วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง

หลังจากที่เกิดการปฏิวัตจากเหล่าทหารและตำรวจเมื่อวันที่ 19 กย. 2549 แล้ว สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายหลายอย่าง ทำให้ประชาชนทั่วไปต้องมีการปรับตัวปรับความรู้สึกให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นให้ได้ มีทั้งในทางที่ดีขึ้นและเลวร้ายลง ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละบุคคลว่าจะมองไปในทางแง่มุมใด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ พอจะแยกได้เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ได้ดังนี้
-การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง
หลังจากที่มีการปฏิวัติแล้ว รัฐบาลก็เปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลทหารในทันที ถึงแม้ว่าจะมีการบอกกล่าวว่าเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นเพื่อจัดระเบียบด้านการเมืองใหม่ก็ตามแต่ก็มีการจัดการในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านงบประมาณ การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ตลอดจนนโยบายการเมืองและการไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดอย่างมากมาย โดยมีการกล่าวอ้างว่าเพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นใหม่ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มีการเตรียมพร้อมที่จะลงเลือกตั้งและมีการแตกตัวจากการร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลเดิม หรือฝ่ายค้าน เพื่อดูทิศทางทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น มีพรรคการเมืองที่เกิดใหม่มากขึ้น และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองกันอย่างมากมาย ทำให้เห็นถึงสัจธรรมที่ว่าไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในวงการเมืองได้อย่างแจ่มชัด ซึ่งการที่มีการร่วมมือกันระหว่างพรรคหลายๆพรรค ทำให้การเมืองของเมืองไทยขณะนี้ ไม่ค่อยมีเสถียรภาพมากเท่าไรนัก เพราะจะมีการต้องเกิดการต่อรองทางด้านตำแหน่งความสำคัญของแต่ละพรรคเกิดขึ้น ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า ไม่ค่อยมีความสามัคคีในฝ่ายรัฐบาลเท่าใดนัก มีการเสนอนโยบายที่มาจากคนละพรรค ซึ่งก็มีคนเห็นด้วยบ้าง หรือไม่ก็ถูกยกเลิกไปบ้าง ทำให้ดูเหมือนกับว่า รัฐบาลนี้ กำลังเดินไปข้างหน้าอย่างไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ถนนที่ต้องเดินผ่านไปเต็มไปด้วยปัญหามากมาย ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า รัฐบาลนี้จะสามารถประคับประคองให้อยู่รอบตลอดวาระได้หรือไม่ หรือจะมีการต้องเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นในอนาคนอันใกล้นี้
-การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
หลังจากที่เกิดการปฏิวัติ เศรษฐกิจไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดิ่งลงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลปัญหาทางด้านการเมืองที่ยังไม่สงบลง หรือจะด้วยเหตุผลที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกซึ่งทำให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนหรือคิดจะมาลงทุนไม่แน่ใจที่จะเข้ามาในเมืองไทยต่างก็พากันถอนตัวออกไปอย่างมากมาย มีการปิดตัวธุรกิจต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ตาม ทำให้เศรษฐกิจของเมืองไทยดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนตกอยู่ในภาวะตกงาน และทำให้กระแสการเงินติดขัด ถึงแม้รัฐบาลจะมีนโยบายแจกเงิน ให้ประชาชนไปเพื่อดึงให้มีการหมุนเวียนกระแสการใช้เงินมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมากนัก ตลอดจนจากนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงไว้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย เรียนฟรี นโยบายการขึ้นรถฟรี ค่าน้ำค่าไฟ ที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลเดิม ก็ยิ่งทำให้รัฐบาลขาดแคลนงบประมาณมากขึ้น เนื่องจากงบประมาณเดิมเองก็ได้หมดไปตั้งแต่ตอนที่เป็นรัฐบาลทหารแล้ว ทำให้รัฐบาลใหม่ ต้องหาเงินเพิ่มไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากต่างชาติ หรือการออกพันธบัตรขายให้แก่ประชาชนก็ตาม โดยกล่าวว่าเพื่อจะได้นำมาลงทุนสร้างงาน เพื่อที่จะได้มีงานเพิ่มขึ้น ให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะมีการหมุนเวียนได้ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ตามที่คาดหวังนี้จริงก็จะสามารถทำให้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ทีดีขึ้นได้ แต่เมื่อดูจากสายตาจากสถาบันที่เกี่ยวของกับธุรกิจในต่างประเทศแล้ว จะเห็นได้ว่า ต่างชาติ ยังไม่วางใจมากพอที่จะเข้ามาทำธุรกิจเพิ่มเติมในไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า ขณะนี้ ทุกประเทศเองต่างก็กำลังประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ถ้าคิดจะลงทุนอะไร ก็จะต้องคิดแล้วว่า เขาจะต้องได้ประโยชน์อย่างแน่นอน แต่เนื่องจากประเทศไทยขณะนี้ สถานการณ์บ้านเมืองยังคงไม่นิ่งพอ มีกลุ่มคนที่แตกต่างทางด้านความคิดกันหลายกลุ่ม และมีการต่อต้านเกิดขึ้นอย่างมากมาย รัฐบาลเอง ต่างชาติก็มองว่ายังขาดเสถียรภาพ ไม่มั่นคง พอที่จะทำให้เชื่อถือได้ ทำให้ยังคงหวังได้ยากว่า ระบบเศรษฐกิจของเมืองไทย จะดีขึ้นในเร็ววันนี้


