต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคีพัฒนาจากทุกภาคส่วน รับผิดชอบ ร่วมกันขับเคลื่อน ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการปรับระบบการจัดสรรทรัพยากรและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมทั้งสร้างองค์ความรู้เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนให้สัมฤทธิ์ผล


เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่ามีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนาหรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่
นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พุทธศักราช 2489 เป็นต้นมา
พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ พระองค์ได้ทรงประสบกับความทุกข์ยากของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะพสกนิกรที่เป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนเหล่านี้ล้วนแต่ประสบกับปัญหาในการประกอบอาชีพเนื่องจากอาชีพการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ รวมทั้งศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อก่อนดินเคยอุดมสมบูรณ์ปลูกพืชอะไรก็เจริญเติบโต สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้ แต่ปัจจุบันดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็ระบาดรุนแรงมากขึ้น ปลูกพืชอะไรถ้าหากไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ก็จะไม่ได้เก็บเกี่ยวผลิตผล ไม่เพียงแต่โรคและแมลงศัตรูพืชเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร เช่นฝนแล้ง น้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นต้น นอกจากนี้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้น ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น สภาวะ
เศรษฐกิจและการตลาดเป็นสำคัญ ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจดี ตลาดมีความต้องการสูง ราคาผลิตผลทางการเกษตรก็จะดีไปด้วย เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ก็จะขายผลิตผลได้ ในราคาสูง สามารถมีรายได้ เพียงพอ ต่อการครองชีพ ภายในครอบครัว แต่ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ลงไป ประสบกับภาวะขาดทุน บางรายถึงกับล้มละลายไปก็มีไม่น้อย
ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยาก
ของพสกนิกรของพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยเน้นที่เกษตรกรยากจนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศ เกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ แนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ การจัดการแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการปลูกพืชในช่วงที่ไม่มีฝน เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืช หากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงานทำและมีรายได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น ดังกระแสพระราชดำรัสความว่า "หลักสำคัญต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" นอกจากการจัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้ว การแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำรินี้ ิ ยังเน้นการจัดการระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ไว้บริโภคในครอบครัว และพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่ายแนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรแบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ อันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคตแนวคิดในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จึงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
การเข้าสู่ความพอเพียงตามขั้นตอนของทฤษฎีใหม่
เหตุที่เรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
- มีการจัดแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรรายย่อยเนื้อที่ที่ถือครองขนาดเล็ก ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
- มีการคำนวณปริมาณน้ำกักเก็บให้เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปีโดยหลักวิชาการ
- มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ ให้แบ่งพื้นที่ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ถือครองประมาณ 10 - 15 ไร่ ต่อครอบครัว และแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) แหล่งน้ำ (2) นาข้าว (3) พืชผสมผสาน (4) ที่อยู่ โครงสร้างพื้นฐานในอัตราส่วนร้อยละ 30:30:30:10 ตามลำดับ โดยมี 3 ชั้น ๆ ละ อัตราร้อยละ 30 ดังนี้
ส่วนแรก ร้อยละ 30 ให้ขุดสระกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้เพาะปลูกและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งได้ตลอดปี ทั้งยังใช้เลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูได้ด้วย
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ให้ทำนาข้าว เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรบริโภคข้าวคนละ 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3 - 4 คน ดังนั้น ควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณไร่ละ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
ส่วนที่สาม ร้อยละ 30 ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ทำเชื้อเพลิง ไม่สร้างบ้าน พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อการบริโภคและใช้สอยอย่างพอเพียง หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
ส่วนที่สี่ ร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ เช่น ถนน คันดิน ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด พืชผักสวนครัว เป็นต้น
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
หลักการที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นทฤษฎีขั้นที่หนึ่งเท่านั้น เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบทั้งหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอกแล้ว และเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดำเนินการในด้าน
การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมดินการหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร การกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริหารที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าส่วนราชการองค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
- เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
"เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่ง เป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทย มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ขึ้น และจะทำให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม มีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป เนื่องจากการ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุขถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ ประเทศชาติ มั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ สรุปได้ดังนี้
1. เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทยคือกว่าร้อยละ70อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทานทั้งประเทศประมาณ ร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือการขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลนซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลนนับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้สามารถแก้ปัญหาหรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง
2.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และในบริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชชนิดเดียว พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่ มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น

3. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ
การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ อันได้แก่ ส่วนแรกประมาณร้อยละ 30 สำหรับขุดสระน้ำ สามารถใช้เลี้ยงปลาไวบริโภค ในครัวเรือนได้ ส่วนที่ 2 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกข้าว จะทำให้ เกษตรกรมีข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักไว้บริโภค ภายใน ครัวเรือน อย่างเพียงพอ ตลอดทั้งปี ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น พืชไร่ไม้ผล พืชผัก ผลิตผลจากพืชเหล่านี้ก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ด สำหรับใช้เป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือน จึงถือได้ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี
4.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบการเกษตรที่จัดให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร มีการจัดสรร พื้นที่ สำหรับปลูกพืชหลายชนิดอย่างเหมาะสม และหมุนเวียนปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยรวมแล้วจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่างจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชชนิดเดียวหรือมีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี จึงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

5. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี
โดยปกติแล้วเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานนั้น จะประกอบอาชีพหรือปลูกพืชเพียงปีละครั้ง มีช่วงระยะเวลาการทำงานในแต่ละปีประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น เวลาที่เหลือก็เป็นการว่างงานตามฤดูกาล บางรายก็ต้องเดินทางไปทำงานที่อื่น แต่เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในท้องถิ่นที่เป็นการว่างงานตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานของประชากรในระดับชุมชนและระดับประเทศได้ เพราะถ้าหากเกษตรการมีงานทำมีรายได้ในท้องถิ่นของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น
6.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง
จากที่กล่าวมา นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทำให้เกษตรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ เกษตรกรก็ไม่ต้องไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ เพราะการที่เกษตรกรต้องอพยพไปอาศัยอยู่ตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่นั้นก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาในด้านครอบครัวของเกษตรกรเอง เพราะเมื่อเกษตรกรออกไปทำงานที่อื่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมามากมาย เช่น บุตรหลานไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา ขาดการศึกษา ติดยาเสพติด ซึ่งล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แต่เมื่อเกษตรกรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ จะทำให้เกษตรกรมีงานทำอยู่กับบ้าน มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง

7. เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้
ลักษณะของเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นจะเน้นการใช้แรงงานภายในครอบครัว ถ้าเกษตรกรมีสมาชิกภายในครอบครัว5-6 คน ก็จะสามารถมีแรงงานเพียงพอสำหรับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ได้ การดำเนินงานก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์จากภายนอกหรือจากต่างประเทศมากนัก อีกประการหนึ่งแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่มักจะเน้นการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
ดังคำที่กล่าวกันมาตั้งแต่อดีตว่า "ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ" เกษตรทฤษฎีใหม่จะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติมีความมั่นคง เนื่องจากมีงานทำ มีอาหารบริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงทำให้เกษตรกรมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยตามอัตภาพ ดังนั้นเมื่อเกษตรกร ซึ่งเป็นฐานของประเทศมีความมั่นคง ก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงระบบเศรษฐกิจ ของประเทศส่วนรวมก็จะมั่นคงตามมาด้วย
9. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งยึดหลักการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดก็จะเป็นที่มั่นใจได้ว่าประชากรจะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข ไม่มีปัญหาการว่างงานและขาดแคลนอาหารบริโภค ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม ก็จะลดน้อยลง ประเทศชาติก็จะมั่นคงแข็งแรง ลดการพึ่งพาจากภายนอกหรือต่างประเทศ ดังนั้น การพัฒนาการประกอบอาชีพการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จะเป็นการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น