-การเปลี่ยนแปลงทางด้านความน่าเชื่อถือของต่างประเทศ
เมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น แน่นอนว่า ต่างชาติ ย่อมจับตามองอยู่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่า ต่างชาติ ย่อมไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องภายในอย่างแน่นอน แต่ทว่า ในปัจจุบัน ไทยมิได้เป็นประเทศที่อยู่เพียงลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาใครหรือไม่ต้องคบหาใครได้ เหมือนเช่นในอดีต เราจึงย่อมต้องพึ่งพาและต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมโลกด้วย ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่า สังคมโลกเปลียนไปอย่างมาก การแบ่งค่ายเป็นประเทศเสรี หรือประเทศ สังคมนิยมหรือสังคมเผด็จการนั้น มีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีอิสระเสรีและให้เสรีภาพทางด้านความคิดแก่ประชาชนมากขึ้น และให้ความสำคัญกับระบบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ดังนั้น การที่เรามีเหตุการณ์ที่ดูเหมือนกับการยึดอำนาจโดยคนกลุ่มน้อยเพื่อให้กลุ่มคนที่ได้รับเลือกมาจากคนกลุ่มใหญ่ของประเทศพ้นจากการบริหารงานไปนั้น ย่อมดูไม่ดีในสายตาคนต่างชาติ อย่างแน่นอน เพราะต่างชาติย่อมจะยึดถือว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ควรจะต่อสู้กันด้วยการใช้เหตุผลมากกว่าที่จะอารมณ์หรือความรุนแรงเข้า ต่อสู้กัน ซึ่งการใช้อารมณ์หรือความรุนแรงนั้น ไม่เคยได้รับผลที่ดีพร้อม ไม่ว่าอย่างไร ก็ย่อมที่จะมีการสูญเสียเกิดขึ้นแก่คนหมู่มากเสมอ ถ้าเราเห็นหรือมองว่าใครกระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ต้องหาหลักฐานมายืนยันความผิดนั้นให้ได้ ถึงแม้ว่าในสังคมไทยนั้นจะทำได้ยากก็ตามที เพราะไม่ว่าใคร ถ้าขึ้นมามีอำนาจ ก็จะใช้อิทธิพลทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์และความปลอดภัยของตัวเองเสมอ อันแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ ของสถาบันการปกครอง สถาบันของเหล่าผู้พิทักษ์ความถูกต้องทั้งหลาย ตลอดจนความไม่เด็ดขาดของกฏหมายไทยให้ชาวต่างชาติได้เห็นมากขึ้น
ซึ่งเมื่อชาวต่างชาติได้เห็นแบบนี้ย่อมที่จะไม่มีความมั่นใจเต็มร้อยพอที่จะกล้าเข้ามาที่จะลงทุนหรือแม้แต่จะมาท่องเที่ยวซึ่งเป็นการเอาเม็ดเงินเข้ามาสู่ประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ยึดสนามบิน การไปประท้วงยึดโรงแรมที่มีการประชุมระดับประเทศ หรือการปิดถนนไม่ให้คนเดินทางไปมาได้ ต้องมีการปิดโรงเรียน หรือหยุดงาน โดยที่ฝ่ายที่มีหน้าที่ป้องกันและรักษาความปลอดภัยไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ยิ่งทำให้เห็นถึงความอ่อนแอ ขาดความมั่นคงของรัฐบาล และทำให้ต่างชาติไม่เชื่อถือในรัฐบาล ในสถานการณ์ และในกระบวนการปฏิบัติงานของข้าราชการไทยได้ ซึ่งยิ่งจะทำให้ประเทศไทยในสายตาของทั่วโลกนั้น ไม่ค่อยดีนัก และขาดน้ำหนักในการที่จะเจรจาไม่ว่าจะในเรื่องใดก็ตาม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องไปถึงระบบเศรษฐกิจของชาติไปด้วย และทำให้ความคาดหวังที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่จะมาต่างชาติก็ย่อมจะไม่มีผลไปด้วย

แรงและการเคลื่อนที่

1. เวกเตอร์ของแรง
แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ
1. ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง โมเมนต์ โมเมนตัม น้ำหนัก เป็นต้น
2. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา พลังงาน ความยาว อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร อัตราเร็ว เป็นต้น
การเขียนเวกเตอร์ของแรง
การเขียนใช้ความยาวของส่วนเส้นตรงแทนขนาดของแรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง

2. การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
2.1 การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์ กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
2. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน
2.2 อัตราเร็ว ความเร่ง และความหน่วงในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
1. อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ใน 1 หน่วยเวลา
2. ความเร่งในการเคลื่อนที่ หมายถึง ความเร็วที่เพิ่มขึ้นใน 1 หน่วยเวลา เช่น วัตถุตกลงมาจากที่สูงในแนวดิ่ง
3. ความหน่วงในการเคลื่อนที่ของวัตถุ หมายถึง ความเร็วที่ลดลงใน 1 หน่วยเวลา เช่น โยนวัตถุขึ้นตรงๆ ไปในท้องฟ้า
3. การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
3.1 การเคลื่อนที่แบบวงกลม หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ขณะนั้นมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม เรียกว่า แรงเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เช่น การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
3.2 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวราบ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุขนานกับพื้นโลก เช่น รถยนต์ที่กำลังแล่นอยู่บนถนน
3.3 การเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ผสมระหว่างการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและในแนวราบ
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
นิวตัน ได้สรุปหลักการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งที่อยู่ในสภาพอยู่นิ่งและในสภาพเคลื่อนที่ ดังนี้
กฎข้อที่ 1 วัตถุถ้าหากว่ามีสภาพหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ มันยังจะคงสภาพเช่นนี้ต่อไป หากไม่มีแรงที่ไม่สมดุลจากภายนอกมากระทำ
กฎข้อที่ 2 ถ้าหากมีแรงที่ไม่สมดุลจากภายนอกมากระทำต่อวัตถุ แรงที่ไม่สมดุลนั้นจะเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงโมเมนต์ตัมเชิงเส้นของวัตถุ
กฎข้อที่ 3 ทุกแรงกริยาที่กระทำ จะมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดที่เท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้ามกระทำตอบเสมอ
กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 และข้อที่ 3 เราได้ใช้ในการศึกษาในวิชาสถิตยศาสตร์ มาแล้วสำหรับในการศึกษาพลศาสตร์ เราจึงสนใจในกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองมากกว่า
แรงในแบบต่างๆ
1. ชนิดของแรง
1.1 แรงย่อย คือ แรงที่เป็นส่วนประกอบของแรงลัพธ์
1.2 แรงลัพธ์ คือ แรงรวมซึ่งเป็นผลรวมของแรงย่อย ซึ่งจะต้องเป็นการรวมกันแบบปริมาณเวกเตอร์
1.3 แรงขนาน คือ แรงที่ที่มีทิศทางขนานกัน ซึ่งอาจกระทำที่จุดเดียวกันหรือต่างจุดกันก็ได้ มีอยู่ 2 ชนิด
- แรงขนานพวกเดียวกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางไปทางเดียวกัน
- แรงขนานต่างพวกกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางตรงข้ามกัน
1.4 แรงหมุน หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของการหมุนของ เรียกว่า โมเมนต์ เช่น การปิด-เปิด ประตูหน้าต่าง
1.5 แรงคู่ควบ คือ แรงขนานต่างพวกกันคู่หนึ่งที่มีขนาดเท่ากัน แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ และวัตถุที่ถูกแรงคู่ควบกระทำ 1 คู่กระทำ จะไม่อยู่นิ่งแต่จะเกิดแรงหมุน
1.6 แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด
1.7 แรงสู่ศูนย์กลาง หมายถึง แรงที่มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมหรือทรงกลมอันหนึ่งๆ เสมอ
1.8 แรงต้าน คือ แรงที่มีทิศทางต่อต้านการเคลื่อนที่หรือทิศทางตรงข้ามกับแรงที่พยายามจะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ เช่น แรงต้านของอากาศ แรงเสียดทาน
1.9 แรงโน้มถ่วงของโลก คือ แรงดึงดูดที่มวลของโลกกระทำกับมวลของวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
- น้ำหนักของวัตถุ เกิดจากความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกมากกระทำต่อวัตถุ
1.10 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
- แรงกิริยา คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่จุดจุดหนึ่ง อาจเป็นแรงเพียงแรงเดียวหรือแรงลัพธ์ของแรงย่อยก็ได้
- แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกัน โดยมีขนาดเท่ากับแรงกิริยา แต่ทิศทางของแรงทั้งสองจะตรงข้ามกัน

2. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยากับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2.1 วัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยา เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุตามแรงที่กระทำ เช่น การขว้างลูกหินออกไป
2.2 วัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงปฏิกิริยา เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุเนื่องจากมีแรงขับดันวัตถุให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น การเคลื่อนที่ของจรวด
แรงเสียดทาน
1. ความหมายของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เกิดขึ้นทั้งวัตถุที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ และจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
แรงเสียดทานมี 2 ประเภท คือ
1. แรงเสียดทานสถิต คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วอยู่นิ่ง
2. แรงเสียดทานจลน์ คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
2. การลดและเพิ่มแรงเสียดทาน
การลดแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี
1. การขัดถูผิววัตถุให้เรียบและลื่น
2. การใช้สารล่อลื่น เช่น น้ำมัน
3. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ล้อ ตลับลูกปืน และบุช
4. ลดแรงกดระหว่างผิวสัมผัส เช่น ลดจำนวนสิ่งที่บรรทุกให้น้อยลง
5. ออกแบบรูปร่างยานพาหนะให้อากาศไหลผ่านได้ดี
การเพิ่มแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี
1. การทำลวดลาย เพื่อให้ผิวขรุขระ
2. การเพิ่มผิวสัมผัส เช่น การออกแบบหน้ายางรถยนต์ให้มีหน้ากว้างพอเหมาะ
โมเมนต์ของแรง
1. ความหมายของโมเมนต์
โมเมนต์ของแรง(Moment of Force)หรือโมเมนต์(Moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น ค่าโมเมนต์ของแรง ก็คือ ผลคูณของแรงนั้นกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน (มีหน่วยเป็น นิวตัน-เมตร แต่หน่วย กิโลกรัม-เมตร และ กรัม-เซนติเมตร ก็ใช้ได้ในการคำนวน)

โมเมนต์ (นิวตัน-เมตร) = แรง(นิวตัน) X ระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน (เมตร)

2. ชนิดของโมเมนต์
โมเมนต์ของแรงแบ่งตามทิศการหมุนได้เป็น 2 ชนิด
1. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา คือ โมเมนต์ของแรงที่ทำให้วัตถุหมุนทวนเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา คือ โมเมนต์ของแรงที่ทำให้วัตถุหมุนตามเข็มนาฬิกา
3. หลักการของโมเมนต์
ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
เมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุล Mทวน = Mตาม
F1 x L1 = F2 x L2
การนำหลักการเกี่ยวกับโมเมนต์ไปใช้ประโยชน์
โมเมนต์ หมายถึง ผลของแรงซึ่งกระทำต่อวัตถุ เพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน
ความรู้เกี่ยวกับโมเมนต์ของแรง สมดุลของการหมุน และโมเมนต์ของแรงคู่ควบถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องผ่อนแรงชนิดต่าง ๆ
คาน เป็นวัตถุแข็ง ใช้ดีด – งัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุด ๆ หนึ่ง ทำงานโดยใช้หลักของโมเมนต์
นักวิทยาศาสตร์ใช้หลักการของโมเมนต์มาประดิษฐ์คาน ผู้รู้จักใช้คานให้เป็นประโยชน์คนแรก คือ
อาร์คีเมเดส ซึ่งเป็นนักปราชญ์กรีกโบราณ เขากล่าวว่า “ถ้าฉันมีจุดค้ำและคานงัดที่ต้องการได้ละก็ ฉันจะงัดโลกให้ลอยขึ้น”
คานดีด คานงัด แบ่งออกได้ 3 ระดับ
คานอันดับ 1 จุดหมุน (F) อยู่ในระหว่าง แรงต้านของวัตถุ (W) กับ แรงพยายาม (E)
ได้แก่ ชะแลง คีมตัดลวด กรรไกรตัดผ้า ตาชั่งจีน ค้อนถอนตะปู ไม้กระดก ฯลฯ

คานอันดับ 2 แรงต้านของวัตถุ (W) อยู่ระหว่าง จุดหมุน (F) กับแรงพยายาม (E)ได้แก่ เครื่องตัดกระดาษ เครื่องกระเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์ รถเข็นดิน อุปกรณ์หนีบกล้วย ที่เปิดขวดน้ำอัดลม
คานอันดับ 3 แรงพยายาม (E) อยู่ในระหว่าง จุดหมุน (F) กับ แรงพยายามของวัตถุ (W)ได้แก่ คันเบ็ด แขนมนุษย์ แหนบ พลั่ว ตะเกียบ ช้อน ฯลฯ


ตัวอย่างที่ 1 คานยาว 2 เมตร นำเชือกผูกปลายคานด้านซ้าย 0.8 เมตร แขวนติดกับเพดาน มีวัตถุ 30 กิโลกรัมแขวนที่ปลายด้านซ้าย ถ้าต้องการให้คานสมดุลจะต้องใช้วัตถุกี่กิโลกรัมแขวนที่ปลายด้านขวา (คายเบาไม่คิดน้ำหนัก)
เมื่อให้ O เป็นจุดหมุน เมื่อคายสมดุลจะได้
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
M ตาม = M ทวน
3 x 0.8 = W X 1.2
W = 20 kg
ตอบ ดังนั้น จะต้องใช้วัตถุ 20 กิโลกรัม แขวนที่ปลายด้านขวา
ตัวอย่าง 2 คานสม่ำเสมอยาว 1 เมตร คานมีมวล 2 กิโลกรัม ถ้าแขวนวัตถุหนัก 40 และ 60 กิโลกรัมที่ปลายแต่ละข้างจะต้องใช้เชือกแขวนคานที่จุดใดคานจึงจะสมดุล
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
M ทวน = M ตาม
(40 x X) + (2 x ( X - 0.5)) = 60 x ( 1-X )
40 X + 2X - 1 = 60 - 60X
40X + 2X +60X = 60 + 1
102X = 61
X = 0.6 m
ตอบ ต้องแขวนเชือกห่างจากจุก A เป็นระยะ 0.6 เมตร
4. โมเมนต์ในชีวิตประจำวัน
โมเมนต์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก แม้แต่การเคลื่อนไหวของอวัยวะบางส่วนของร่างกาย การใช้เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆ หลายชนิด เช่น




5. ประโยชน์โมเมนต์
จากหลักการของโมเมนต์จะพบว่า เมื่อมีแรงขนาดต่างกันมากระทำต่อวัตถุคนละด้านกับจุดหมุนที่ระยะห่างจากจุดหมุนต่างกัน วัตถุนั้นก็สามารถอยู่ในภาวะสมดุลได้ หลักการของโมเมนต์จึงช่วยให้เราออกแรงน้อยๆ แต่สามารถยกน้ำหนักมากๆ ได้

แผนพัฒนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแผแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสังคมแห่งชาติาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และคณะราษฎร์ ได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ ดำเนินการร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งคือ การรวมแรงงานและที่ดินเพื่อการผลิต ในรูปสหกรณ์ตามความสมัครใจ แต่ประเทศสังคมนิยมเท่านั้นที่ใช้แผนเศรษฐกิจ ต่อมา พ.ศ.2504 เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี การนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมที่นายปรีดี เสนอไว้มาใช้ มีการประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2504 จนถึงปัจจุบัน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504-2506
จุดหมายของพัฒนาการเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ. 2504-2506-2509
1.รายได้ประชาชาติ
2..การสะสมทุน
3.เกษตรกรรม
4.อุตสาหกรรม
5.พลังงาน
6.คมนาคม
7.การศึกษาและสาธารณสุข
8.การค้าระหว่างประเทศ
9.การเงินและการคลัง
นโยบายของพัฒนาการเศรษฐกิจ
1. เกษตรกรรม
2.การสหกรณ์
3.อุตสาหกรรม
4.การพลังงาน
5.การคมนาคม
6.การสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา ท่อระบายน้ำ สุขาภิบาลอื่นๆ)
7.การปรับปรุงระบบการจำหน่าย
8.การรักษาเสถียรภาพของเงิน
9.การสังคม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2510-2514
สาระสำคัญของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สอง (พ.ศ. 2510 – 2514)
ขอบเขตของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สอง
1. การวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ขยายขอบเขตให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นลำดับมา ได้มีการขยายขอบเขตของแผนให้คลุมถึงการพัฒนาของรัฐโดยสมบูรณ์ โดยได้รวมการพัฒนาในด้านรัฐวิสาหกิจและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วย
2. นอกจากได้มีการพิจารณาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐในสาขาต่างๆ ตลอดจนวิธีที่รัฐจะจัดหาเงินเพื่อใช้จ่ายตามโครงการโดยละเอียดแล้ว ได้มีการเพิ่มเติมสาระสำคัญขึ้นใหม่ดังต่อไปนี้
2.1 เน้นความสำคัญของการพัฒนาสังคม
2.2 ให้ความสำคัญในด้านพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกัน
2.3 เน้นความสำคัญของส่วนเอกชน
2.4 ส่งเสริมการพัฒนาส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชนบท
3. การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังได้กล่าวแล้วนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่รัฐจะสามารถกำหนดเป้าหมาย นโยบาย มาตรการและโครงการ ตลอดจนทรัพยากรทั้งในด้านกำลังเงินและกำลัง คนให้ประสานสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกันในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาฉบับที่สองนี้ ตลอดจนวางแนวการพัฒนาในระยะยาวต่อไปด้วยการพัฒนาส่วนรวม
วัตถุประสงค์และนโยบาย
วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนา ได้แก่การเพิ่มรายได้และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้นโดยการระดมกำลังทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อขยายพลังการผลิตและเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
เป้าหมายและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในระยะเวลาของแผนคาดว่าประเทศไทยจะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ในประเทศ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในระยะของแผนได้แก่รายจ่ายลงทุนซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนเอกชนและส่วนรัฐบาลอันจะมีผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวและประชาชนมีงานทำและมีรายได้มากขึ้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519
สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515–2519) นอกจากจะปรับปรุงวิธีการวางแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นแล้ว ยังได้ขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุมไปถึงหัวข้อต่างๆ
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นี้ ได้เริ่มขึ้นในระยะที่การเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ค่อยอำนวยเป็นครั้งแรกในระยะสิบปี ประเทศอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคหลายประการ อุปสรรคดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ แนวทางพัฒนาส่วนรวมของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ จึงได้เน้นหนักในด้านนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ควบคู่ไปกับการเร่งรัดพัฒนาสาขาที่มีลำดับความสำคัญสูง และการปูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาในระยะต่อไป
แนวทางพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3
แนวทางการพัฒนาส่วนรวม
การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ การเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในขณะที่มีปัญหาเศรษฐกิจตึงตัวนั้นไม่อาจทำได้โดยการเพิ่มระดับรายจ่ายของประเทศแต่อย่างเดียว แนวทางพัฒนาส่วนรวม จึงมุ่งที่จะให้รายจ่ายของประเทศอยู่ในระดับเหมาะสม และรักษาระดับทุนสำรองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกินไป
.แนวทางการพัฒนา แยกได้เป็น 3 ทาง คือ
ก.ปรับปรุงโครงสร้างระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ข.ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าประเภทที่ทำการผลิตอยู่แล้ว และลดต้นทุนการผลิต
ค.ปรับปรุงระบบตลาดภายในประเทศ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่แน่นอนยิ่งขึ้น
การดำเนินการข้างต้นนี้ จะทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจมั่นคงและมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
.การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ
การรักษาเสถียรภาพทางการเงินเป็นนโยบายหลักที่ค้ำจุนการพัฒนายกระดับรายได้ของประชาชน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตึงตัว จะได้พุ่งไปที่จุดสำคัญ 3 จุด ดังได้กล่าวแล้ว ในระยะปลายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2
การรักษาทุนสำรองให้อยู่ในระดับที่มั่นคงเพียงพอ เป้าหมายที่สำคัญได้แก่ การรักษาเงินทุนสำรองในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ไว้ให้อยู่ในระดับที่มั่นคงเพียงพอ
เสถียรภาพการเงินการคลัง
โดยที่ระบบเศรษฐกิจจะเจริญก้าวหน้าในอัตราสูงติดต่อกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีเสถียรภาพในด้านของระดับราคาและมีสมดุลระหว่างระบบการผลิตกับความต้องการทางตลาด
เป้าหมาย
ก.พยายามลดความเหลื่อมล้ำในระดับรายได้และความแตกต่างในระดับความเป็นอยู่ของประชากรในชนบท
ข.ดำเนินโครงการอันเป็นการสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขให้ลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวลง
จ.ปรับปรุงวิธีดำเนินการของส่วนราชการต่างๆ ให้สามารถแก้ไขอุปสรรคขัดขวางการดำเนินงานได้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524
บทบาทและภาระของรัฐบาลที่จะต้องรับผิดชอบต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศในช่วง 5 ปีต่อไปนั้นจะเพิ่มขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในแง่การวางแนวนโยบายการพัฒนาประเทศและการตระเตรียมโครงการ พัฒนาด้านต่างๆให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและสนองวัตถุประสงค์การพัฒนา ประเทศตาม “แนวใหม่” เพื่อสร้างสรรความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 จึงได้กำหนดให้มีลักษณะเป็นแผนแม่บทที่ วางกรอบ “นโยบายแห่งชาติ” ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลและ ผู้บริหารนโยบายของประเทศ สามารถนำไปเป็นแนวในการปรับปรุงนโยบายเฉพาะด้านและการจัดทำแผนงานตลอดทั้งโครงการพัฒนาในแต่ละสาขาที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาประเทศในแนวเดียวกัน สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งเป็นแผนจัดกรอบ “นโยบายแห่งชาติ” มีประเด็นสำคัญที่แตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนๆ คือ 1.เป็นแผนพัฒนาฯ ที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ภายใต้พื้นฐานของความมั่นคงแห่งชาติโดยเน้นการลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลทางเศรษฐกิจให้ลดลง และมุ่งที่จะเสริมสร้างสวัสดิภาพทางสังคมแก่คนส่วนใหญ่ในชาติ 2. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เน้นถึงการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจสังคมหลายด้านที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาเหล่านี้
วัตถุประสงค์หลัก เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4
1.วัตถุประสงค์หลัก แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหลักของชาติไว้รวม 5 ประการ ซึ่งเกี่ยวโยงและสอดคล้องกันไป ดังสาระสำคัญต่อไปนี้
1.1เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 1.2เพื่อลดช่องว่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง 1.3เพื่อลดอัตราเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากรตลอดทั้งการเพิ่มการจ้างงานในประเทศ 1.4เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมของชาติ 1.5เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ปัญหาในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคง 2.เป้าหมายส่วนรวมและเงื่อนไขการพัฒนาที่สำคัญๆ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯ ที่มุ่งแก้ปัญหาเร่งด่วนในการที่จะฟื้นฟูและรักษาเสถียรภาพของประเทศให้มั่นคงขึ้นในช่วง 2 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ และการแก้ปัญหาขั้นรากฐานของประเทศนั้น ได้กำหนดเป้าหมายส่วนรวมของการพัฒนาไว้ดังต่อไปนี้
2.1เป้าหมายการผลิต 2.2เป้าหมายการค้าระหว่างประเทศ 2.3เป้าหมายการลงทุน 2.4เป้าหมายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2.5เป้าหมายด้านการคลัง
2.6เป้าหมายประชากรและการมีงานทำ
3.แนวทางการพัฒนาหลักเพื่อให้การพัฒนาได้ดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์หลักที่ต้องการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหาขั้นรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้พื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัยของชาติตามเป้าหมายที่กำหนดมานั้น รัฐบาลจะดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
อนึ่ง เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจะเร่งปรับปรุงกลไกเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เป็นแกนกลางรับผิดชอบต่อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการวางแผนระดับชาติ การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน และการบริหารงานบุคคลของส่วนกลางให้มีประสิทธิภาพและประสานงานกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำเอานโยบายของรัฐบาลมาปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและชัดเจน และปรับปรุงฝ่ายประสานงานต่างๆ ให้สามารถติดตามและควบคุมผลการดำเนินงานในกิจการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาฯ ที่วางไว้ด้วย ในการนี้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525-2529

จะเห็นได้ว่าขีดความสามารถของกลไกบริหารพัฒนาของรัฐเองก็มีข้อจำกัดหลายประการ เพราะไม่ได้มีการปฏิรูประบบบริหารงานพัฒนาของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่จะสามารถรับมือได้กับปัญหาต่างๆ ที่ประดังเข้ามา ยังขาดระบบการประสานงานที่ดีทั้งด้านการกำหนดนโยบายและการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติตลอดทั้งการประสานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกับภาคเอกชน ทั้งนี้เพราะว่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปัญหารากฐานขั้นโครงสร้างที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้โดยวิธีการเฉพาะหน้าระยะสั้นอย่างง่ายๆนอกจากนั้นการพัฒนาประเทศจะต้องสร้างความสมดุลและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพื่อลดช่องว่าทางสังคมลงโดยให้มีการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจ ลดการผูกขาดและการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจลง ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความมั่นคงและความอยู่รอดทางการเมืองของชาติในอนาคต
ดังนั้น การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จึงได้ปรับแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ “แนวใหม่” ซึ่งแตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่แล้วๆ มา โดยถือว่าเป็น “แผนนโยบาย” ที่มีความชัดเจนพอที่จะแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติได้และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้คือ
ประการแรก : เน้น “การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ” มากกว่า “การมุ่งขยายอัตราความเจริญทา’เศรษฐกิจ” แต่อย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจและการผลิตภายในประเทศสามารถปรับตัวรับกันสถานการณ์ของโลกในอนาคต โดยเน้นการ “เพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจและการเพิ่มผลผลิต” เป็นหลัก
ประการที่สอง : เน้น “ความสมดุล” ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการกระจายการถือครองสินทรัพย์เศรษฐกิจให้มากขึ้น
ประการที่สาม : เน้น “การแก้ปัญหาความยากจน” ของคนชนบทในเขตล้าหลัง
ประการที่สี่ : มุ่งการประสานงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารงานรักษาความมั่นคงของชาติ ประการที่ห้า : เน้นการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยการปฏิรูปขบวนการวาง
แผนงาน การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน การบริหารกำลังคนให้สอดประสานกัน ขณะเดียวกันจะทำการปรับหรือพัฒนาองค์กรของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้สามารถนำเอานโยบายและแผนงานพัฒนาที่สำคัญไปปฏิบัติให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการสุดท้าย : เน้น “บทบาทและระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน” ให้เข้ามาร่วมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการผลิตในสาขาเกษตร อุตสาหกรรม การพัฒนาพลังงานและเร่งการส่งออก
สรุปเป้าหมายในการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม มีดังนี้
1 เป้าหมายการรักษาความมั่นคงทางการเงินของประเทศ
2 เป้าหมายการขยายกำลังผลิตของประเทศ
3 เป้าหมายลดปริมาณการนำน้ำมันเข้าลงร้อยละ 3 ต่อปี ในช่วงแผนฯ 5
4 เป้าหมายการคลังของรัฐบาล
5 เป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างและบริการสังคม
6 เป้าหมายของการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง
7 เป้าหมายการพัฒนาเพื่อความมั่นคง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาและข้อจำกัดสำคัญ ประกอบกับโอกาสของการพัฒนาที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับในอนาคตอันใกล้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สำคัญไว้ 2 ประการ คือ
ทางด้านเศรษฐกิจ จะต้องรักษาระดับการขยายตัว เพื่อรองรับกำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทางด้านสังคม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จะมุ่งพัฒนาคุณภาพคนเพื่อให้สามารถพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า มีความสงบสุขเกิดความเป็นธรรม สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาประเทศส่วนรวม

แนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์หลักและเป้าหมายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ชัดเจน ประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนัก ก็คือ แม้ว่าสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายไปบ้าง และโอกาสในการพัฒนาจะมีมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นักที่จะใช้โอกาสดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทุ่มเทเอาใจใส่ ตลอดจนร่วมมือประสานงานเพื่อการทำงานอย่างหนักต่อไป
แผนงานหลัก
จากวัตถุประสงค์และแนวทางการพัฒนาดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ได้กำหนดแผนงานเพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 10 แผนงานซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
การปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนา
การปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและบริการคุณภาพบริการพื้นฐาน
การกระจายความเจริญและสร้างความเป็นธรรม
แนวทางการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
เพื่อให้การใช้แผนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนฯ ที่กำหนดไว้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดขอบเขตและวิธีการใช้แผนฯ ให้ชัดเจน ดังนั้น ในแผนพัฒนาฯ ไว้ดังต่อไปนี้
(1)เรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายระยะสั้น ไม่อยู่ในขอบเขตของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้
(2)สำหรับในเรื่องนโยบายระยะปานกลางและระยะยาว จะเน้นให้ความสำคัญแก่การจัดทำแผนประจำปี และแผนปฏิบัติการประจำปี
(3)ในการจัดทำแผนปฏิบัติการจะเน้นบทบาทของกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535-2539
วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7
ผลการทบทวนประเด็นการพัฒนาที่ผ่านมาพอจะสรุปได้ว่าการพัฒนาประเทศในช่วงแผนฯ 7 จำเป็นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณ คุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคมควบคู่กันไปเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน ดังนั้น จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ไว้ 3 ประการดังนี้
1.รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ
2.การกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3.เร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาประเทศ
การพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลตามวัตถุประสงค์หลักทั้ง 3 ประการ นั้น จะต้องพิจารณาถึงโอกาสและข้อจำกัดที่จะเกิดขึ้นในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 เพื่อใช้ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป
แนวทางการพัฒนาหลักของประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ไว้ดังนี้
1 แนวทางการรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ 2 แนวทางการกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท 3 แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม (5) จัดตั้งระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้
5. สรุป
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 จะเป็นแผนที่ให้ความสมดุลแก่การพัฒนาในทุกด้าน และกระจายรายได้ที่เป็นธรรมสู่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และก็มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถที่จะช่วยตัวเองได้มากขึ้น และพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติไว้มิให้เสื่อมโทรมลงไป
ด้วยแนวทางต่างๆ ที่กำหนดไว้ จะทำให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ และจะทำให้ เป็นประเทศที่ก้าวออกสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดีขึ้น มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น ควบคู่ไปกับการธำรงรักษา ไว้ซึ่งศิลปวัฒธรรมอันดีงาม ภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ภาคราชการจะต้องมีการปรับตัว โดยลดบทบาทในการกำกับ
ดูแลหรือลงมือพัฒนาเองมาเป็นผู้ประสานงานการพัฒนากับภาคเอกชนอย่างเหมาะสมต่อไป

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544
แนวคิด ทิศทางและกระบวนทัศน์ใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
การก้าวไปสู่วิสัยทัศน์สังคมไทยที่พึงปรารถนาจำเป็นจะต้องทำอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปในระยะยาว โดยการสร้างโอกาส หลักประกันและสภาพแวดล้อมให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมกำหนดแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล เพื่อให้การพัฒนาสังคมไทยในอนาคตเป็นสังคมที่มีเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหาและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นก้าวแรกของการนำวิธีการใหม่ในการพัฒนาประเทศมาใช้เพื่อจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมให้สามารถบรรลุถึงสภาวะอันพึงปรารถนาของคนไทยทั้งชาติในอนาคต การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ได้เริ่มต้นจากการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มสาขาอาชีพและภูมิภาคของประเทศเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางตั้งแต่การเริ่มจัดทำแผน แทนการกำหนดแผนจากภาคราชการแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่างแต่ก่อน
การพัฒนาที่ท้าทายต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของสังคมไทยในอนาคต คือ การพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะของคนไทยให้สามารถมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ที่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน สังคม และของชาติในที่สุด ดังนั้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงได้ปรับแนวคิดการพัฒนาจากเดิมที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นจุดมุ่งเน้นหลักของการพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะคนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกเรื่อง ยุทธศาสตร์ใหม่ที่เป็นหัวใจสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสองประการ คือ ประการแรก การพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐกับประชาชนให้เกิดขึ้นมากที่สุด โดยการใช้ระบบความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม ประการที่สอง การปรับระบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งการปรับกระบวนการและกลไกในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวและสัมพันธ์สอดคล้องกัน

สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)
1.วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคม ช่วยแก้ปัญหาการพัฒนาที่ขาดความสมดุลคือ เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน และเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาที่พึงปรารถนาในระยะยาว
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3.ลักษณะและการใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนชี้ทิศทางการพัฒนาประเทศในทศวรรษหน้า ซึ่งเน้นการพัฒนาในลักษณะที่เป็นกระบวนการเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาเป็นแบบองค์รวม คือ การพัฒนาแบบรวมส่วนหรือบูรณาการที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องมานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ เริ่มตั้งแต่ขั้นการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันให้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และเมื่อดำเนินการจัดทำกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แล้วเสร็จ
จากนั้น ดำเนินการในขั้นการจัดทำรายละเอียดของแผน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือในหลายรูปแบบ มีหลายหน่วยงานรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองสาระรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ จนสามารถประมวลเป็น “ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9” ซึ่งได้มีการปรับปรุงสาระสำคัญมาโดยลำดับอย่างต่อเนื่อง
ส า ร ะ สํ า คั ญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ๒๐ ปี มีจุดมุ่งหมายมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิด “การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย” โดยยึด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศแนวใหม่ ที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพและคุณภาพ และก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ๑.วัตถุประสงค์
(๑)เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน ความมั่นคง
(๒)เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(๓)เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(๔)เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
๒.เป้าหมาย
(๑)เป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาค
(๒)เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรที่สมดุล
(๓)เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี สร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม (๔)เป้าหมายการลดความยากจน ให้มีการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรต่อคนจน ลำดับความสำคัญของการพัฒนา ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑.การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ๒.การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เน้นพัฒนาธุรกิจชุมชน ๓.การบรรเทาปัญหาสังคม โดยต้องเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร ๔.การแก้ปัญหาความยากจน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554
ส า ร ะ สำ คั ญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐(พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔) ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิสัยทัศน์และพันธกิจ 1วิสัยทัศน์ประเทศไทย มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุขเศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” 2 พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศไทยจะต้องปรับตัวในอนาคต การพัฒนาประเทศในระยะ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาไว้ ดังนี้ วัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อน (2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ (3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม (4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงินการคลัง (5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ (6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ (7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน เป้าหมาย เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ดังนี้ (1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน (2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน (3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ (4) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สู่การปฏิบัติต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคีพัฒนาจากทุกภาคส่วน รับผิดชอบ ร่วมกันขับเคลื่อน ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการปรับระบบการจัดสรรทรัพยากรและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ รวมทั้งสร้างองค์ความรู้เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนให้สัมฤทธิ์ผล


เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่ามีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนาหรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่
นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พุทธศักราช 2489 เป็นต้นมา
พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ พระองค์ได้ทรงประสบกับความทุกข์ยากของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะพสกนิกรที่เป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนเหล่านี้ล้วนแต่ประสบกับปัญหาในการประกอบอาชีพเนื่องจากอาชีพการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ รวมทั้งศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อก่อนดินเคยอุดมสมบูรณ์ปลูกพืชอะไรก็เจริญเติบโต สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้ แต่ปัจจุบันดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็ระบาดรุนแรงมากขึ้น ปลูกพืชอะไรถ้าหากไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ก็จะไม่ได้เก็บเกี่ยวผลิตผล ไม่เพียงแต่โรคและแมลงศัตรูพืชเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร เช่นฝนแล้ง น้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นต้น นอกจากนี้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้น ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น สภาวะ
เศรษฐกิจและการตลาดเป็นสำคัญ ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจดี ตลาดมีความต้องการสูง ราคาผลิตผลทางการเกษตรก็จะดีไปด้วย เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ก็จะขายผลิตผลได้ ในราคาสูง สามารถมีรายได้ เพียงพอ ต่อการครองชีพ ภายในครอบครัว แต่ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ลงไป ประสบกับภาวะขาดทุน บางรายถึงกับล้มละลายไปก็มีไม่น้อย
ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยาก
ของพสกนิกรของพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยเน้นที่เกษตรกรยากจนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศ เกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ แนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ การจัดการแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการปลูกพืชในช่วงที่ไม่มีฝน เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืช หากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงานทำและมีรายได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น ดังกระแสพระราชดำรัสความว่า "หลักสำคัญต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" นอกจากการจัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้ว การแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำรินี้ ิ ยังเน้นการจัดการระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ไว้บริโภคในครอบครัว และพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่ายแนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรแบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ อันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคตแนวคิดในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จึงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
การเข้าสู่ความพอเพียงตามขั้นตอนของทฤษฎีใหม่
เหตุที่เรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
- มีการจัดแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรรายย่อยเนื้อที่ที่ถือครองขนาดเล็ก ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
- มีการคำนวณปริมาณน้ำกักเก็บให้เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปีโดยหลักวิชาการ
- มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ ให้แบ่งพื้นที่ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ถือครองประมาณ 10 - 15 ไร่ ต่อครอบครัว และแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) แหล่งน้ำ (2) นาข้าว (3) พืชผสมผสาน (4) ที่อยู่ โครงสร้างพื้นฐานในอัตราส่วนร้อยละ 30:30:30:10 ตามลำดับ โดยมี 3 ชั้น ๆ ละ อัตราร้อยละ 30 ดังนี้
ส่วนแรก ร้อยละ 30 ให้ขุดสระกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้เพาะปลูกและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งได้ตลอดปี ทั้งยังใช้เลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูได้ด้วย
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ให้ทำนาข้าว เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรบริโภคข้าวคนละ 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3 - 4 คน ดังนั้น ควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณไร่ละ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
ส่วนที่สาม ร้อยละ 30 ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ทำเชื้อเพลิง ไม่สร้างบ้าน พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อการบริโภคและใช้สอยอย่างพอเพียง หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
ส่วนที่สี่ ร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ เช่น ถนน คันดิน ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด พืชผักสวนครัว เป็นต้น
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
หลักการที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นทฤษฎีขั้นที่หนึ่งเท่านั้น เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบทั้งหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอกแล้ว และเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดำเนินการในด้าน
การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมดินการหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร การกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริหารที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าส่วนราชการองค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
- เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
"เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่ง เป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทย มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ขึ้น และจะทำให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม มีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป เนื่องจากการ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุขถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ ประเทศชาติ มั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ สรุปได้ดังนี้
1. เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทยคือกว่าร้อยละ70อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทานทั้งประเทศประมาณ ร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือการขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลนซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลนนับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้สามารถแก้ปัญหาหรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง
2.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และในบริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชชนิดเดียว พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่ มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น

3. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ
การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ อันได้แก่ ส่วนแรกประมาณร้อยละ 30 สำหรับขุดสระน้ำ สามารถใช้เลี้ยงปลาไวบริโภค ในครัวเรือนได้ ส่วนที่ 2 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกข้าว จะทำให้ เกษตรกรมีข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักไว้บริโภค ภายใน ครัวเรือน อย่างเพียงพอ ตลอดทั้งปี ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น พืชไร่ไม้ผล พืชผัก ผลิตผลจากพืชเหล่านี้ก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ด สำหรับใช้เป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือน จึงถือได้ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี
4.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบการเกษตรที่จัดให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร มีการจัดสรร พื้นที่ สำหรับปลูกพืชหลายชนิดอย่างเหมาะสม และหมุนเวียนปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยรวมแล้วจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่างจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชชนิดเดียวหรือมีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี จึงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

5. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี
โดยปกติแล้วเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานนั้น จะประกอบอาชีพหรือปลูกพืชเพียงปีละครั้ง มีช่วงระยะเวลาการทำงานในแต่ละปีประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น เวลาที่เหลือก็เป็นการว่างงานตามฤดูกาล บางรายก็ต้องเดินทางไปทำงานที่อื่น แต่เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในท้องถิ่นที่เป็นการว่างงานตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานของประชากรในระดับชุมชนและระดับประเทศได้ เพราะถ้าหากเกษตรการมีงานทำมีรายได้ในท้องถิ่นของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น
6.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง
จากที่กล่าวมา นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทำให้เกษตรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ เกษตรกรก็ไม่ต้องไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ เพราะการที่เกษตรกรต้องอพยพไปอาศัยอยู่ตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่นั้นก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาในด้านครอบครัวของเกษตรกรเอง เพราะเมื่อเกษตรกรออกไปทำงานที่อื่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมามากมาย เช่น บุตรหลานไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา ขาดการศึกษา ติดยาเสพติด ซึ่งล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แต่เมื่อเกษตรกรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ จะทำให้เกษตรกรมีงานทำอยู่กับบ้าน มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง

7. เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้
ลักษณะของเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นจะเน้นการใช้แรงงานภายในครอบครัว ถ้าเกษตรกรมีสมาชิกภายในครอบครัว5-6 คน ก็จะสามารถมีแรงงานเพียงพอสำหรับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ได้ การดำเนินงานก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์จากภายนอกหรือจากต่างประเทศมากนัก อีกประการหนึ่งแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่มักจะเน้นการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
ดังคำที่กล่าวกันมาตั้งแต่อดีตว่า "ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ" เกษตรทฤษฎีใหม่จะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติมีความมั่นคง เนื่องจากมีงานทำ มีอาหารบริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงทำให้เกษตรกรมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยตามอัตภาพ ดังนั้นเมื่อเกษตรกร ซึ่งเป็นฐานของประเทศมีความมั่นคง ก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงระบบเศรษฐกิจ ของประเทศส่วนรวมก็จะมั่นคงตามมาด้วย
9. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งยึดหลักการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดก็จะเป็นที่มั่นใจได้ว่าประชากรจะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข ไม่มีปัญหาการว่างงานและขาดแคลนอาหารบริโภค ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม ก็จะลดน้อยลง ประเทศชาติก็จะมั่นคงแข็งแรง ลดการพึ่งพาจากภายนอกหรือต่างประเทศ ดังนั้น การพัฒนาการประกอบอาชีพการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จะเป็นการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่ามีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนาหรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่
นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ เมื่อ พุทธศักราช 2489 เป็นต้นมา
พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ พระองค์ได้ทรงประสบกับความทุกข์ยากของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะพสกนิกรที่เป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนเหล่านี้ล้วนแต่ประสบกับปัญหาในการประกอบอาชีพเนื่องจากอาชีพการเกษตรนั้นต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่ดิน น้ำ ลมฟ้าอากาศ รวมทั้งศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากเมื่อก่อนดินเคยอุดมสมบูรณ์ปลูกพืชอะไรก็เจริญเติบโต สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้ แต่ปัจจุบันดินมีสภาพเสื่อมโทรมขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็ระบาดรุนแรงมากขึ้น ปลูกพืชอะไรถ้าหากไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ก็จะไม่ได้เก็บเกี่ยวผลิตผล ไม่เพียงแต่โรคและแมลงศัตรูพืชเท่านั้น ยังมีภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกร เช่นฝนแล้ง น้ำท่วม พายุ ลูกเห็บ เป็นต้น นอกจากนี้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรนั้น ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น สภาวะ
เศรษฐกิจและการตลาดเป็นสำคัญ ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจดี ตลาดมีความต้องการสูง ราคาผลิตผลทางการเกษตรก็จะดีไปด้วย เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ ก็จะขายผลิตผลได้ ในราคาสูง สามารถมีรายได้ เพียงพอ ต่อการครองชีพ ภายในครอบครัว แต่ถ้าหากปีใดเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ลงไป ประสบกับภาวะขาดทุน บางรายถึงกับล้มละลายไปก็มีไม่น้อย
ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยาก
ของพสกนิกรของพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยเน้นที่เกษตรกรยากจนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศ เกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ แนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ การจัดการแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการปลูกพืชในช่วงที่ไม่มีฝน เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืช หากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงานทำและมีรายได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น ดังกระแสพระราชดำรัสความว่า "หลักสำคัญต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" นอกจากการจัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้ว การแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำรินี้ ิ ยังเน้นการจัดการระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ไว้บริโภคในครอบครัว และพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่ายแนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรแบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ อันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคตแนวคิดในการแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จึงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
การเข้าสู่ความพอเพียงตามขั้นตอนของทฤษฎีใหม่
เหตุที่เรียกว่า "ทฤษฎีใหม่"
- มีการจัดแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรรายย่อยเนื้อที่ที่ถือครองขนาดเล็ก ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
- มีการคำนวณปริมาณน้ำกักเก็บให้เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปีโดยหลักวิชาการ
- มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ ให้แบ่งพื้นที่ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ถือครองประมาณ 10 - 15 ไร่ ต่อครอบครัว และแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) แหล่งน้ำ (2) นาข้าว (3) พืชผสมผสาน (4) ที่อยู่ โครงสร้างพื้นฐานในอัตราส่วนร้อยละ 30:30:30:10 ตามลำดับ โดยมี 3 ชั้น ๆ ละ อัตราร้อยละ 30 ดังนี้
ส่วนแรก ร้อยละ 30 ให้ขุดสระกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้เพาะปลูกและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งได้ตลอดปี ทั้งยังใช้เลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูได้ด้วย
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ให้ทำนาข้าว เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรบริโภคข้าวคนละ 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3 - 4 คน ดังนั้น ควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณไร่ละ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
ส่วนที่สาม ร้อยละ 30 ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ทำเชื้อเพลิง ไม่สร้างบ้าน พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อการบริโภคและใช้สอยอย่างพอเพียง หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป
ส่วนที่สี่ ร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ เช่น ถนน คันดิน ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด พืชผักสวนครัว เป็นต้น
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า
หลักการที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นทฤษฎีขั้นที่หนึ่งเท่านั้น เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และตัดค่าใช้จ่ายลงเกือบทั้งหมด มีอิสระจากสภาพปัจจัยภายนอกแล้ว และเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ ดังนี้
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ดำเนินการในด้าน
การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมดินการหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร การกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริหารที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าส่วนราชการองค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
- เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
ประโยชน์และความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่
"เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหนึ่งซึ่ง เป็นความหวังที่จะทำให้เกษตรกรไทย มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
ขึ้น และจะทำให้ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม มีความเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป เนื่องจากการ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อเกษตรกรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และครอบครัวอยู่อย่างอบอุ่นและมีความสุขถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีสภาพเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้ ประเทศชาติ มั่นคงทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศชาติยิ่ง ความสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ สรุปได้ดังนี้
1. เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทยคือกว่าร้อยละ70อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทานทั้งประเทศประมาณ ร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือการขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลนซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลนนับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้สามารถแก้ปัญหาหรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง
2.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และในบริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชชนิดเดียว พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่ มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น

3. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอ
การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ อันได้แก่ ส่วนแรกประมาณร้อยละ 30 สำหรับขุดสระน้ำ สามารถใช้เลี้ยงปลาไวบริโภค ในครัวเรือนได้ ส่วนที่ 2 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกข้าว จะทำให้ เกษตรกรมีข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักไว้บริโภค ภายใน ครัวเรือน อย่างเพียงพอ ตลอดทั้งปี ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 30 ใช้สำหรับปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น พืชไร่ไม้ผล พืชผัก ผลิตผลจากพืชเหล่านี้ก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ เพาะเห็ด สำหรับใช้เป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือน จึงถือได้ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถทำให้เกษตรกรมีอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี
4.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบการเกษตรที่จัดให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร มีการจัดสรร พื้นที่ สำหรับปลูกพืชหลายชนิดอย่างเหมาะสม และหมุนเวียนปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยรวมแล้วจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่างจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชชนิดเดียวหรือมีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี จึงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

5. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกษตรกรมีงานทำตลอดทั้งปี
โดยปกติแล้วเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานนั้น จะประกอบอาชีพหรือปลูกพืชเพียงปีละครั้ง มีช่วงระยะเวลาการทำงานในแต่ละปีประมาณ 3-4 เดือนเท่านั้น เวลาที่เหลือก็เป็นการว่างงานตามฤดูกาล บางรายก็ต้องเดินทางไปทำงานที่อื่น แต่เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในท้องถิ่นที่เป็นการว่างงานตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานของประชากรในระดับชุมชนและระดับประเทศได้ เพราะถ้าหากเกษตรการมีงานทำมีรายได้ในท้องถิ่นของตนเองแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น
6.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ปัญหาสังคมลดลง
จากที่กล่าวมา นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่สามารถทำให้เกษตรมีอาหารไว้บริโภค มีงานทำ มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ เกษตรกรก็ไม่ต้องไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ เพราะการที่เกษตรกรต้องอพยพไปอาศัยอยู่ตามเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่นั้นก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาในด้านครอบครัวของเกษตรกรเอง เพราะเมื่อเกษตรกรออกไปทำงานที่อื่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น สภาพเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมามากมาย เช่น บุตรหลานไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา ขาดการศึกษา ติดยาเสพติด ซึ่งล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แต่เมื่อเกษตรกรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ จะทำให้เกษตรกรมีงานทำอยู่กับบ้าน มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง

7. เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้
ลักษณะของเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นจะเน้นการใช้แรงงานภายในครอบครัว ถ้าเกษตรกรมีสมาชิกภายในครอบครัว5-6 คน ก็จะสามารถมีแรงงานเพียงพอสำหรับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ได้ การดำเนินงานก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์จากภายนอกหรือจากต่างประเทศมากนัก อีกประการหนึ่งแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่มักจะเน้นการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในการปลูกพืช และการใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือสมุนไพร ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
8.เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมั่นคงยิ่งขึ้น
ดังคำที่กล่าวกันมาตั้งแต่อดีตว่า "ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ" เกษตรทฤษฎีใหม่จะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติมีความมั่นคง เนื่องจากมีงานทำ มีอาหารบริโภค มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงทำให้เกษตรกรมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยตามอัตภาพ ดังนั้นเมื่อเกษตรกร ซึ่งเป็นฐานของประเทศมีความมั่นคง ก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงระบบเศรษฐกิจ ของประเทศส่วนรวมก็จะมั่นคงตามมาด้วย และถ้าหากเกษตรกรไทยปฏิบัติ หรือทำเกษตรทฤษฎีใหม่และยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นเวลานานแล้วประเทศชาติก็คงไม่ต้องประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบัน

9. เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งยึดหลักการพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดก็จะเป็นที่มั่นใจได้ว่าประชากรจะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข ไม่มีปัญหาการว่างงานและขาดแคลนอาหารบริโภค ปัญหาต่าง ๆ ของสังคม ก็จะลดน้อยลง ประเทศชาติก็จะมั่นคงแข็งแรง ลดการพึ่งพาจากภายนอกหรือต่างประเทศ ดังนั้น การพัฒนาการประกอบอาชีพการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ จะเป็นการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป