วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คลื่น

การจำแนกคลื่นโดยการใช้เกณฑ์การใช้ตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน สามารถจำแนกคลื่นออกได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นกล (mechanical) คลื่นชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นในเส้นเชือก
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คลื่นชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน แต่ใช้การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก และสนามไฟฟ้า ในการแผ่พลังงานออกจากแหล่งกำเนิด คลื่นชนิดนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ไปได้แม้ในบริเวณที่เป็นสูญญากาศ ตัวอย่าง เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ เป็นต้น
การจำแนกคลื่นโดยใช้เกณฑ์ตามความต่อเนื่องของการให้กำเนิดคลื่น สามารถจำแนกคลื่นออกได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นดล เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดในช่วงเวลาสั้น ๆ ให้คลื่นที่แผ่ออกมาเพียง 1-2 ลูกเท่านั้น
2. คลื่นต่อเนื่อง เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นขบวนการคลื่นอย่างต่อเนื่อง
การจำแนกคลื่นโดยใช้เกณฑ์ในการสั่นของตัวกลางเทียบกับทิศทางการแผ่ หรือการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถจำแนกคลื่นออกได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นตามยาว (longitudinal wave) คลื่นชนิดนี้จะมีทิศทางของการสั่นของตัวกลางอยู่ในแนวเดียวกับทิศของการแผ่ของพลังงาน ได้แก่ คลื่นเสียง
2. คลื่นตามขวาง (transverse wave) คลื่นชนิดนี้จะมีทิศทางการสั่นของตัวกลางอยู่ในแนวตั้งฉากกับทิศของการแผ่ของพลังงาน ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ประวัติการละเล่น

คำ "การละเล่น" เป็นคำเกิดใหม่ ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยท่านว่าเป็นการปรับเสียงคำ "การเล่น" ให้ออกเสียงง่ายขึ้น ขณะที่กรมศิลปากรให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากประกอบกิจประจำวัน และการเล่นในเทศกาลท้องถิ่นหรือในงานมงคลบ้าง อวมงคลบ้าง เช่น เพลงพื้นเมือง ละคร ลิเก ลำตัด หุ่น หนังใหญ่ ฯลฯ
การละเล่นของไทยคือการเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน
การละเล่นของไทยพบหลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง "มโนห์รา" ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน
การละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่น บางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี
การละเล่นไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.การละเล่นในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น
1.1.การละเล่นของเด็ก ซึ่งจะแยกออกเป็นการเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การเล่นกลางแจ้งและในร่ม การเล่นกลางแจ้งหรือในร่มที่มีบทร้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ การเล่นใช้อุปกรณ์ การเล่นของเด็กชาย-หญิงโดยเฉพาะ การเล่นสะท้อนสังคม การเล่นในน้ำ การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องเล่น
1.2.การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง งูกินหาง โค้งตีนเกวียน จ้องเตหรือต้องเต ไม้หึ่ง รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า สะบ้า แม่ศรี คล้องช้าง ว่าว
1.3.การละเล่นของผู้ใหญ่ มีเพลงเกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง เพลงเต้นกำ(รำเคียว) เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว เพลงชักกระดาน การเล่นตะกร้อ
2.การละเล่นในเทศกาลต่างๆ เพลงแห่ดอกไม้ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อยหรือเพลงพาดผ้า
3.การละเล่นของหลวง ซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงการละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่เพียงแสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้
เท่าที่ปรากฏในหลักฐานภาษาหนังสือและภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีอยู่ 5 อย่าง คือ ระเบ็ง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2415 โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิงคือนางเถ้าแก่เล่นระเบ็งแทนชายในงานโสกันต์พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ 5 พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์
การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง
การละเล่น หมายถึง การเล่นดนตรี การเล่นเพลง การเล่นรำ การเล่นที่ต้องร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เรียกว่า มหรสพหรือศิลปะ
การแสดงพื้นเมือง หมายถึง สิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ
การละเล่นพื้นเมือง หมายถึง การแสดงใด ๆ อันเป็นประเพณีนิยมในท้องถิ่นและเล่นกันใน ระหว่างประชาชน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงตามฤดูกาล การแสดงต้องเป็นไปอย่างมี
วัฒนธรรม มีความเรียบร้อย ใช้ถ้อยคำสุภาพ แต่งกายสุภาพถูกต้องตามความนิยมและวัฒนธรรม เหมาะสมกับสภาพ
ท้องถิ่น สถานที่ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับโอกาสที่จะแสดง ซึ่งการละเล่นพื้นเมือง จะไม่เป็นอาชีพหรือเพื่อหารายได้ จะมีดนตรีหรือการขับร้อง หรือการฟ้อนรำประกอบก็ได้
การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสาน
ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม
่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ
ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย ภูไทสามเผ่า ไทภูเขา เซิ้งกระติบข้าว
เพลงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่น หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน


การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้
ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกบางอย่างคล้ายคลีงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด
๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง ซอ
เพลงพื้นเมืองภาคใต้ เช่น เพลงร้องเรือ(เพลงกล่อมเด็ก) เพลงบอก เพลงกำพรัด(หรือคำพลัด)
การละเล่นพื้นเมืองภาคกลาง
ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัว
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย
เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ รำแม่ศรี
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์เพลงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัย เพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่วซอ
เพลงพื้นเมืองบางอย่างได้วิวัฒนาการมาเป็นการแสดงที่มีศิลปะ มีระเบียบแบบแผน เช่น เพลงทรงเครื่อง คือ เพลงฉ่อย ที่แสดงเป็นเรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน หรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่
ลักษณะการแสดง เริ่มด้วยการไหว้ครู แล้ว่าประ แก้กันอย่างเพลงฉ่อยตามประเพณี แล้วก็แสดงเป็นเรื่องอย่างละคร ร้องดำเนินเรื่องด้วยเพลงฉ่อย และเพลงอื่นแทรกบ้าง ใฃ้วงปี่พาทย์รับการร้องส่งบ้างหรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาของตัวละครบ้าง

การละเล่นพื้นเมืองภาคเหนือ
ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวานการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่
ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่ ลีลาการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
เครื่องแต่งกาย เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆเครื่องดนตรี เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ยเพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนดวงดอกไม้ ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนมาลัย ฟ้อนไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำชาวเขา รำกลองสะบัดไช
เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้
การละเล่นไทย
การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน คงไม่มีใครทราบได้ แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็นปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู “เล่น” เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” “แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา” โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา

การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น

การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มาอ้างพอเป็นหลักฐานได้ราง ๆ ว่า
“..ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน...”
ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า
“...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...”
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า
“เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา
เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา
ในเรื่อง “อิเหนา” วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น
เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด
บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต
สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่
บ้างรำอย่างชวามลายู
เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี”

หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน”

ประเภทของการละเล่น
เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การละเล่นกลางแจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มีบทร้องประกอบ
การละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบได้แก่ โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร
ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกินหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า เสือกันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย
การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้
ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง เสือกันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษ ฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง....และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้
ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ

เด็กแต่ละภาคเล่นเหมือนกันหรือไม่
เนื่องจากในแต่ละภาคมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ทำให้การละเล่นของเด็ก แต่ละภาคมีความแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น กติกา และอุปกรณ์การละเล่น แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะการเล่นจะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่

ความแตกต่างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น
การละเล่นซึ่งมีบทร้องประกอบ บางอย่างมีลักษณะคล้ายกันหรือเหมือน ๆ กัน แต่บทร้องจะแตกต่างไปตามภาษาท้องถิ่น และเนื้อความซึ่งเด็กเป็นผู้คิดขึ้น เช่น การละเล่นจ้ำจี้ หรือ ปะเปิ้มใบพลูของภาคเหนือ จ้ำมู่มี่ของภาคอีสาน และจุ้มจี้ของภาคใต้บทร้องจ้ำจี้ภาคกลางมีหลายบท แต่บทที่เป็นที่เด็กภาคกลางร้องกันเป็น เกือบทุกคนคือ

จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น
พายเรือออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน
อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง
เยี่ยม ๆ มอง ๆ นกขุนทองร้องวู้”
ปะเปิ้มใบพลูของเด็กเหนือ เป็นการละเล่นเพื่อเสี่ยงทาย เลือกข้าง ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้นคนละมือ คนหนึ่งในวงจะร้องว่า
“ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาจู เอากูออกก่อน”
หรือ “จำปุ่นจำปู ปั๋วใครมาดู เอากูออกก่อน”
หรือ “จ้ำจี้จ้ำอวด ลูกมึงไปบวช สึกออกมาเฝียะอีหล้าท้องป่อง”
จ้ำมู่มี่ของเด็กอีสาน เล่นทำนองเดียวกับจ้ำจี้ของภาคกลาง แต่ถ้าคำสุดท้ายไปตกที่ผู้ใดผู้นั้นต้องเป็นคนปิดตานับหนึ่งถึงยี่สิบ แล้วคนอื่นไปซ่อน เป็นการผนวกการละเล่นซ่อนหาเข้ามาด้วย บทร้องจ้ำมู่มี่มีทั้งสั้นและยาว
อย่างสั้นคือ “จ้ำมู่มี่ มูหมก มูมน หักขาคนใส่หน้านกก๊ด หน้าลิง หน้าลาย หน้าผีพราย หน้าหยิบ หน้าหย่อม ผอมแปํะ
อย่างยาว คือ “จ้ำมู่มี่ มูมน หักคอคนใส่หน้านกก๊ด หน้าลิง หน้าลาย หน้าผีพราย หน้าจิ๊ก หน้าก่อ หน้าหย่อมแยะ แม่ตอและ ตอหาง ตอไก่ แล้วไปฝึก ไปฟัน ให้เวียงจันทน์ คือแหวนข้างซ้ายย้ายออกตอกสิ่ว ลิวเปี๊ยะ ฉี่ไก่เปี๊ยะ ติดหางนกจอก แม่มันบอก ไก่น้อยออกซะ
การละเล่นจุ้มจี้ของเด็กภาคใต้ ก็เพื่อจะเล่นซ่อนหาเช่นกัน โดยคนที่เหลือเป็นคนสุดท้ายจากการละเล่นจุ้มจี้ จะเป็นผู้ผิดตาหาเพื่อน ๆ
เพลงที่ร้องประกอบมีหลายบท แตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น จะยกตัวอย่างมา 2 บทดังนี้
“จุ้มจี้จุ้มปุด จุ้มแม่สีพุด จุ้มใบหร้าหร้า พุทราเป็นดอก หมากงอกเป็นใบ พุ้งพิ้งลงไป ว่ายน้ำตุกติก”
“จุ้มจี้จุมจวด จุ้มหนวดแมงวัน แมงภู่จับจันทน์แมงวันจับผลุ้ง ฉีกใบตองมารองข้าวแขก น้ำเต้าแตกแหกดังโผลง ช้างเข้าโรง อีโมงเฉ้ง แม่ไก่ฟักร้องก๊อกก๊อก ทิ่มคางคก ยกออกยกออก”


อุปกรณ์การละเล่นของแต่ละท้องถิ่น
ในแต่ละท้องถิ่น เด็ก ๆ จะคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบการละเล่นหรือทำของเล่นขึ้นมาเอง โดยนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติหาได้ใกล้ตัวมาใช้ เช่น

เด็กภาคเหนือ จะนำมะม่วงขนาดเล็กที่กินไม่ได้มาร้อยเชือกแล้วใส่เดือย นำมาใช้ตีกันเรียกว่าเล่นไก่มะม่วง
หรือนำเอาไม้เล็ก ๆ มาเล่นกับลูกมะเขือ หรือมะนาวเรียกว่า หมากเก็บ
ไม้หรือไม้แก้งขี้ เล่นเก็บดอกงิ้ว ซึ่งคนเล่นจะรอให้ดอกงิ้วหล่น ใครเห็นก่อนก็ร้อง “อิ๊บ” มีสิทธิ์ได้ดอกงิ้วดอกนั้นไปร้อยใส่เถาวัลย์ ใครได้มากที่สุดก็ชนะ
เล่นบ่าขี้เบ้าทรายก็ใช้ทรายปนดินที่นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ มากลิ้งในร่องซึ่งขุดกันริมตลิ่งแม่น้ำนั่นเอง ของเล่นที่ทำกันก็เช่น

• กล้องกบ ใช้ลำไม้ไผ่มีรูกลวงเล็ก ๆ และไม้แกนซึ่งเหลาพอดีกับรูไม้ เอาใบหญ้าขัด (ขัดมอน) นั้นเป็นก้อนยัดลงไปในรูกระบอก เอาแกนแยงจนสุดลำแล้วใส่ก้อนหญ้าอีกก้อน เอาแกนแยงเข้าไปอีกหญ้าก้อนแรกก็จะหลุดออกพร้อมกับเสียงดังโพละก้อนหญ้านี้อาจใช้ลูกหนามคัดเค้า หรือมะกรูดลูกเล็กแทนได้
• ลูกโป่งยางละหุ่ง ใช้ยางที่กรีดจากต้นละหุ่งหรือจากการเด็ดใบ หาอะไรรองน้ำยางไว้ แล้วเอาดอกหญ้าขดเป็นวงจุ่มน้ำยางให้ติดขึ้นมา ค่อย ๆ เป่าตรงกลางบ่วงดอกหญ้า ยางละหุ่งจะยืดและหลุดเป็นลูกโป่งสีรุ้งแวววาว ลอยไปได้ไกลๆ แล้วไม่แตกง่ายด้วย

ของเล่นเด็กภาคอีสาน เล่นข้าวเหนียวติดมือ โดยเอาข้าวเหนียวมาปั้นจนได้ก้อนเท่าหัวแม่มือ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ให้ฝ่ายเริ่มเล่นส่งข้าวเหนียวต่อ ๆ กันโดยใช้มือประกบจนครบทุกคนแล้วให้อีกฝ่ายทายว่าข้าวเหนียวอยู่ในมือใคร
• ดึงครกดึงสาก เอาเชือกมาพันครกตำข้าว ปลายเชือก 2 ข้างผู้ไว้กลางด้ามสาก แต่ละข้างมีผู้ถือสาก 4 คน แล้วออกแรงดึงพร้อม ๆ กัน ฝ่ายใดร่นมาติดครกถือว่าแพ้
• แมวย่องเหยาะ ใช้ก้านมะพร้าวหรือก้านตาลเหลาให้เป็นเส้นเล็ก ๆ เอามาหักแล้วต่อเป็นรูปแมวย่องเหยาะ (ดังรูป) แล้วให้ผู้เล่นฝ่ายแรกเริ่มเล่นโดยใช้มือจับส่วนใดส่วนหนึ่งของแมว โดยไม่ให้อีกฝ่ายเห็น แล้วให้อีกฝ่ายทายว่าจับตรงไหน ก่อนทายจะมีคนบอกใบ้ให้ เช่น ถ้าจับตรงหัวก็แกล้งเอามือเกาหัว ถ้าทายผิด 3 ครั้ง ก็แพ้ไป
• เล่นหมากพลู นำหมาก ปูน แก่นคูน ยาเส้น มาตั้งข้างหน้าผู้เล่นเป็นกอง ๆ ให้ผู้เล่นคนแรกส่ายมือเหนือสิ่งของที่กองไว้เร็ว ๆ อีกฝ่ายหนึ่งบอกชื่อสิ่งของ 10 อย่าง คนส่ายมือก็ตะครุบของสิ่งนั้นทันทีตะครุบผิด ก็ถูกทำโทษโดนเขกเข่า

ของเล่นของเด็กภาคใต้ ทางภาคใต้ของธรรมชาติที่เด็กนำมาเล่นกันมากคือมะพร้าวลูกยาง (พารา) และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ซึ่งหาง่ายมีทุกจังหวัด
• ของเล่นจากมะพร้าว ได้แก่ ชนควายพร็อกพร้าว อุปกรณ์การเล่นคือควาย พร็อกพร้าว โดยใช้เปลือกมะพร้าวทำลำตัว กะลามะพร้าวทำเขา และเม็ดมะกล่ำดำทำตา ทำเสร็จแล้วจะได้รูปแบบนี้คนเล่นจะทำควายพร็อกพร้าวมาคนละตัว แล้วมางัดกัน โดยใช้มือจับลำตัวควายหันหน้าคว่ำลงให้เขาทาบกับพื้น งัดไปงัดมา ของใครหักคนนั้นก็แพ้
• ถีบลูกพร้าว ใช้มะพร้าวแก่จัดไม่ปอกเปลือก 1 ผล ผู้เล่นแบ่งเป็นสองกลุ่ม จับไม้สั้นไม้ยาวหรือใช้วิธี “ชันชี” เพื่อหากลุ่มผู้ถีบผลมะพร้าวกลุ่มแรก เมื่อเริ่มเล่นให้ทั้งสองกลุ่มยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากันโดยยืนสลับกัน นำผลมะพร้าววางกลางวงวางกันมะพร้าวลงดิน จากนั้นผู้เล่นทั้งหมดจับมือกันให้แน่น ถ้าคนเล่นมี 6 คน 3 คนจะถีบยับผลมะพร้าว อีก 3 คนเป็นหลัก ถ้าฝ่ายถีบมีใครล้มก้นแตะพื้นก็แพ้ ให้ฝ่ายเป็นหลักมาถีบแทน
• ร่อนใบพร้าว นำใบมะพร้าวที่ยังติดก้านมาตัดให้ด้านที่มีก้านโตเสมอกัน ใช้มือฉีกใบมะพร้าวออกให้มีขนาดเท่ากัน วิธีเล่นคือจับใบมะพร้าวชูขึ้นเหนือไหล่ จับส่วนที่เป็นใบซึ่งฉีกออกแล้วขว้างไปสุดแรง ใบมะพร้าวก็จะหลุดออกจากก้าน ใครขว้างได้ไกลที่สุดก็เป็นผู้ชนะ
• ของเล่นจากลูกยาง ชักลูกยาง นำลูกยาง (พารา) มาเจาะเอาเนื้อออกหมด เจาะรูด้านบนด้านล่างและด้านข้าง ใช้ไม้ไผ่เหลาแล้วผูกติดกับเชือกด้ายสอดไม้ไผ่เข้าไปในเมล็ดยางทางรูด้านบนหรือด้านล่าง ดึงเชือกด้ายออกมาทางรูด้านข้าง ติดไม้ไผ่แบน ๆ ทางด้านบน 1 ชิ้น เมื่อจะเล่นหมุนแกนให้เชือกด้ายม้วนเข้าไปอยู่ในลูกยางจนเกือบสุด ดึงปลายเชือกแรง ๆ แล้วปล่อย แกนไม้ไผ่ก็จะหมุนไปหมุนมาตามแรงดึง ผู้เล่นต้องดึงและปล่อยกลับอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้แกนและไม้ไผ่แบน ๆ ด้านบนกระทบกันของใครไม้ไผ่หลุด คนนั้นก็แพ้
• ตอกเมล็ดยางพารา สถานที่เล่นควรเป็นพื้นไม้หรือซีเมนต์ ผู้เล่นมี 2 คน จับไม้สั้นไม้ยาวเพื่อหาฝ่ายตั้งและฝ่ายตี ฝ่ายตีจะนำเมล็ดยางของฝ่ายตั้ง ตั้งลงกับพื้น แล้วนำเมล็ดยางของตัวเองวางข้างบนของฝ่ายตั้ง ใช้มือข้างหนึ่งจัดเมล็ดยางทั้งสองซ้อนกัน มืออีกขัางกำหรือแบตามถนัดตอกลงบนเมล็ดยางที่ซ้อนอยู่ ถ้าของฝ่ายใดแตก ฝ่ายนั้นก็แพ้
• เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เล่นฟัดราว ต้องมีราวรางบนไม้หลักหรือกะลา มะพร้าวอย่างในรูป แล้วขีดเส้นเรียกว่า “น้ำ” สำหรับ “ฟัด” หรือขว้างระยะห่างไม่ใกล้ไม่ไกลนักแล้วผู้เล่นก็จะตกลงกันว่าจะลงหัวครก (เมล็ดมะม่วงหิมพานต์) คนละกี่ลูก แล้วเอาหัวครกทั้งหมดที่ลงกองกลางมาเรียงบนราว จากนั้นก็ผลัดกันยืนที่เส้น “น้ำ” แล้ว “ฟัด” (ขว้าง) หัวครก เมล็ดไหนตกพื้น คนฟัดก็ได้ไป เล่นจนกว่าจะเบื่อ เมื่อเลิกก็เอา “หัวครก” ที่ได้ใส่กระเป๋ากลับบ้าน หรือจะเผากันกันตรงนั้นเลยก็ได้

คุณค่าของการละเล่นไทย
การละเล่นของไทย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่า ๆ กันกับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นการ “เล่น” ซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจไม่เห็นคุณค่า นอกจากเห็นว่าเป็นแค่เพียงความสนุกสนานของเด็ก ๆ หนำซ้ำการละเล่นบางอย่างยังเห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นการบ่มเพาะนิสัยการพนันอีก เช่น ทอยกอง หว่าหากจะมอง วิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้ว คุณค่าของการละเล่นของไทยเรานี้มีนับเอนกอนันต์ ดังจะว่าไปตามหัวข้อ
ต่อไปนี้
ประโยชน์ทางกาย
อันได้จากการออกกำลังทั้งกลางแจ้งและในร่ม เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” หรือ “โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ” เด็กก็จะได้หัดใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในตัวพร้อมกับทำท่าให้เข้ากับจังหวะ พอโตขึ้นมาหน่อยก็จะชอบเล่นกลางแจ้งกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง เช่น ขี่ม้าก้านกล้วย ตาเขย่ง ตีลูกล้อ วิ่งเปี้ยว ขี่ม้าส่งเมือง ตี่จับ เตย ฯลฯ การละเล่นบางอย่างมีบทร้องประกอบทำให้สนุกครึกครื้นเข้าไปอีก อย่าง รีรีข้าวสาร โพงพาง มอญซ่อนผ้า อ้ายเข้อ้ายโขง งูกินหาง นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังได้ฝึกความว่องไว ฝึกความสัมพันธ์ของการเก็งจังหวะแขนเท้า เช่น กาฟักไข่ ได้ฝึกการใช้ทักษะ ทางตาและมือในการเล็งกะระยะ เช่น การเล่นลูกหิน ทอยกอง
• ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา จากการละเล่นหลายชนิดที่ต้องชิ่งไหวชิงพริบกันระหว่างการต่อสู้ เช่น การเล่นกาฟักไข่ ผู้ขโมยจะหลอกล่อชิงไหวชิงพริบกับเจ้าของไข่ ซึ่งต้องคอยระวัง คาดคะเนไม่ให้ใครมาขโมยไข่ไปได้ หรือการเล่นแนดบกของทางเหนือ ผู้เล่นจะรู้สึกสนุกกับ การล่อหลอกแนดให้มาแตะ แล้วตัวเองต้องไวพอที่จะวิ่งเข้าวงก่อน การเล่นเตยหรือ ต่อล่อง คนล่องก็จะหลอกล่อให้ผู้กั้นเผลอ เพื่อให้ฝ่ายตนไปได้และผู้กั้นก็ต้องคอยสังเกตให้ดีว่า ใครจะเป็นคนผ่านไป
• ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา การละเล่นทุกอย่างมีกฏในตัวของมันเอง ซึ่งก็มาจากพวกเด็กนั่นเองเป็นคนช่วยกันกำหนดตกลงกันขึ้นมา การเล่นจึงดำเนินไปได้ โดยจะเห็นได้จากก่อนเล่นก็จะมีการจับไม้สั้นไม้ยาว เป่ายิงฉุบ จุ่มจะหลี้ (ของทางเหนือ คล้าย ๆ จ่อจีเจี๊ยบ) หรือ ฉู่ฉี้ (เป่ายิงฉุบของทางภาคใต้ มีปืน น้ำ ก้อนอิฐ แก้ว (น้ำ) หากใครไม่ทำตามกติกาก็จะเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อน ๆ ไม่ได้ เป็นการฝึกการปรับตัวเข้ากับคนอื่นโดยปริยาย
• ฝึกความอดทน เช่น ขี่ม้าส่งเมือง ผู้แพ้จะต้องถูกขี่หลังไปไหน ๆ ก็ได้ บางคนตัวเล็กถูกคนตัวใหญ่ขี่ก็ต้องยอม ถ้าไม่ทนก็เล่นกันไม่ได้ หรือเสือข้ามห้วย คนเป็น “ห้วย” ต้องอดทนทำท่าหลายอย่างให้ผู้เป็น “เสือ” ข้าม บางครั้งต้องเป็น “ห้วย” อยู่นาน เพราะไม่มีเสือตัวใดตาย หรือหา “เสือ” ข้ามได้หมด “ห้วย” ก็ถูกลงโทษ ถูก “เสือ” หามไปทิ้งแล้ววิ่งหนี “ห้วย”
• ฝึกความสามัคคีในคณะ อย่างเช่น ตี่จับในขณะที่ผู้เล่นของฝ่ายหนึ่งเข้าไป “ตี่” เพื่อให้ถูกตัวผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจะได้วิ่งกลับฝ่ายของตน โดยไม่ถูกจับเป็นเชลยนั้น ผู้เล่นอีกฝ่ายต้องพร้อมใจกันพยายามจับผู้เข้ามา “ตี่” ไว้อย่าให้หลุดมือ เพราะถ้าหลุดกลับไปฝ่ายของตน ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องกลับไป เป็นเชลยทั้งกลุ่ม หรืออย่างชักคะเย่อ ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพร้อมใจกันออกแรงกันสุดฤทธิ์สุดเดช เพื่อให้เครื่องหมายที่กึ่งกลางของเชือกเข้าไปอยู่ฝ่ายตน
• ฝึกความซื่อสัตย์ ผู้เล่นเป็นคนหาต้องผิดตาให้มิดในขณะที่คนอื่น ๆ วิ่งไปซ่อน อย่างคำร้องประกอบการเล่นชนิดนี้ว่า “ปิดตาไม่มิด สารพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนา ได้ข้าวเม็ดเดียว” หรือหมากเก็บอีตัก ถ้ามือของผู้เล่นไปแตะถูกก้อนหินหรือเม็ดผลไม้ก็ต้องยอม “ตาย” ให้คนอื่นเล่นต่อ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
• ฝึกความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกติกาไม่ว่าจะเป็นการเล่นอะไร ถือว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบของผู้เล่น เช่น เล่นหมุนนาฬิกา ผู้เล่นทุกคนต้องจับมือกันให้แน่นแล้วหงายตัว เอาเท้ายันกัน คนยืนสลับต้องจับมือคนหนึ่งให้แน่น ๆ แล้ววิ่งรอบ ๆ เป็นวงกลมเหมือนนาฬิกา ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบจับมือหรือยันเท้าให้มั่น จึงจะหมุนได้สนุก

นับวันการละเล่นของไทยจะหายไป
นี่คือความเป็นจริงที่น่าเสียดายเช่นเดียวกับประเพณีของไทยอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งจะอยู่ยงคงได้ก็ต่อเมื่อคนไทยเท่านั้นที่รับสืบทอดมาปฏิบัติ โดยมิอาจจะอนุรักษ์เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ดังเช่น วัตถุโบราณได้ เมื่อยุคสมัยผันแปรไป ค่านิยม ความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปจากวิถีการดำรงชีวิตในอดีตอย่างมากมาย
น่าเสียดายที่ว่าในปัจจุบันของเล่นต่าง ๆ มากมายทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ได้เข้ามาแทนที่การละเล่นต่าง ๆของสมัยก่อนซึ่งแทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย หรือถ้ามีก็จะเป็นอุปกรณ์การเล่นที่นำมาจากธรรมชาติ หรือของใช้ในครัวเรือน หรือไม่ก็คิดประดิษฐ์กันเอาเองไม่ต้องซื้อหา
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ โทรทัศน์ และวิดีโอ ซึ่งเด็กสมัยนี้ติดกันมาก แทบจะแกะตัวออกมาจากหน้าจอไม่ได้ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมเด็กสมัยนี้ถึงมีร่างกายกระปรกกระเปรี้ย สายตาสั้นพัฒนาการทางภาษาไม่กว้างไกล นี่ยังไม่นับเด็กอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่นหรืออย่างเข้าวัยรุ่นที่กำลังหลงแสงหลงเสียงเพลงในตลับ ซึ่งภาษาในเนื้อเพลงแทบจะหาคุณค่าทางวรรณศิลป์ไม่เจอเอาเสียเลย
เป็นเรื่องน่าคิดว่า สิ่งที่เข้ามาแทนที่ของเก่านั้น ผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กไทยทั้งหลายได้เลือกสรรสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์แก่เด็กอย่างแท้หรือไม่

ทัศนะต่อการละเล่นของเด็กไทย
พต.หญิง คุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ ผู้ก่อตั้งโครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นท่านผู้หนึ่งที่ทำการวิจัย และรวบรวมการละเล่นของเด็กภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กรุณาให้ทัศนะถึงเรื่องนี้ว่า
“ประโยชน์ของการเล่นไม่ใช้แค่ให้เติบโตแข็งแรง มันยังให้ความรับผิดชอบ การรักษาระเบียบวินัย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรากำลังไขว่คว้าหากันอยู่ การเล่นจะทำให้เกิดความเคารพกติการ รู้แพ้ รู้ชนะ ฝึกจิตใจให้เป็นคนดี และได้หัดภาษาไทยด้วย
การเล่นของเด็กไทยโบราณก็นำมาใช้ได้ดีกับเด็กยุคนี้ เพราะมันเล่นที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องใช้ที่กว้างก็ได้ วัสดุการเล่นก็ใช้ตามท้องถิ่นได้สบาย แต่การเล่นบางอย่างที่มีการพนันด้วยก็ไม่ดี อย่างโยนหลุม ทอยกอง หรือยิงหนังสติ๊ก มันก็อันตราย ต้องระวัง
เด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไปเล่นเพลง เล่นเทปกันหมด นอนฟังในห้อง ไม่ค่อยจะไปไหน แล้วยังทีวี วิดีโอ พ่อแม่ก็ปรนเปรอให้ เลยไม่รู้จักการเล่น ไปเพลิดเพลินกับเสียงแสงสีเสียงหมด การเล่นกลางแจ้งกายไป ความจริงการเล่นกลางแจ้งมีประโยชน์มาก มันได้อากาศบริสุทธิ์ อวัยวะต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหวเติบโต ผู้ใหญ่ก็เล่นได้ ดิฉันนี่เล่นจนถึง ม.8 เลย อย่างวิ่งเปี้ยว วิ่งสามขา วิ่งกระสอบ สะบ้า สนุกมาก
และอีกทัศนะหนึ่งจาก
ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพลศึกษา กรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการว่า
“ในหลักสูตรชั้นประถมมีการละเล่นคละกันทั้งไทย และที่ดัดแปลงจากต่างประเทศ ของไทยก็มีตั้งแต่ วิ่งวัวเป็นตัน แต่จะไม่เป็นรูปแบบที่เป็นทางการ มีเพื่อให้เด็กสนุกได้ออกกำลัง และเพื่ออนุรักษ์การเล่นของเก่าให้คงอยู่
สาเหตุที่การละเล่นของไทยเสื่อมความนิยมไปก็เนื่องมาจากการมีกีฬาสากลเข้ามาเล่นกันมาก และมีการส่งเสริมแข่งขันจนเป็นที่แพร่หลายกว่า
บ้านเมืองเจริญขึ้น คนต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจโอกาสที่จะเล่นก็น้อยลงไม่มีหน่วยงานใดรับผิดขอบในการอนุรักษ์เรื่องนี้โดยตรง เด็กไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯเรียนหนักขึ้นแข่งขันกันมากขึ้น มีการเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ จนไม่สนใจการเล่น
คนไทยใช้เวลาพักผ่อนกับการดูทีวี วิดีโอ หรือฟังวิทยุกันมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
และการเล่นแบบไทย ยังไม่ได้จัดเข้าระบบการแข่งขันแบบสากลมันจึงไม่เร้าใจ ไม่สามารถจะอยู่คงทนต่อไปได้ หากมีการอนุรักษ์เป็นประเพณีท้องถิ่นก็จะอยู่ได้ถาวร
การละเล่นของไทยเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นไทย ถ้าไม่มีการเล่นกันต่อไปมันก็จะสูญ ถ้าไม่มีการกระตุ้น สนับสนุน ต่อไปก็จะไม่เหลือ เราต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรมันจึงจะแพร่หลาย”
การใช้ภาษาสื่อสาร
เป็นที่น่าสังเกตว่าบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบนั้นมีคุณค่าในการสื่อสารอยู่มาก กล่าวคือ ทำให้เด็ก ๆ ได้คุ้นเคยกบคำที่ใช้เรียกชื่อ หรือใช้บอกกริยาอาการต่าง ๆ ช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาโดยไม่รู้ตัว ในบทเจรจาโต้ตอบก็เป็นคำถาม คำตอบสั้นๆ มีเนื้อความเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันบ้าง ดังในบทเล่นแม่งูหรือแม่งูสิงสางของภาคเหนือ บักมี่ดึงหนังของภาคอีสาน หรือฟาดทิงของทางใต้
บทโต้ตอบบักมี่ดึงหนัง
ถาม ขอกินบักพ่าวแน (มะพร้าว)
ตอบ ยังบ่ได้ต่อย (สอย)
ถาม ขอกินกลอยแน
ตอบ บ่ทันได้นึ่ง
ถาม ขอกินบักมี่สุกแน
ตอบ หน่วยใดสุกเอาเลย
บทโต้ตอบฟาดทิง
แม่ทิง มาแต่ไหน
ผู้เล่น มาแต่เผาถ่าน
แม่ทิง เผาถ่านทำไหร (ทำอะไร)
ผู้เล่น เผาถ่านตีเมด (มีด)
แม่ทิง ตีเมดทำไหร
ผู้เล่น ตีเมดทำไหร
ผู้เล่น ตีเมดเหลาหวาย
แม่ทิง เหลาหวายทำไหร
ผู้เล่น เหลาหวายสานเชอ (กระเชอ)
แม่ทิง สานเชอทำไหร
ผู้เล่น สานเชอใสทิง
แม่ทิง ทิงไหน
ผู้เล่น ทิงนั่นเเหละ (ชี้ไปที่แม่ทิง)

การใช้ภาษาในการเล่นทายปริศนา
ปริศนาหรือคำทายต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ชอบเล่นทายกันนั้นวิเคราะห์ได้ว่า เป็นวิธีการที่ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสัมพันธ์กับการใช้ภาษาทั้งนี้เพราะปริศนาก็คือ การตั้งคำถามให้เด็กคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยพบ เคยห็นมา ใครช่างสังเกตรู้จักคิดเปรียบเทียบความหมายของคำทายกับสิ่งที่ตนเคยพบเห็น ก็สามารถทายถูก ความสนุกจากการทายถูกจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กพยายามใช้ความสังเกตควบคู่ไปกับการใช้ภาษาเพิ่มขึ้น เช่น
อะไรเอ่ย เรือนสองเสา หลังคาสองตับ นอนไม่หลับลุกขึ้นร้องเพลง
คำตอบ ไก่ขัน
อะไรเอ่ย ซื้อมาเป็นสีดำ นำไปใช้กลายเป็นสีแดง พอสิ้นแรง กลายเป็นสีเทาต้องเอาไปทิ้ง
คำตอบ ถ่าน
(ภาคเหนือ) ตุ้มกุ๋บขึ้นดอย ก้าบฝอยล่องห้วย (หลังนูน ๆ ขึ้นดอย ครบฝอยไปตามลำธาร)
คำตอบ เต่าและกุ้ง
(ภาคใต้) พร้าวเซกเดียวอยู่บนฟ้า คนทั้งพาราแลเห็นจบ
คำตอบ พระจันทร์เสี้ยว
(ภาคอีสาน) ช่างขึ้นภู ต๊บหูปั๊ว ๆ แมนหญัง (ช้างขึ้นภูเขา ตบหูปั๊ว ๆ อะไรเอีย)
คำตอบ หูกทอผ้า

ลักษณะคำประพันธ์
การแต่งคำประพันธ์และบทร้อยกรอง
การแต่งคำประพันธ์ท้องถิ่น
เมื่อกล่าวถึงคำประพันธ์ “ท้องถิ่น” จะทำให้นึกถึงคำว่า “พื้นบ้าน” ดังนั้น ถ้ากล่าวถึง คำประพันธ์ท้องถิ่นก็จะหมายถึง คำประพันธ์พื้นบ้านของแต่ละภาค ซึ่งประกอบด้วยคำประพันธ์ประเภทเพลง และการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งสืบทอดกันมาทั้งให้ทางวาจา คือ จดจำต่อ ๆ กันมา และโดยลายลักษณ์อักษร มีการบันทึกสืบต่อกันมา
ความเป็นมาของคำประพันธ์ท้องถิ่น
เพลงและการละเล่นพื้นบ้านมีต้นเค้ามาจากการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้า เพื่อให้เทพเจ้าปกป้องคุ้มครองให้มนุษย์รอดพ้นจากภยันตรายต่าง ๆ และเพื่อดลบันดาล ความสุข และความอุดมสมบูรณ์แก่มนุษย์ ต่อมาการขับลำนำ การเต้นรำหรือการร่ายรำประกอบในพิธีกรรม ได้พัฒนากลายเป็นกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน และการพักผ่อน
หย่อนใจ ซึ่งคนรุ่นต่อมาได้ฟัง และจดจำเลียนแบบมาร้อง-เล่น ไม่มีการบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษร การถ่ายทอดแบบปากต่อปากเช่นนี้ทำให้เพลงและการละเล่น ไม่มีแบบแผนการร้องเล่นที่แน่นอนตายตัว ผันแปรไปตามผู้ร้องผู้เล่น โดยมีทำนองเพลงหลัก และวิธีการเล่นบางอย่างเป็นแนวสำคัญ
รูปแบบและเนื้อหาของเพลงและการละเล่นท้องถิ่น
ภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย มีเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะถิ่น เช่นการใช้ภาษาถิ่น ดนตรีประจำถิ่น เป็นต้น ทำให้เพลงและการละเล่นพื้นบ้านมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป แต่ยังคงมีรูปแบบและเนื้อหาที่คล้ายกัน ดังนี้
๑. ลักษณะของร้อยกรอง
บทร้อยกรองท้องถิ่น บทร้อยกรองพื้นบ้าน หรือบทร้อยกรองชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นการร้อง การเล่นเพลง หรือการละเล่นพื้นบ้าน ชาวบ้านจะผูกถ้อยคำเป็นบทร้อยกรองง่าย ๆ มีคำสัมผัสคล้องจองกัน คำร้องจะแบ่งเป็นช่วง ๆ เรียกว่า “วรรค” วรรคหนึ่ง ๆ มีจำนวนคำไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปฏิภาณของผู้ร้องที่คิดคำร้องให้ร้องจบคำ หรือจบความในแต่ละช่วง โดยลงจังหวะให้เหมาะกับทำนองเพลง เช่น

เพลงประกอบการละเล่น
มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ที่ไหน
ไว้โน้นไว้นี่ แม่จะตีให้ก้นพัง
จากตัวอย่างข้างต้นจะสังเกตเห็นว่า เพลงพื้นบ้านเหล่านี้ใช้ถ้อยคำจำนวนไม่เท่ากัน ใช้คำสัมผัสคล้องจองแตกต่างกันไปคนละแบบ แต่เมื่อนำมาร้องจะลงจังหวะ และทำนอง เพลงได้อย่างกลมกลืนกัน
ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ท้องถิ่น
๑. ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ แฝงอารมณ์ขัน นอกจากการใช้คำสัมผัสคล้องกันแล้ว คนร้อง ยังนิยมใช้คำง่าย ๆ เป็นคำพื้น ๆ แต่มีความไพเราะ สละสวย และมีก็ใช้คำบาลีสันสกฤต แต่ไม่ใช้คำศัพท์ยาก ส่วนใหญ่เป็นคำที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้ว เช่น คงคา กายา วันทา สุริยัน จันทรา และศิรินทร์ เป็นต้น
๒. สะท้อนภาพชีวิตและสังคม ดังนั้นเนื้อหาในบทเพลงท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ธรรมชาติ เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนถึงเรื่องค่านิยม วรรณคดี และธรรมะในศาสนา
คุณค่าทางวรรณศิลป์
บทร้องประกอบการละเล่นของเด็กไทย หากไม่อยู่ในรูปของฉันทลักษณ์ ก็จะมีคำคล้องจองกันอยู่ในรูปของฉันลักษณ์ ก็จะมีคำคล้องจองกันมีสัมผัสนอกสัมผัสใน เท่ากับเป็นการแทรกซึมวิสัยความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นของภาคกลาง
ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ซึ่งในแต่ละภาคก็จะสอดแทรกภาษาท้องถิ่นของตนเข้าไปด้วยนอกจากนั้นมีการเลียนเสียงต่าง ๆ หรือออกเสียงแปลก ๆ ซึ่งทำให้เด็ได้ฝึกลิ้น เช่น
เลียนเสียงนก “จ้ำจี้เม็ดขนุน...นกขุนทองร้องวู้”
เลียนเสียงกลอง “ผมเปียมาเลียใบตอง พระตีกลอง ตะลุ่มตุ่มเม้ง”
เลียนเสียงร้องไห้ “ขี้แย ขายดอกแค ขายไม่หมดร้องไห้แงแง”
คำแปลก ๆ มักจะปรากฎบ่อยมาก แม้ว่าจะไม่มีความหมายแต่ฟังแล้วก็รู้สึกสนุก ทำให้เด็กชอบ เช่น “เท้งเต้ง” “โตงเตงโตงเว้า” “กระจ๊องหง่อง” “ออระแร้ ออระชอน” “มะล้อกก๊อกแก๊ก” “จีจ่อเจี๊ยบไ “ตะโลนโพนเพน” “ตุ๊ยตู่ ตุ๊มเดี่ยว”
บางบทใช้ภาพพจน์ทำให้เกิดความงามในภาษา เช่นบทร้องของทางใต้บทหนึ่งว่า “เชโคโยย่าหนัด ฉัดหน้าแข้ง เดือนแจ้ง ๆ มาเล่นเชโชค”
ที่ร้องบาทบทใช้คำท่เป็นสัญลักษณ์แฝง ความหมายในแง่เพศสัมพันธ์ เช่น
“จ้ำจี้มะเขือพวง เมียน้อยเมียหลวง
มากินก้ามกุ้ง ก้ามกุ้งร้องแง้
มาสอยดอกแค มาแหย่รูปู
อีหนูตกระได กลางคืนเมาเหล้า
เตะหม้อข้าวปากปิ่น หม้อข้าววิ่งหนี
สาระพีเล่นกล กระจ่าสวดมนต์
รับศีลรับพระ”



การละเล่นของเด็กไทยสะท้อนความเป็นไทย
การละเล่นของเด็ก บทร้องประกอบการเล่น ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ใช้เป็นของเล่นสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และความเชื่อของคนไทยในสมัยก่อนได้อย่างชัดเจน เห็นภาพ ดังต่อไปนี้
• ภาพของเด็กไทยสมัยก่อน จากบทร้องล้อเลียน “ผมจุก คลุกน้ำปลา เป็นขี้หมา นั่งไหว้ กระจ๊องหง่อง” หรือ “ผมแกละ กระแดะใส่เกือก ตกน้ำตาเหลือก ใส่เกือกข้างเดียว” ก็ทำให้เห็นภาพเด็กสมัยโบราณที่ส่วนใหญ่ไว้ผมจุก ผมแกละกันทั้งเมือง
• ความเป็นอยู่ของผู้ใหญ่ จากบทร้องจ้ำจี้ “สาวสาวหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน อาบน้ำท่าวัด” ทำให้นึกภาพของบ้านเรือนสมัยโบราณซึ่งมักอยู่กันริมน้ำ อาบน้ำกันที่ท่า สัญจรกันด้วยเรือเป็นส่วนใหญ่ หรือการละเล่นชนควายด้วยศรีษะ ชนควายพร็อกพร้าว เป็นการเลียนแบบการชนควายชนวัวซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทางภาคใต้ ส่วนทางภาคอีสานก็มีการละเล่นดึงครกดึงสาก ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักในการทำมาหากินเพื่อดำรงชีพของชาวนา เป็นต้น
• สะท้อนการทำมาหากินของคนไทย มีการละเล่นและบทร้องประกอบการละเล่นหลายอย่างที่กล่าวถึงข้าววัวควายที่ช่วยไถนาและการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของคนไทยตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน อย่าง รีรีข้าวสาร การเล่นขโมยลักควาย (ทางใต้) นอกจากทำนาแล้วยังมีการค้าขายจับปลา เช่น เล่นขายแตงโมซึ่งมีบทเจรจา ผู้เล่นสมมติ เป็นแตงโม มีผู้มาซื้อและพูดกับเจ้าของ โพงพาง มีบทร้องที่ว่า”ปลาตาบอดเข้าอดโพงพาง” หรือผีสุ่ม กล่าวถึงการจับปลาโดยใช้สุ่ม
• ความเชื่อ การละเล่นบางอย่างสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวไทยในเรื่องไสยศาสตร์ เช่นการละเล่นที่มีการเชิญคนทรงอย่าง แม่ศรี ลิงลม ย่าด้ง เป็นต้น ทางภาคอีสานจะมีการละเล่นที่สะท้อนความเชื่อหลายอย่างเช่น เล่นนางดงแล้วจะขอฝนได้สำเร็จ เล่นผีกินเทียนแสดงความเชื่อเรื่องผี มีทั้งกลัวและอยากลองผสมกัน หรือผีเข้าขวด ซึ่งมีทั้งภาคอีสานและทางภาคใต้ ทางอีสานก็มีเล่นแม่นาคพระโขนง และมะล๊อกก๊อกแก๊ก ซึ่งเป็นบทโต้ตอบระห่างผู้เล่นที่สมมุติ เป็นผีกับเด็กคนอื่น ๆ แล้วจบลงที่ผีวิ่งไล่จับเด็กเป็นผีกับเด็กคนอื่น ๆ แล้วจบลงที่ผีวิ่งไล่จับเด็เป็นที่น่าสนุกสนานและ ตื่นเต้นด้วยความกลัวผีไปพร้อม ๆ กัน
• ค่านิยม ในเรื่องของมารยาท ถือว่าคนมีมารยาทเป็นคนมีบุญ คนที่มารยาททรามเป็นคนอาภัพ ดังในคำร้องจ้ำจี้ว่า
“จ้ำจี้เม็ดขนุน ใครมีบุญได้กินสำรับ
ใครผลุบผลับ ได้กินกะลา (หรือกินรางหมาเน่า)”
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว มีบทร้องว่าลูกเขยต้องกตัญญูต่อแม่ยาย ในบทเล่นจ้ำจี้อีกบทว่า
“จ้ำจี้ดอกเข็ม มาเล็มดอกหมาก
เป็นครกเป็นสาก ให้แม่ยายตำข้าว
เป็นน้ำเต้า ให้แม่ยายเลียงชด
เป็นชะมด ให้แม่ยายฝนทา ฯลฯ
ค่านิยมที่แม่มีลูกชายก็พาไปบวช ถือเป็นกุศลแก่คนเป็นแม่ว่า
“จ้ำจี้จ้ำจวด พาลูกไปบวชถึงวัดถึงวา ฯลฯ
การยกย่องขุนนางว่าเป็นผู้ได้ผลประโยชน์กว่า ว่า
“ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง
ขุนนางมาเอง มาเล่นซักส้าว
มือใครยาว สาวได้สาวเอา
มือใครสั้น เอาเถาวัลย์ต่อเข้า”



อภิปรายสาธิตการเล่นงูกินหาง
งูกินหางเป็นการละเล่นพื้นเมืองเก่า เล่นกันทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบว่ามีการเล่นงูกินหางกันแล้วในงานตรุษสงกรานต์ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2475 คำว่า “งู” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “a snake” คำว่า “กิน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to eat” และคำว่า “หาง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “a tail” การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือ เลียนแบบลักษณะท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปี และงานรื่นเริงต่างๆ ในสมัยก่อน
วิธีเล่น ให้คนหนึ่งเป็นพ่องู อีกคนหนึ่งเป็นแม่งู พ่องูยืนหันหน้าเข้าหาแม่งู นอกนั้นเป็นลูกงูจับเอวกันเป็นแถวยาว ความยาวของลูกงูนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เล่น ในการเล่นมีบทพูดโต้ตอบกัน ดังนี้
พ่องู : แม่งูเอ๋ย
แม่งู : เอ๋ย (ลูกงูช่วยตอบ)
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อโศก
ลูกงู : โยกไปก็โยกมา (แม่งูและลูกงูโยกตัว ขยายแถวทั้งแถว)
พ่องู : แม่งูเอ๋ย
แม่งู : เอ๋ย
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อทราย
ลูกงู : ย้ายไปก็ย้ายมา (วิ่งทางซ้ายที ขวาที)
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อหิน
ลูกงู : บินไปก็บินมา (ทำท่าบินแล้วจับเอวต่อ)
พ่องู : หุงข้าวกี่หม้อ
แม่งู : ..... หม้อ (เท่ากับจำนวนลูกงูกับแม่งู)
พ่องู : ขอกินหม้อได้ไหม
ลูกงู : ไม่ได้
พ่องู : ตำน้ำพริกกี่ครก
แม่งู : ..... ครก
พ่องู : ขอกินครกได้ไหม
ลูกงู : ไม่ได้
พ่องู : ทอดปลาทูกี่ตัว
แม่งู : ..... ตัว
พ่องู : ขอกินตัวได้ไหม
ลูกงู : ไม่ได้
พ่องู : กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว
แม่งู : กินหางตลอดหัว

พ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถวขึ้นมาหัวแถว แม่งูต้องพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูเอาลูกงูไปได้โดยการกางมือกั้น แล้วลูกงูต้องคอยวิ่งหนี แต่ต้องระวังไม่ให้แตกแถว เมื่อจับลูกงูได้ พ่องูจะถามลูกงูว่า
พ่องู : อยู่กับพ่อหรืออยู่กับแม่
ลูกงู : อยู่กับแม่
พ่องู : ลอยแพไป
ลูกงู : อยู่กับพ่อ
พ่องู : หักคอจิ้มน้ำพริก

พ่องูก็จะจับลูกงูให้ออกจากการเล่นไปอยู่เช่นนี้จนจับได้หมด ถ้าตอบว่า "กินกลางตลอดตัว" พ่องูจะจับลูกงูตัวแรกในบริเวณกลางลำตัว ต่อๆ ไปก็เลือกจับตามใจชอบ ลูกงูต้องหลบหลีกให้ดี ถ้าแม่งูตอบว่า กินหัวตลอดหาง พ่องูต้องพยายามปล้ำกับแม่งูให้แพ้ชนะให้ได้ แล้วจับลูกตั้งแต่หัวแถวลงไปจนหมด เป็นอันจบเกม

การเล่นชนิดนี้ นอกจากให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึกภาษา ถ้าเป็นการเล่นของเด็กจะมีเพียงบทโต้ตอบดังกล่าวเพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสื่อสารในเรื่องความหมายของกริยาต่างๆ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะใช้บทร้องพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบทละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนาตอนเสี่ยงเทียนให้เด็กร้องที่หน้าวิหารเพียง ๒ บท ต่อไปนั้น
ผู้เล่นก็จะใช้ปฏิภาณในการโต้ตอบจนพอใจจึงจะวิ่งไล่จับกัน

"แม่งูเอ๋ยเจ้าไปอยู่ที่ไหนมา
ไปกินน้ำหนากลับมาเมื่อตะกี้
กินน้ำบ่อไหนบอกไปให้ถ้วนถี่
จะบอกประเดี๋ยวนี้
บอกมาซีอย่าเนิ่นช้า
ไปกินน้ำเอย ไปกินน้ำบ่อหิน (ซ้ำ)
บินไปก็บินมา ฉันรักเจ้ากินรา
บินมาบินไปเอย"

พ่องูจะถามซ้ำ แม่งูจะตอบว่าไปกินน้ำบ่ออื่นๆ ร้องให้รับกัน การเล่นในภาคเหนือเรียกว่า "งูสิงสาง" วิธีเล่นคล้ายกัน แต่ไม่มีพ่องู แม่งูคนหนึ่งจะขุดดิน คนที่เหลือจับเอวกันเป็นงู ฝ่ายที่เป็นงูเดินไปรอบๆ แล้วมีการโต้ตอบกัน ระหว่างคนขุดดินกับงูเป็นภาษาเหนือล้อเลียนกัน ตอนแรกงูถามว่าขุดอะไร ขอบ้าง (อ้างชื่อของในดิน เช่น แห้ว มัน) ต่อมาคนขุดดินของูบ้าง งูไม่ให้ บอกให้ไล่จับเอา

ความหมายของบทร้อยกรอง

คำว่า ร้อยกรอง ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Poetry บางครั้งก็เรียก บทกวี หรือ กวีนิพนธ์ คำว่าร้อยกรอง เป็นคำที่สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม กำหนดขึ้นใช้เรียกวรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่งเพื่อให้เข้าคู่กับคำว่า "ร้อยแก้ว" ซึ่งเดิมบทประพันธ์ประเภทนี้ เรียกกันหลายอย่าง เช่น กลอน กาพย์ ฉันท์ กานท์ (ดนยา วงศ์ธนะชัย. 2542 : 211) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของร้อยกรองไว้หลากหลายดังนี้ คือ
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2506 : 28) ทรงอธิบายว่า ร้อยกรอง คือการเรียงถ้อยคำตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งได้แก่ มาตราฉันทลัษณ์ คำร้อยกรองเป็นส่วนประกอบของกวีนิพนธ์เท่านั้น ไม่ใช่แก่นสารของกวีนิพนธ์
- สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนวรรณ (2520 : 10) ได้อธิบายว่าร้อยกรองได้แก่ ข้อเขียนที่มีการจำกัดจำนวนคำ หรือพยางค์ จำกัดความยาว มีการกำหนดเสียงสูงต่ำ กำหนดเสียงสั้นยาว หนักเบา กำหนดสัมผัส และกำหนดจังหวะไว้อย่างแน่นอน
- ชลธิรา กลัดอยู่ (2517 : 161-162) ได้ให้ความหมายของร้อยกรอง ไว้ 2 ระดับ คือ ระดับแรก หมายถึงถ้อยคำ สำนวน ภาษาที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีบทบัญญัติ มีกฎเกณฑ์ หรือเรียกกันทั่วไปว่ามีฉันทลักษณ์ตามแบบโบราณ ระดับสองหมายถึง ถ้อยคำ สำนวน ภาษาที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีบทบัญญัติหรือฉันทลักษณ์ตามแบบที่มีมาแต่เดิม และรวมถึงฉันทลักษณ์ที่ผู้แต่งคิดขึ้นเองได้
- ส่วน พระยาอนุมานราชธน (2518 : 9) ได้ให้ความหมายของร้อยกรองว่า หมายถึง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ซึ่งมีถ้อยคำที่นำมาประกอบกัน มีขนาดมาตราเสียงสูงต่ำ หนักเบา และสั้นยาว ตามรูปแบบ (Pattern)ที่กำหนดไว้ รูปแบบที่กำหนดนี้มีมากมาย ไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะแต่ที่กำหนดไว้ในตำรา ซึ่งว่าด้วยการแต่ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หรือ ฉันทลักษณ์
- คณะกรรมการสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรมตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 กำหนดขึ้นใช้เรียกวรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่งมีกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เฉพาะแบบ เช่น กำหนดจำนวนคำ กำหนดส่งรับสัมผัสตามตำแหน่ง กำหนดจำนวนวรรค กำหนดเสียงวรรณยุกต์ กำหนดคำที่มีเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า คลุ ลหุ เป็นต้น
-พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ การสอดผูกให้ติดกัน ประดิษฐ์คำ แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ ร้อยและเย็บดอกไม้ให้เป็นรูปต่างๆ ” ซึ่งร้อยกรองเป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถในการเลือกภาษาแล้วจัดวางตำแหน่งถ้อยคำให้เหมาะสม ประกอบกับการฝึกบ่อยจนเกิดทักษะ ทั้งนี้เนื่องจากการเขียนร้อยกรองนั้นใช้คำได้เท่าที่ฉันทลักษณ์กำหนด ทั้งยังอาจเลยไปถึงการกำหนดคำตามเสียง / รูปวรรณยุกต์ และการกำหนดสัมผัสจึงเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับนักเขียนมือใหม่ แต่ขอบอกไว้ว่า เมื่อลองเขียนคำประพันธ์ชนิดใดก็ตามได้ด้วยตนเองสักบทหนึ่ง จะพบว่าร้อยกรองเป็นเรื่องไม่ยากและงดงามกว่า ให้ความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าการเขียนร้อยแก้วมากมายนัก
สรุปได้ว่า ร้อยกรอง คือ งานเขียนที่ผสมผสานระหว่างแนวความคิด และศิลปการใช้คำ ตามแบบวิธีฉันทลักษณ์โบราณ หรือ อาจคิดขึ้นใหม่ก็ได้
องค์ประกอบของร้อยกรอง
องค์ประกอบของร้อยกรองของไทยโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งร้อยกรองแบบเก่าและร้อยกรองปัจจุบัน (ยกเว้นกลอนเปล่า อาจไม่เคร่งครัดทางด้านองค์ประกอบบางประเภท เช่น ฉันทลักษณ์ เป็นต้น) ก็ยังคงใช้อยู่ ซึ่ง มีองค์ประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ
1) ฉันลักษณ์หรือลักษณะบังคับ โดยทั่วไป มี 9 ชนิด ดังนี้
1.1) คณะ หมายถึง การจัดหมวดหมู่ของคำประพันธ์ร้อยกรองทุกประเภท ว่าบทหนึ่งจะประกอบด้วย บท วรรค ตอน หรือคำอยางไร เช่น กาพย์ยานี 11 กำหนดคณะไว้ว่า 1 บท จะมี 2 บาท แต่ละบาทจะประกอบด้วย 2 วรรค วรรคแรกจะต้องมี 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ ดังนี้เป็นต้น
1.2) สัมผัส หมายถึง ความคล้องจองตามกฎเกณฑ์ที่บังคับไว้ในคำประพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1.2.1) สัมผัสสระ คือ สระพ้องกันตามมาตราแม้เสียงวรรณยุกต์จะต่างกันก็ตาม เช่น ใคร-ไป-นัยน์-ใหม่-ใกล้ เป็นต้น
1.2.2) สัมผัสอักษร คือ ใช้เสียงตัวอักษรพ้องกัน ไม่กำหนดเสียงสระ หรือเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ เช่น เขา-ขัน, คู-ค่ำ เป็นต้น
1.2.3) สัมผัสนอก คือ สัมผัสที่ส่งและรับสัมผัสกันนอกวรรคออกไป คือ ส่งจากคำสุดท้ายของวรรคหน้าไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคต่อ ๆ ไป สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสบังคับในร้อยกรองทุกประเภทจะไม่มีไม่ได้ และกำหนดให้ใช้แต่ สัมผัสสระเท่านั้น
1.2.4) สัมผัสใน คือ สัมผัสที่ส่งและรับภายในวรรคเดียวกัน ไม่เป็นสัมผัสบังคับ และจะใช้สัมผัสสระหรือพยัญชนะก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
1.3) คำครุ คำลหุ คือ คำที่บังคับใช้ในการแต่งฉันท์ ซึ่งมีบังคับแจกแจงต่างกันออกไป โดยใช้เครื่องหมายเป็นเครื่องบอกคือ คำครุ ใช้เครื่องหมาย ั แทน และคำลหุ ใช้เครื่องหมาย ุ แทน
1.4) คำเอก คำโท คือ คำที่บังคับใช้ในการแต่งโคลงและร่าย คำเอก ได้แก่ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด ๆ ส่วนคำโท ได้แก่ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โท
1.5) คำเป็น คำตาย คือ คำที่ใช้การแต่งโคลง ร่าย และร้อยกรอง ที่เป็นกลบท เช่น กลอนกลบทที่มีคำตายล้วน เป็นต้น คำเป็น ได้แก่ คำที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว รวมทั้งคำที่ประกอบด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ส่วนคำตาย ได้แก่คำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา (ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา) และตัวสะกดในแม่ กก กด กบ
1.6) เสียงวรรณยุกต์ คือข้อกำหนดที่บังคับใช้ในการแต่งกลอนโดยถือเรื่องเสียงวรรณยุกต์ เป็นสำคัญ ได้แก่ เสียงสามัญ, เอก, โท, ตรี และ จัตวา เป็นต้น
1.7) พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ว่าจะสั้นยาวอย่างไร จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ในการแต่งร้อยกรองจะถือว่าพยางค์ก็คือคำนั่นเอง
1.8) คำขึ้นต้นและคำลงท้าย คือ คำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น หรือ คำที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท ท้ายบท ซึ่งอาจจะใช้เป็นคำเดียว หลายคำ หรือวลีก็ได้ เช่น คำว่า "สักวา" "เมื่อนั้น, บัดนั้น" "คนเอ๋ยคนดี" หรือลงท้ายว่า "เอย" เป็นต้น
1.9) คำสร้อย คือคำที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทเพื่อความไพเพราะ หรือเพื่อให้ครบจำนวนคำตามลักษณะบังคับ บางแห่งก็ใช้เป็นคำถามหรือใช้ย้ำความ คำสร้อยนี้มักจะใช้เฉพาะโคลงกับร่าย และมักจะเป็นคำเป็น เช่น พ่อ แม่ พี่ เทอญ นา ฤา แล ฮา แฮ เป็นต้น
2) เนื้อหาและแนวความคิด
บทร้อยกรองปัจจุบันจะเสนอเนื้อหา หรือแนวความคิดเดียวในร้อยกรองเรื่องหนึ่ง ๆ เช่น ความรัก ธรรมชาติ อารมณ์ ความคิดฝัน หรือสิ่งประทับใจของผู้ประพันธ์ สังคม เป็นต้น เพื่อที่จะสื่อสารกับผู้อ่าน อาจเป็นความคิดหรือเนื้อหาอย่างตรงไปตรงมา หรือความคิดที่แยบคาย ซ่อนเร้นแปลกใหม่ ตามความสามารถของผู้ประพันธ์
3) แนวการเขียนบทร้อยกรองมีดังนี้
1. ศึกษาฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์นั้น ๆ ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
2. คิดหรือจินตนาการว่าจะเขียนเรื่องอะไร สร้างภาพให้เกิดขึ้นในห้วงความคิด
3. ลำดับภาพหรือลำดับข้อความให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
4. ถ่ายทอดความรู้สึกหรือจินตนาการนั้นเป็นบทร้อยกรอง
5. เลือกใช้คำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์และจินตนาการร่วมกับผู้ประพันธ์
6. พยายามเลือกใช้คำที่ไพเราะ เช่น คิด ใช้ว่า ถวิล เรื่อง ใช้คำว่า ระบิล
7. แต่งให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์
ประเภทของร้อยกรอง
คำประพันธ์ที่อยู่ในตำราฉันทลักษณ์ยังมีอีกมาก จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๕ ประเภท คือ
1. กาพย์ แบ่งเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้
2. กลอน แบ่งเป็น กลอนแปดและกลอนหก ซึ่งจัดเป็นกลอนสุภาพ และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก คือ ดอกสร้อย สักวา เพลงยาว เสภา นิราศ กลอนบทละคร กลอนเพลงพื้นเมืองและกลอนกลบทต่าง ๆ
3. โคลง แบ่งเป็น โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ ซึ่งอาจแต่งเป็นโคลงสุภาพหรือโคลงดั้นก็ได้ นอกจากเป็นโคลงธรรมดาแล้ว ยังแต่งเป็นโคลงกระท ู้ และโคลงกลอักษรได้อีกหลายแบบ
4. ฉันท์ แบ่งเป็นหลายชนิดเ ช่น วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงค์ประยาตฉันท์ อีทิสังฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สาลินีฉันท์ ฯลฯ ล้วนแต่มี ชื่อไพเราะ ๆ ทั้งนั้น
5. ร่าย แบ่งเป็นร่ายสั้นและร่ายยาว ร่ายสั้นนั้นมีทั้งร่ายสุภาพและร่ายดั้น


การแต่งร้อยกรองให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์เป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนี้มีการแต่งร้อยกรองแนวใหม่ ๆ เกิดขึ้นผู้ประพันธ์พอใจที่จะแต่งอย่างอิสระ ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์ตายตัว เช่น เขียนร้อยกรองปลอดสัมผัส คือไม่ต้องมีสัมผัสบังคับตามแบบ ร้อยกรองวรรณรูป คือ เรียบเรียงถ้อยคำเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ตามความพอใจของผู้ประพันธ์ และร้อยกรองที่ผู้ประพันธ์คิดรูปแบบขึ้นใหม่
จุดมุ่งหมายของร้อยกรอง
๑. เพื่ออธิบาย เป็นการอธิบายแจกแจง อธิบายวิธีใช้ วิธีทำให้ผู้อ่านเข้าใจ
๒. เพื่อเล่าเรื่อง เป็นการนำเอาเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นลำดับอยู่แล้ว มาถ่ายทอดเป็นงานเขียน
๓. เพื่อโฆษณาจูงใจ การเขียนประเภทนี้ต้องใช้ภาษาที่น่าสนใจ มีความสละสลวย มีแง่คิด สะดุดใจ และไม่เป็นการทับถมผู้อื่น
๔. เพื่อปลุกใจ เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความรู้สึกอึกเหิม เข้มแข็ง
๕. เพื่อสร้างจิตนาการ เป็นการเขียนเพื่อต้องกการให้ผู้อ่านเห็นภาพ เกิดจินตนาการตามที่กล่าวถึง หรือเกิดความรู้สึกคล้อยตามกับผู้เขียน
๖. เพื่อล้อเลียนเสียดสี เป็นการเขียนเพื่อต้องการตำหนิสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ใช้วิธีตำหนิแบบทีเล่นทีจริงไม่รุนแรง และมีการแทรกอารมณ์ขันไว้ด้วย
๗. เพื่อแสดงความคิดเห็น เป็นการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ หรือแนะนำการเขียนดังกล่าวนี้ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริง มีหลักเกณฑ์
๘. เพื่อบอกให้ทราบข้อเท็จจริง
ประโยชน์ของร้อยกรอง
ประโยชน์ของบทร้อยกรองมีมากมายแล้วแต่ว่าผู้อ่านแต่ละคนนั้นจะพิจารณาจากแง่มุมใดของบทประพันธ์นั้นๆคือ
1. เนื้อหา เนื้อหาในบทร้อยกรองนั้นมีหลากหลาย ในการพิจารณาระดับง่ายที่สุด คือ ดูว่าเรื่องนั้นเป้นไปในทำนองใด สร้างสรรค์ ยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้น สะท้อนสังคม แสดงแง่คิด ปรัชญาต่าง ๆ ทำให้รู้จักชีวิตและโลกกว้างขึ้น รู้วิธีในการอยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรือเป็นเรื่องมอมเมาชักจูงจิตใจของผู้อ่านให้ต่ำลง ดังนั้นเมื่ออ่านแล้วควรตอบตัวเองให้ได้ว่า รู้สึกอย่างไรต่อเนื้อหาในบทร้อยกรองเรื่องนั้น ๆ มีคุณค่า ให้ประโยชน์ ความรู้ ความคิด หรือให้
ความเพลิดเพลินนอกจากนี้จะต้องอาศัยความรู้จากการวิจารณ์สารคดีและบันเทิงคดีที่กล่าวมาแล้วเป็นแนวทางประกอบ ถ้าเป็นเรื่องเล่า ก็ดำเนินการวิจารณ์เหมือนประเภทบันเทิงคดีดังกล่าวมาแล้วในบทก่อน ถ้าเป็นร้อยกรองประเภทที่แสดงแนวคิดก็ใช้วิธีการเดียวกันกับการวิจารณ์บทความประเภทแสดงความคิดเห็นเข้ามาประกอบด้วย

2. ความคิดของผู้ประพันธ์ บทร้อยกรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทร้อยกรองร่วมสมัยหรือบทร้อยกรองปัจจุบัน ผู้แต่งจะแสดงทรรศนะแฝงไว้ ในปัจจุบันนิยมกันว่าร้อยกรองที่ดีควรเสนอความคิดที่ดีให้แก่ผู้อ่านด้วยผู้ที่วิจารณ์วรรณกรรมร้อยกรองจึงต้องอาศัยความชำนาญในการอ่านแบบต่าง ๆเช่น การอ่านตีความเพื่อพินิจว่าบทร้อยกรองนั้นให้ทรรศนะในเรื่องใดและทรรศนะนั้นมีว่าอย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นทรรศนะอย่างชัดเจนแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงความเห็นของตนว่า ทรรศนะของกวีนั้นถูกต้องหรือไม่
3. ศิลปะการประพันธ์ ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมร้อยกรองนั้นมักจะเป็น
ภาษาที่ไพเราะ สามารถโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านทำให้เกิดจินตนาการและมโนภาพ ผู้ประพันธ์จะต้องเลือกกรองถ้อยคำหรือสำนวนโวหารมาร้อยเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม เพราะนอกจากบทร้อยกรองจะมีเนื้อหาสาระและความคิดที่ดีแล้วยังต้องมีศิลปะการประพันธ์ หรือวรรณศิลป์ หรือเรียกว่าแง่งามของบทร้อยกรองอีกด้วยซึ่งพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
3.1 เสียงเสนาะ การแต่งบทร้อยกรองไม่ได้มุ่งหมายความไพเราะ
เท่านั้น ยังต้องนึกถึงความไพเราะแก่ผู้ฟัง นั้นคือต้องมีเสียงสัมผัสทั้งสระและตัวอักษร เสียงวรรณยุกต์ มีการเลียนแบบเสียงธรรมชาติ เป็นต้น
3.1.1 การใช้สัมผัส

รอนรอน สุริยะโอ้ อัสดง
เรื่อยเรื่อย ลับเมรุลง ค่ำแล้ว
รอนรอน จิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่
เรื่อยเรื่อย เรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว
( กาพย์เห่เรือ : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ )
คำประพันธ์นอกจากไพเราะด้วยเสียงสัมผัสบังคับแล้วยังเพิ่มความไพเราะด้วยเสียงสัมผัสในได้แก่ คำว่า โอ้-อัส, ลง-แล้ว,นง-นุชและเล่นคำว่า รอนรอน-เรื่อยเรื่อย ซึ่งเป็นคำสัมผัส “ ร ” ทั้งหมด นอกจากนี้จะได้เสียงสัมผัสและยังแสดงความรู้สึกโศกเศร้าได้อย่างชัดเจน คำว่า รอนรอน
ทำให้เห็นภาพดวงอาทิตย์กำลังจะตกเหมือนหัวใจที่รอนรอน เรื่อยเรื่อย แสดงอาการดวงอาทิตย์กำลังจะลับลงช้า ๆ เช่นเดียวกับการรอคอยที่ยาวนาน



3.1.2 การเล่นสัมผัส
“…พลางพระดูดงเฌอ พิศพุ่มเสมอเหมือนฉัตร เป็นขนัดเนืองนันต์ หลายเหล่าพรรณพฤกษา มีนานาไม้แมก หมู่ตระแบกกระบาก มากรวกโรกรักรังรง ปริกปริงปรงปรางปรู ลำแพนลำพูลำพัน…”
( ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมรเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส )
คำประพันธ์ข้างต้นนี้แสดงให้เห็นการเล่นสัมผัสพยัญชนะในแต่ละวรรคมีคำที่เสียงคล้องจองทำให้เกิดเสียงที่กลมกลืนกัน เช่น พลาง-พระพิศ-พุ่ม,เนือง-นันต์,พรรณ-พฤกษา,สมอ-สมี-แสม,ม่วง-โมก,ซาก-ซึก, โศก-สน-สัก รวก-โรก-รัก-รัง-รง, ปริก-ปริง-ปรง-ปราง-ปรู,แพน-พู-พัน เป็นต้น

3.1.2 การเล่นคำ

แก้วเกาะกิ่งแก้วก่อง กานน
เสียงพูดภาษาคน คล่องแจ้ว
โผผินโบกบินบน ไปบอก หน่อยรา
ข่าวส่งตรงสู่แก้ว เนตรผุ้ดูถวิล
( สามกรุง : น.ม.ส. )
จากคำประพันธ์ข้างต้นเล่นคำว่า “แก้ว” คำว่าแก้วในคำแรกหมายถึงนกแก้ว แก้วในคำที่สองเป็นชื่อต้นไม่ และแก้วในคำสุดท้ายหมายถึงนางอันเป็นที่รักดังดวงตา
รูปแบบของร้อยกรอง
กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้
กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ
๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์
๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า "คำฉันท์" เหมือนกัน
กาพย์ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ ชนิด คือ
๑. กาพย์ยานี ๒. กาพย์ฉบัง ๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๔. กาพย์ห่อโคลง ๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง
กาพย์ ๓ ชนิดข้างต้น ใช้เทียบเคียง แต่งปนไปกับฉันท์ได้ และเพราะเหตุที่ มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ และแต่งปนไปกับฉันท์ได้ จึงเรียกว่า คำฉันท์ด้วย
๑. กาพย์ยานี ๑๑ kaapyaanii 11







๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ kaap chabang 16



๓. กาพย์สุรางคนางค์ kaap suraangkhanaang
กาพย์สุรางคนางค์ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ ดังมีลักษณะต่อไปนี้ ๓.๑ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ kaapsuraangkhanaang 28






๓.๒ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ kaapsuraangkhanaang 32



๔. กาพย์ห่อโคลง
กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อของบทประพันธ์ ที่แต่งขึ้น โดยใช้กาพย์ยานี สลับกับ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี กับ โคลงสี่สุภาพนั้น จะต้องมีความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่หนึ่ง ของกาพย์ยานี กับบาทที่หนึ่ง ของโคลงสี่สุภาพ บรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน หรือบางที ก็ให้คำต้นวรรค ของกาพย์ กับคำต้นบท ของโคลง เป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติ หรือกฏข้อบังคับต่างๆ เหมือนกับ กฏของกาพย์ยานี และโคลงสี่สุภาพ ทั้งสิ้น ลักษณะการแต่งกาพย์ห่อโคลง แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ ๑.แต่งกาพย์ยานีหนึ่งบท แล้วแต่งโคลงสี่สุภาพ ซึ่งมีเนื้อความเช่นเดียว กับกาพย์ยานี หนึ่งบท สลับกันไป ชนิดนี้ มักแต่งเป็นเรื่องสั้นๆ เป็นเชิงประกวดฝีปาก หรือสำนวน อย่างแต่งโคลงกระทู้ หรือกลอนกลบท ดังตัวอย่าง เช่น


๒.เหมือนชนิดที่ ๑ แต่กลับกันคือเอาโคลงไว้หน้า เอากาพย์ไว้หลังเรียงสลับกันไป ๓.แต่งโคลงบทหนึ่ง แล้วแต่งกาพย์ พรรณาข้อความยืดยาว จนสุดกระแสความ ตามจุใจ จะแต่งกาพย์ ยาวสักกี่บท ก็ได้ แต่ต้องให้บทต้น มีเนื้อความ เช่นเดียวกับโคลง ส่วนบทต่อๆ ไป จะขยายความรำพัน ให้พิศดารอย่างไรก็ได้ ชนิดที่ ๓ นี้ มักนิยมแต่ง เป็นบทเห่เรือ จึงเรียกชื่อ อีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์เห่เรือ ตัวอย่างเช่น

๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง kaap khapmayh@@khloong







กลอน คือลักษณะคำประพันธ์ ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกันตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ กลอนแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ กลอนสุภาพ กลอนลำนำ และกลอนตลาด
กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑. กลอน ๖ ๒. กลอน ๗ ๓. กลอน ๘ ๔. กลอน ๙
กลอนสุภาพ นับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่ยักเยื้อง แบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น

กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ
๑. กลอนบทละคร ๒. กลอนสักวา ๓. กลอนเสภา ๔. กลอนดอกสร้อย ๕. กลอนขับร้อง
กลอนตลาด คือกลอนผสม หรือกลอนคละ ไม่กำหนดคำตายตัว เหมือนกลอนสุภาพ ในกลอนบทหนึ่ง อาจมีวรรคละ ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้าง คือเอากลอนสุภาพ หลายชนิด มาผสมกัน นั่นเอง เป็นกลอนที่ นิยมใช้ ในการขับร้องแก้กัน ทั่วๆ ไป จึงเรียกว่า กลอนตลาด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. กลอนเพลงยาว ๒. กลอนนิราศ ๓. กลอนนิยาย ๔. กลอนเพลงปฏิพากย์
กลอนเพลงปฏิพากย์ ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิด คือ
เพลงฉ่อย
เพลงโคราช หรือเพลงตะวันออก
เพลงเรือ
เพลงชาวไร่
เพลงชาวนา
เพลงแห่นาค
เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน)
เพลงเกี่ยวข้าว
เพลงปรบไก่
เพลงพวงมาลัย
เพลงรำอีแซว หรือเพลงอีแซว
เพลงลิเก
เพลงลำตัด
ฯลฯ

บทของกลอน
คำกลอนวรรคหนึ่ง เรียกว่า กลอนหนึ่ง สองวรรค หรือสองกลอน เรียกว่า บาทหนึ่ง หรือคำหนึ่ง สองคำ หรือสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เรียกว่า บทหนี่ง วรรคทั้งสี่ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ
๑. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้าย ใช้คำเต้น คือนอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้ ก็ไม่ห้าม
๒. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูป ไม่ห้าม แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรอง เป็นเสียงตรี
๓. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๔. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้
บาทของกลอน
คำกลอนนั้น นับ ๒ วรรคเป็น ๑ บาท ตามธรรมดา กลอนบทหนึ่ง จะต้องมีอย่างน้อย ๒ บาท (เว้นไว้แต่กลอนเพลงยาว หรือกลอนนิราศ ซึ่งนิยมใช้บทแรก ที่ขึ้นต้นเรื่อง เพียง ๓ วรรค) บาทแรก เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท คำกลอนจะยาวเท่าไรก็ตาม คงเรียกชื่อว่า บาทเอก บาทโท สลับกันไปจนจบ และต้องจบลง ด้วยบาทโทเสมอ เช่น
นิราศเรื่องหัวหินก็สิ้นสุด เพราะจากบุตรภรรยามากำสรวล (บาทเอก)
เมื่ออยู่เดียวเปลี่ยวกายใจคร่ำครวญ ก็ชักชวนให้คิดประดิษฐ์กลอน (บาทโท)
ใช้ชำนาญการกวีเช่นศรีปราชญ์ เขียนนิราศก็เพราะรักเชิงอักษร (บาทเอก)
บันทึกเรื่องที่เห็นเป็นตอนตอน ให้สมรมิตรอ่านเป็นขวัญตา (บาทโท)
มิใช่สารคดีมีประโยชน์ จึงมีโอดมีครวญรัญจวนหา (บาทเอก)
ตามแบบแผนบรรพกาลโบราณมา เป็นสาราเรื่องพรากจากอนงค์ (บาทโท)
-จากนิราศหัวหิน-
หลักนิยมทั่วไปของกลอน
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๒ ก็ดี คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ ก็ดี ไม่ควรใช้คำ ที่มีเสียงเหมือนกัน หรือคำที่ใช้สระ และตัวสะกด ในมาตราเดียวกัน เช่น
ก. ในไพรสณฑ์พรั่งพรึบด้วยพฤกษา แนววนาน่ารักด้วยปักษา
ข. เขาเดินทุ่งมุ่งลัดตัดมรรคา มั่นหมายมาเพื่อยับยั้งเคหา
ค. เห็นนกน้อยแนบคู่คิดถึงน้อง มันจับจ้องมองตรงส่งเสียงร้อง
๒. คำที่รับสัมผัส ในวรรคที่ ๒ และที่ ๔ ควรให้ตำแหน่งสัมผัส ตกอยู่ที่พยางค์สุดท้าย ของคำ ไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำ หรือกลางคำ ยิ่งเป็นกลอนขับร้อง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เสียความ ในเวลาขับร้อง เช่น
สดับถ้อยสุนทรนอนดำริ จนสุริยาแจ้งแจ่มเวหา
๓. คำสุดท้ายของวรรค ควรใช้คำเต็ม ไม่ควรใช้ครึ่งคำ หรือยัติภังค์ เว้นไว้แต่ แต่งเป็น กลบทยัติภังค์ หรือเป็น โคลง, ฉันท์ และกาพย์ เช่น
อันถ้อยคำของท่านนั้นเป็นสา มานย์วาจาฟังไปไม่เกิดหรร
ษารมณ์เลยสักนิดเพราะผิดจรร ยาทั้งนั้นไร้ศีลฉันสิ้นอา(วรณ์)
การแยกคำออกใช้คนละครึ่ง ในระหว่างวรรค เช่นนี้ไม่ควรใช้
๔. ไม่ควรใช้ภาษาอื่น ที่ยังมิได้รับรอง มาใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย เช่น
โอไมเดียร ดาริ่งมิ่งสมร บิวตี้ฟูลสุนทรหฤหรรษ์
แม่ชื่นจิตสวิตฮารตจะคลาดกัน ใจป่วนปั่นหันเหเซกู๊ดบาย
ส่วนคำบาลี และสันสกฤตใช้ได้ เพราะเรารับมาใช้ เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องแปลงรูปคำเสียก่อน จะนำมาใช้ทั้งดุ้นไม่ได้
๕. ไม่ควรใช้ "ภาษาแสลงโสต" คือถ้อยคำที่พูดด้วยความตลกคะนอง หยาบโลน หรือเปรียบเทียบ กับของหยาบ ซึ่งใช้กันอยู่ ในกลุ่มคนส่วนน้อย และรู้กัน แต่เฉพาะในวงแคบๆ เช่น คำว่า ม่องเท่ง, จำหนับ, จ้ำบ๊ะ, ตั้กฉึ้ก, ถังแตก, ยกล้อ ฯลฯ


โคลง
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ สุภาพ
๒. โคลง ๓ สุภาพ
๓. โคลง ๔ สุภาพ
๔. โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ
๕. โคลง ๕ หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
๖. โคลง ๔ จัตวาทัณฑี
๗. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ ดั้น
๒. โคลง ๓ ดั้น
๓. โคลงดั้นวิวิธมาลี
๔. โคลงดั้นบาทกุญชร
๕. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
๖. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ ๑๕ กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ ๘ ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้ แบ่งออกเป็น ๘ ชนิด คือ
๑. โคลงวิชชุมาลี
๒. โคลงมหาวิชชุมาลี
๓. โคลงจิตรลดา
๔. โคลงมหาจิตรลดา
๕. โคลงสินธุมาลี
๖. โคลงมหาสินธุมาลี
๗. โคลงนันททายี
๘. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ๖ อย่าง คือ
๑. คณะ
๒. พยางค์
๓. สัมผัส
๔. เอกโท
๕. คำเป็นคำตาย
๖. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ
๑.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
๒.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์


โคลงสุภาพ Khloong Suphaap
โคลง ๒ สุภาพ Khloong 2 Suphaap
แผน:



โคลง ๓ สุภาพ Khloong 3 Suphaap
แผน:











โคลง ๔ สุภาพ Khloong 4 Suphaap
แผน:





โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ Khloong 4 Triiphitthaphan แผน:



โคลง ๕ (โคลงมณฑกคติ) Khloong 5
โคลง ๕ (โคลงมณฑกคติ) เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยเพียงเรื่องเดียวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระโหราธิบดีได้กล่าวึงลักษณะของชนิดโคลงนี้ไว้ในหนังสือจินดามณีว่า ประกอบด้วย วรรคหรือบาทละ ๕ คำ บังคับเอกโท เช่นเดียวกับโคลงทั่วไป แต่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้ และบอกไม่ได้ ว่ามีการวางรูปแบบเป็นอย่างไร
ตัวอย่าง:
แลมีค่ำมิ่วนน กินสาลีเปลือกปล้อน บมีผู้ต้อนแต่ง บรรณาฯ
เลือกผู้ยิ่งยศสา เปนราชาอคร้าว เรียกนามสมมตจ้าว จึ่งต้องท้าวเจ้าแผ่นดินฯ
-จาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ-
โคลง ๔ จัตวาทัณฑี Khloong 4 Cattawaathanthii
แผน:



โคลงกระทู้ Khloong Krathuu
๑. กระทู้เดี่ยว หรือกระทู้คำเดียว หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำทั้งหมดอยู่ ๔ คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละคำ
ตัวอย่าง:

๒.กระทู้สองหมายความว่ากระทู้นั้นมีคำอยู่ทั้งหมด ๘ คำแต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้าบาทละ ๒ คำ
ตัวอย่าง:

๓.กระทู้สาม หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำอยู่ทั้งหมด ๑๒ คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ ๓ คำ
ตัวอย่าง:

๔.กระทู้สี่ หมายความว่ากระทู้นั้นมีคำอยู่ทั้งหมด ๑๖ คำแต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้าบาทละ ๔ คำ
ตัวอย่าง:

ฉันท์
ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน
ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ซึ่งในภาษาเดิมของเขา หามีไม่ ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น ๑ มาตรา คำครุ นับเป็น ๒ มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง ๑๐๘ ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลง เอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดี เท่านั้น ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทย เป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตราพฤติ ไม่ใคร่จะนิยมแต่ง เพราะจังหวะ และทำนองที่อ่านในภาษาไทย ไม่สู้จะไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤติ ที่ท่านแปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมแต่งกันทั้งหมด เท่าที่สังเกตดู ในคำฉันท์เก่าๆ มักนิยมแต่งกันอยู่เพียง ๖ ฉันท์เท่านั้น คือ
- อินทรวิเชียรฉันท์
- โตฎกฉันท์
- วสันตดิลกฉันท์
- มาลินีฉันท์
- สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
- สัทธราฉันท์
แต่ท่านมักแต่งกาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ปนไปกับฉันท์ด้วย และคงเรียกว่า คำฉันท์เหมือนกัน
เหตุที่โบราณนิยมแต่งเฉพาะ ๖ ฉันท์ คงเป็นเพราะฉันท์ทั้ง ๖ นั้น สามารถจะแต่งเป็นภาษาไทยได้ไพเราะกว่าฉันท์อื่นๆ และท่านมักนิยมเลือกฉันท์ ให้เหมาะกับบทของท้องเรื่อง เป็นตอนๆ เช่น บทไหว้ครู นิยมใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือ สัทธราฉันท์ บทชมหรือบทคร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกฉันท์ บทสำแดงอิทธิฤทธิ์หรืออัศจรรย์ นิยมใช้ โตฎกฉันท์ (แต่คำฉันท์เก่าๆไม่ใคร่นิยมใช้ โตฎกฉันท์) บทดำเนินความยาวๆ ในท้องเรื่อง นิยมใช้ กาพย์ฉบัง หรือ กาพย์สุรางคนางค์ ในปัจจุบันนี้นิยมแต่งภุชงคประยาตฉันท์ เพิ่มขึ้นอีกฉันหนึ่ง และมักใช้แต่ง ในตอนพรรณนาโวหารหรือ ข้อความที่น่าตื่นเต้น การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่บ่งไว้ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่บัดนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้องเป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะ ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี ใช้เป็นลหุได้ แต่บัดนี้คำที่ประสมด้วยสระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่า เป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย ฉันท์ทั้ง ๒๕ ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน ดังจะได้อธิบาย ต่อไปนี้
๑.จิตรปทาฉันท์ ๘
๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘
๓. มาณวกฉันท์ ๘
๔. ปมาณิกฉันท์ ๘
๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑
๙. สาลินีฉันท์ ๑๑
๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒
๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒
๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
๑๕. กมลฉันท์ ๑๒
๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕
๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕
๑๙. วาณินีฉันท์ ๑๖
๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐
๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑

๑. จิตรปทาฉันท์ ๘ cittapathaachan 8

ตัวอย่าง:

๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘ witchumaalaachan 8

ตัวอย่าง:

๓. มาณวกฉันท์ ๘ maanawakkachan 8

ตัวอย่าง:




๔. ปมาณิกฉันท์ ๘ pamanikkachan 8

ตัวอย่าง:

๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ upatthitaachan 11

ตัวอย่าง:


๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ intharawichianchan 11

ตัวอย่าง:


๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ upeenthrawichianchan 11

ตัวอย่าง:


๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑ upachaatchan 11

ตัวอย่าง:


๙. สาลินีฉันท์ ๑๑ saaliniichan 11

ตัวอย่าง:


๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑ akhayaattachan 11

ตัวอย่าง:



๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ wangsatthachan 12

ตัวอย่าง:


๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒ inthawongchan 12

ตัวอย่าง:



๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒ toodokkachan 12

ตัวอย่าง:


๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ phuchongkhapayaatchan 12

ตัวอย่าง:



๑๕. กมลฉันท์ ๑๒ kammalachan 12

ตัวอย่าง:


๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ wasantadilokchan 14

ตัวอย่าง:

๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕ maaliniichan 15

ตัวอย่าง:


๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕ prapatthakachan 15

ตัวอย่าง:


๙๑. วาณินีฉันท์ ๑๖ waniniichan 16

ตัวอย่าง:






๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘ kusumittaladawellitachan 18

ตัวอย่าง:


๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ mekkhawipaphutchitachan 19

ตัวอย่าง:


๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ satthunlawikkiilitachan 19

ตัวอย่าง:






๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐ iithisachan 20

ตัวอย่าง:


๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑ satthraachan 21

ตัวอย่าง:


ร่าย
ร่าย เป็น ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)
ร่าย คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด, และมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก, เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง

กำเนิดและวิวิฒนาการ

พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เชื่อว่า ร่ายเป็นของไทยแท้, มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง. ด้วยปรากฏหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีสุโขทัย คือ สุภาษิตพระร่วง, และต่อมาจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวรรณคดีอยุธยา เรื่อง โองการแช่งน้ำ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เชื่อว่า ร่ายเป็นของไทยแท้ เพราะคนไทยนิยมพูดเป็นสัมผัสคล้องจอง, ดังปรากฏประโยคคล้องจองในสำนวนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง กาพย์พระมุนีเดินดงของภาคเหนือ และคำแอ่วของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นอกจากนี้ยังได้สันนิษฐานว่า คำว่า ร่าย ตัดมาจาก ร่ายมนต์, สังเกตจากโองการแช่งน้ำที่มีร่ายดั้นปรากฏเป็นเรื่องแรก และมีเนื้อหาเป็นคำประกาศในการดื่มน้ำสาบาน
วิวัฒนาการของร่ายน่าจะเริ่มจากสำนวนคล้องจองในศิลาจารึกและความนิยมพูดคล้องจองของคนไทยแต่โบราณ ในบทที่พระภิกษุใช้เทศนาก็ปรากฏลักษณะการคล้องจองอยู่, เป็นการรับส่งสัมผัสจากวรรคหน้าไปยังวรรคถัดไป โดยไม่ได้กำหนดความสั้นยาวของพยางค์อย่างตายตัว, ซึ่งลักษณะนี้ใกล้เคียงกับร่ายประเภท "ร่ายยาว" มากที่สุด จึงมีการสันนิษฐานว่า ร่ายยาวเป็นร่ายที่เกิดขึ้นในอันดับแรกสุด, ต่อมาจึงเกิดร่ายประเภท "ร่ายโบราณ" ซึ่งกำหนดจำนวนพยางค์และจุดสัมผัมคล้องจองตายตัว, และตามมาว่าด้วย "ร่ายดั้น" ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงดั้นเข้ามา, อันดับสุดท้ายจึงเกิด "ร่ายสุภาพ"ซึ่งมีการประยุกต์ของกฎเกณฑ์กลอนสุภาพเข้ามา

ร่ายมีสี่ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:
๑. ร่ายยาว
๒. ร่ายโบราณ
๓. ร่ายดั้น
๔. ร่ายสุภาพ
ฉันทลักษณ์

๑. ร่ายยาว


ร่ายยาว คือ ร่ายที่ไม่กำหนดจำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๆ แต่ละวรรคจึงอาจมีคำน้อยมากแตกต่างกันไป. การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกัลคำหนึ่งคำใดในวรรคถัดไป. จะแต่งสั้นยาวเท่าไรเมื่อจบนิยมลงท้ายด้วยคำว่า แล้วแล นั้นแล นี้เถิด โน้นเถิด ฉะนี้ ฉะนั้น ฯลฯ เป็นต้น
ตัวอย่าง
โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อันสร้างสมดึงส์ปรมัตถบารมี เมื่อจะรับวโรรัตนเรืองศรีแปดประการ แด่สำนักนิท้าวมัฆวานเทเวศร์ ก็ทูลแก่ท้าวสหัสเนตรฉะนี้ (กาพย์มหาชาติ กาพย์สักรบรรพ)
๒. ร่ายโบราณ



ร่ายโบราณ คือ ร่ายที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมีคำห้าคำเป็นหลัก บทหนึ่งต้องแต่งให้มากกว่าห้าวรรคขึ้นไป. การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกัลคำที่หนึ่ง สอง หรือสาม คำใดคำหนึ่งของวรรคถัดไป, และยังกำหนดอีกว่า หากส่งด้วยคำเอก ต้องสัมผัสด้วยคำเอก คำโทก็ด้วยคำโท คำตายก็ด้วยคำตาย. ในการจบบทนั้น ห้ามไม่ให้ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ประสมอยู่เป็นคำจบบท, อาจจบด้วยถ้อยคำ, และอาจแต่งให้มีสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง
...พระบาทเสด็จ บ มิช้า พลหัวหน้าพะกัน แกว่งตาวฟันฉฉาด แกว่งดาบฟาดฉฉัด ซ้องหอกซัดยยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยย้าย ข้างซ้ายรบ บ มิคลา ข้างขวารบ บ มิแคล้ว แกล้วแลแกล้วชิงข้า กล้าแลกกล้าชิงขัน รุมกันพุ่งกันแทง เข้าต่อแย้งต่อยุทธ์ โห่อึงอุดเอาชัย เสียงปืนไฟกึกก้อง สะเทือนท้องพสุธา หน้าไม้ดาปืนดาษ ธนูสาดศรแผลง แข็งต่อแข็งง่าง้าง ช้างพะช้างชนกัน ม้าผกผันคลุกเคล้า เข้ารุกรวนทวนแทง รแรงเร่งมาหนา ถึงพิมพิสารครราช พระบาทขาดคอช้าง ขุนพลคว้างขวางรบ กันพระศพกษัตริย์ หนีเมื้อเมืองท่านไท้ ครั้นพระศพเข้าได้ ลั่นเขื่อนให้หับทวาร ท่านนา (ลิลิตพระลอ)
ตัวอย่างแบบมีสร้อยสลับวรรค
เจ้าเผือเหลือแผ่นดิน นะพี่ หลากระบิลในแหล่งหล้า นะพี่ บอกแล้วจะไว้หน้าแห่งใด นะพี่ ความอายใครช่วยได้ นะพี่ อายแก่คนไสร้ท่านหัว นะพี่ แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่ สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่ เจ็บเผื่อเหลือแห่งพร้อง โอเอ็นดูรักน้อง อย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา. (ลิลิตพระลอ)

๓. ร่ายดั้น


ร่ายดั้น คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายโบราณ, แต่ไม่เคร่งเรื่องการรับสัมผัสระหว่างชนิดคำ คือ คำเอกไม่จำเป็นต้องรับด้วยคำเอก เป็นต้น. ส่วนการจบบท ใช้บาทที่สามและสี่ของโคลงดั้นมาปิดท้ายบท, และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง
ศรีสุนทรประฌาม งามด้วยเบญจพิธ องค์ประดิษฐ์อุตดม อัญขยมประจงถวาย พร้อมด้วยกายวาจาจิต...มวลมารพ่ายแพ้สูญ สิ้นเสร็จ ทรงพระคุณล้ำล้น เลิศครู. [ลิลิตดั้นมาตาปิตุคุณคาถาบรรยาย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)]

๔. ร่ายสุภาพ


ร่ายสุภาพ คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายดั้นทุกประการ ส่วนการจบบท ใช้โคลงสองสุภาพจบ และนิยมมีคำสร้อยปิดท้ายด้วย, และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง
สรวมสวัสดิวิชัย เกริกกรุงไกรเกรียงยศ เกียรติปรากฏขจรขจาย สบายทั่วแหล่งแหล้า ฝนฟ้าฉ่ำชุ่มชล ไพศรพณ์ผลพูนเพิ่ม เหิมใจราษฎร์บำเทิง...ประเทศสยามชื่นช้อย ทุกข์ขุกเข็ญใหญ่น้อย นาศไร้แรงเกษม โสตเทอญ (ลิลิตนิทราชาคริต โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ลิลิตเตงพ่าย ม.5

ตอนที่ ๑ เริ่มต้นบทกวี
ด้วยพระเดชานุภาพแห่งกษัตริย์ไทยอันสะดวก และสง่าผ่าเผยเอาชนะเหล่าศัตรูผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระเกียรติยศเป็นที่โจษจันเลื่องลือเหมือนพลิกแผ่นฟ้า โลกสู้ไม่ได้ จึงเลื่องลือถึงชัยชนะอันสำเร็จด้วยพระปรีชาสามารถ ต่างหวั่นเกรงในพระเกียรติยศ ต่างท้อใจจนไม่กล้าคิดฮึกเหิม จิตใจคิดแพ้จนไม่คิดจะกล้าสู้อีก ไม่กล้าแม้แต่ปรากฏตัวออกรบ ไม่กล้าสู้หน้าและสำแดงฤทธิ์อำนาจ พระเจ้าแผ่นดิน ทุกหนทุกแห่งกษัตริย์ ทุกเขตทุกแคว้นน้อมมงกุฎ (หมายถึง ศีรษะ) มานบนอบ นำบ้านเมืองมาน้อมถวาย เป็นเมืองขึ้นแด่กษัตริย์ไทยผู้มีดอกบัวสวยงามรองรับเท้า ผู้มีอานุภาพหาผู้ใดเสมอมิได้ ผู้ปราบข้าศึกจนเป็นที่เกรงกลัวศพถูกบั่นหัวเกลื่อนกลาดมากมายเต็มทุ่ง เต็มเนินพม่ามอญพ่ายแพ้หนีไป กรุงศรีอยุธยางดงามน่าพึงพอใจมีความสุขบันเทิงใจเป็นพิเศษ สบายใจทั้งในพระราชฐาน เย้ฯใจทั้งในพระราชวังที่ประทับประกอบไปด้วย เครื่องสอยต่างๆ เจริญด้วยทรัพย์อันอุดมสมบูรณ์ ทำแผ่นดิน ให้พ้นความลำบากทำบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขทุกเขตแดนเพลิดเพลินใจ เหล่าทหารช้างทหารม้าเหล่าทหารปืนไฟ พระเกียรติยศกึกก้องทั่วฟ้าเป็นที่ลือเลื่องทั่วแผ่นดินและทั่วโลกต่างสดุดีเป็นบุญของพระเจ้าแผ่นดินสยามที่ศัตรูได้ยินพระเกียรติยศเข้าก็เกรงกลัว ฤทธานุภาพ ( ของกษัตริย์ไทย ) นั้นเทียบเท่าฤทธิ์ของพระรามผู้ปราบทศกัณฐ์ ผู้ซึ่งสามารถรบข้าศึกให้พ่ายแพ้ได้ทุกเวลา ข้าศึกพินาศไปดุจกำลังพลแห่งเทพบุตรมาร กษัตริย์สยามเหมือนพระนารายณ์ลงมาเกิดเมื่อครั้งก่อน ข้าศึกนับแสนไม่กล้าสู้รบกับฤทธิ์ของพระองค์ ต่างตกใจในเดชานุภาพ ต้องหลีกลี้หนีไปทุกแห่งหนของโลก
ครั้นเสวยราชสมบัติดุจสมบัติสวรรค์แล้ว ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ร่มเย็นดังแสงจันทร์ซึ่งลอยเด่นบนฟ้า ส่องความสุขอันสบายใจเป็นที่ชื่นบานแก่มนุษย์โลก ความทุกข์ผ่อนคลายไป กษัตริย์จากทุกแห่งต่างพร้อมใจสรรเสริญ

ตอนที่ ๒ เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ทางมอญ (พม่า) ทราบข่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต โอรสของพระองค์คือ สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ เมื่อทราบเช่นนั้นพระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่า ได้คาดการว่า อาจจะมีการทะเลาะวิวาทเพื่อชิงราชสมบัติระหว่างพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ พม่าจึงกองทัพมาคอยท่า ดูว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร ถ้าเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยก็เป็นโอกาสดีที่จะตีเอากรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาเตรียมทัพ ร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ ยกไปเป็นทัพใหญ่ 5 แสน
เมื่อพระมหาอุปราชาทราบ จึงตอบกลับว่า โหรได้ทำนายว่า กำลังมีเคราะห์ถึงตาย นันทบุเรงได้ฟังจึงตรัสตอบ เชิงประชดแดกดันว่า เจ้ากรุงศรีอยุธยามีโอรส ล้วนเชี่ยวชาญการรบ กล้าหาญในการศึกไม่ย่อท้อ ต่อสู้ข้าศึกไม่ต้องให้พระราชบิดาใช้เลย มีแต่จะต้องห้ามปราม ถึงเจ้าหวาดกลัวเคราะห์ร้าย ก็อย่าไปรบเลยให้เอาผ้านุ่งสตรีมานุ่งเสีย จะได้บรรเทาเคราะห์
เมื่อพระมหาอุปราชาได้ยินเช่นนั้น ก็รู้สึกอับอายขุนนางทั้งหลายเป็นอันมาก จึงกราบแทบพระบาท ทูลลาพระเจ้าหงสาวดี แล้วออกมาป่าวประกาศเกณฑ์รี้พลทหาร เสร็จแล้วก็เสด็จเข้าที่ประทับ ด้วยพระทัยโศกเศร้า จนหมดสง่าราศี พระมหาอุปราชาสั่งลาพระสนมเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปยังที่สรง ชำระพระองค์ในเวลาไม่นาน ทรงน้ำหอมกลิ่นฟุ้ง อบอวลกระจายไปทั่ว แล้วทรงเครื่องแต่งพระองค์ มีสนับเพลา ชายไหวชายแครงลายเถาวัลย์ รัดผ้าคาด สวมภูษาทรงสวยงาม สวมกำไลประดับแก้วลายมังกรผ้าตาบประดับแก้วไพฑูรย์ส่องประกาย สายสะอิ้งทำด้วยพลอย สายสังวาลย์พาดเฉียงบ่า บนพระเศียรทรงมงกุฎเทริด ตามแบบอย่างกษัตริย์มอญ ประดิษฐ์เป็นรูปพญานาคหัวแผ่พังพานเต็มที่ แสงเพชรสว่างโชติช่วง พระธำมรงค์เปล่งประกายสีรุ้ง เรียงรายด้วยแก้ว ๙ ประการ โอ่อ่าด้วยเครื่องแต่งตัวอันสวยตระการตา งามสง่าสมความเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงดำเนินอย่างผู้ทรงอำนาจ กรายพระหัตถ์กุมอาวุธ เสด็จเยื้องย่างอย่างพญาราชสีห์ ทูลลาพระเจ้าแผ่นดินไปสู้รบศัตรูแห่งสยาม
พระเจ้าหงสาวดีฟังราชโอรสทูลลาไปทำศึก และพระราชทานพรให้กรุงศรีอยุธยาอยู่ในเงื้อมมือของพระมหาอุปราชา ขอให้เจริญด้วยเดชานุภาพ ชาวอยุธยาอย่าต้านทานได้ ให้มีชัยชนะสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงพระราชทานโอวาทในการทำสงคราม 8 ประการ คือ
1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น) 2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา) 3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา) 4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา) 5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน) 6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา) 7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า (หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน) 8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
เสร็จจากพระราชทานโอวาทแล้ว พระมหาอุปราชากราบบังคมรับพร แล้วอำลาราชบิดา เสด็จมายังเกยชัย เหล่าทหารเตรียมกำลังไว้พร้อมทั้งหมด ๕๐ หมื่น นายช้างรื่นเริงแกล้วกล้า ขับช้างทรงพันธกอมารับพระมหาอุปราชา เสร็จแล้วขับช้างออกเดินทัพ

ตอนที่ ๓ พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
ระหว่างการเดินทาง พระมหาอุปราชาทรงรำพันถึงพระสนมว่า ออกเดินทางมาคนเดียว รู้สึกเปลี่ยวใจยิ่งนัก ทอดพระเนตรเห็นพันธุ์ไม้สวยงาม ก็อดรำลึกถึงนางที่รักไม่ได้
ทางเมืองกาญจนบุรี เหล่ากองระวังด่านได้ไปสอดแนมหาข่าวในเขตแดนมอญ ต่างเห็นหมู่กองทัพมอญ เดินมาแน่นขนัดเต็มป่า หวังมารบกับกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ และเห็นที่กั้นเศวตฉัตรห้าชั้นปักบนหลังช้าง จึงรู้ได้ว่าพระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพยกมา และนำข่าวไปแจ้งแก่เจ้าเมือง เมื่อได้ยินข่าวศึก ชาวเมืองกาญฯ ก็กลัวเพราะรู้ว่าไม่สามารถต้านทานกำลังพม่าไว้ได้ จึงพากันทิ้งบ้านเมือง ทำให้กาญจนบุรีเป็นเมืองร้าง แล้วพากันไปซุกซ่อนในป่า เพื่อดูอุบายพม่า และส่งรายงานไปให้กรุงศรีอยุธยาทราบ พระมหาอุปราชาทรงเร่งให้รีบเดินทัพ เมื่อถึงแม่น้ำกระเพิน พระยาจิดตองเป็นแม่กองการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำ จนถึงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งว่างเปล่าไร้ผู้คน กองทหารสอดแนมพม่าพยายามจับตัวคนไทยเพื่อมาสอบถาม แต่ไม่พบใครเลยพระมหาอุปราชาจึงกรีธาทัพเข้าค้างแรมในเมือง เมื่อเดินทัพถึงตำบลพนมทวน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ลางร้ายก็ปรากฏขึ้น มีลมชื่อเวรัมภา พัดเอาเศวตฉัตรบนหลังช้างหักขาดลงมา พระมหาอุปราชาเมื่อได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ก็เสียวใจเหมือนถูกภูเขาใหญ่มาทับอก พระทัยสั่น พระพักตร์ซีด จนต้องเรียกโหรมาทำนาย
โหรทั้งหลายต่างรู้ว่าเป็นเหตุร้าย แต่ไม่กล้าทูลตามตรง เพราะกลัวอาญา จึงทูลแต่สิ่งดีๆ เพื่อกลบเกลื่อนว่า เรื่องฉัตรหักนี้ ถ้าเกิดในเวลาเช้าย่อมชั่วร้าย แต่ถ้าเกิดในช่วงเย็นย่อมดี ขอพระองค์อย่าขุ่นเคืองโทมนัสทุกข์ใจไปเลย จะทรงมีลาภปราบศัตรูข้าศึกไทยได้แน่นอน
พระมหาอุปราชาไม่เชื่อคำทำนาย ทรงนึกหวั่นวิตกว่าจะแพ้กองทัพไทย ทรงระลึกถึงพระบิดา หากเสียพระโอรสไปแล้ว คงเหมือนกับแขนขาดกลิ้งไป คงไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์คู่ปรึกษา พระคุณของบิดาเท่าพื้นแผ่นดิน ตลอดตั้งแต่ฟ้าจรดดิน พระองค์ให้กำเนิดก่อชีวิต กลัวว่าลูกจะกลับไปตอบแทนพระคุณไม่ทันเสียแล้ว

ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่ที่ท้องพระโรง ทรงไต่ถามทุกข์สุขของมวลพสกนิกร ขุนนางทั้งหลาย ต่างถวายความเห็นแด่สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงตัดสินคดีความให้ลุล่วงไปตามแบบอย่างยุติธรรม เสร็จแล้วทรงปรึกษาขุนนาง เพื่อเตรียมทัพไปปราบเขมรว่าควรยกไปเมื่อไรดี โดยให้เกณฑ์กำลังพลมาจากทางใต้
พระองค์ทรงห่วงแต่ศึกมอญพม่า เกรงว่าจะยกมาตีกรุงศรีอยุธยา จึงมอบหมายให้ พระยาจักรี เป็นผู้ดูแลกรุงศรีอยุธยาในระหว่างที่ทำศึกกับเขมร ให้ตั้งใจรักษาเมืองไว้ พระองค์จะรีบกลับมาปกป้องแผ่นดินสยามโดยไวพระองค์ทรงปลอบพระองค์ว่า พม่าเพิ่งแพ้ไทยกลับไปเมื่อต้นปี คงไม่ยกกลับมาภายในปีนี้หรอก เหล่าขุนนางยังไม่ได้ตอบพระราชบรรหาร ทันใดนั้นทูตจากเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง

ตอนที่ ๕ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
สมเด็จพระนเรศวรตรัสว่า เราจะไปตีเมืองกัมพูชา แต่มอญชิงส่งทัพเข้ามารบเสียก่อน ทำให้เราไม่ได้ไปรบกับเขมร ทรงสั่งให้ไปรบกับมอญแทน อันเป็นมหรสพอันยิ่งใหญ่ ว่าแล้ว ทรงประกาศให้เมืองกาญจนบุรี เกณฑ์กำลังพล ๕๐๐ ไปสอดแนมซุ่มดูกำลังของข้าศึก ที่เดินทางผ่านลำน้ำกระเพิน โดยตัดสะพานให้ขาดเป็นท่อน ทำลายเชือกสะพานให้ขาดลอยเป็นทุ่น ก่อไปทำลายเสียอย่าให้มอญจับได้
ทันใดนั้นทูตจากเมืองต่างๆ ก็ส่งรายงานศึกมาให้พระองค์ทราบ เป็นการสนับสนุนข่าวนั้นว่าเป็นจริง พระนเรศวรทรงยินดีที่จะได้ปราบศัตรูบ้านเมือง ทรงปรึกษากับเหล่าเสนาอำมาตย์ว่า การศึกครั้งนี้ ควรจะสู้นอกเมือง หรือตั้งรับในเมือง เหล่าขุนนางทั้งหลายก็กราบทูลว่า พระองค์ควรเสด็จไปทำศึกนอกเมืองจะดีกว่า ซึ่งก็ตรงกับพระทัยของสมเด็จพระนเรศวร แล้วมีพระบรมราชโองการ เรียกเกณฑ์พลจากหัวเมือง ตรี จัตวา กับหัวเมืองทางใต้ ให้พระยาศรีไสยณรงค์ เป็นทัพหน้า มีพระราชฤทธานนท์ เป็นปลัดทัพ มีกำลังพล ๕ หมื่น ทรงสั่งอีกว่าให้รีบรบโดยเร็ว หากต้านทานไม่ไหว พระองค์จะเสด็จมาช่วยภายหลัง แม่ทัพทั้งสองกราบบังคมลา แล้วยกทัพไปจนถึงตำบลหนองสาหร่าย เขตจังหวัดกาญจนบุรี แล้วตั้งค่ายลงตรงชัยภูมิชื่อ สีหนาม เพื่อรอรบ และหลอกล่อข้าศึกให้เข้าสู่สถานการณ์ที่ต่อสู้ได้ยากลำบาก ...

ตอนที่ ๖ พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
สมเด็จพระนเรศวร ให้โหรหาฤกษ์ยามดีเพื่อเคลื่อนพลไปรบ หลวงญาณโยคโลกทีป ถวายคำพยากรณ์ทูลว่า พระองค์ได้จตุรงคโชค อาจปราบประเทศต่างๆให้แพ้สงครามได้ เชิญเสด็จเคลื่อนทัพในยามเช้า วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำ ย่ำรุ่ง ๘ นาฬิกา ๓๐ นาที ในเดือนยี่ นับเป็นฤกษ์สิริมงคล ทรงสดับแล้ว ให้ตรวจทัพเตรียมเคลื่อนพลทางน้ำ มุ่งสู่ตำบลปากโมก จังหวัดอ่างทอง
สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ สรงน้ำอบหอม แต่งพระองค์ด้วยภูษาทรงอันสวยงาม นับแต่ผ้ารัดบั้นพระองค์ มีชายไหวชายแครงสนับเพลา ทับทรวง สะอิ้ง ล้วนสวยงาม สวมข้อพระกรด้วยกำไลอ่อน พระธำมรงค์ที่สวมนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๘ ประดับเพชรพลอยแพรวพราวเป็นสีรุ้ง ทรงมงกุฎทองประดับเพชร ถือคันธนูเสด็จมาช้าๆ กษัตริย์ ๒ พระองค์ดุจดังพระลักษณ์พระรามปราบทศกัณฐ์ และปราบศัตรูทั่วทิศ เมื่อได้ฤกษ์ออกศึก โหรตีฆ้องดังกึกก้อง บรรดาสมณชีพราหมณ์ก็ร่ายมนตร์ตามคัมภีร์ พร้อมเป่าสังข์เป่าแตรถวาย เสียประสานกันเซ็งแซ่ จากนั้นเคลื่อนพลผ่านโขลนทวาร พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาให้มีชัย และเคลื่อนทัพจนถึงตำบลปากโมก ทรงปรึกษาเหล่าขุนนางเรื่องการศึก จนล่วงเข้ายามสามก็เสด็จเข้าที่บรรทมครั้นถึงเวลา ๔ นาฬิกา พระองค์ทรงสุบิน เป็นศุภนิมิต ว่า ทรงทอดพระเนตรเห็นน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง มาทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดสายพระเนตร ขณะพระองค์ลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากนั้น มีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งมาโถมปะทะ และจะกัดพระองค์ พระองค์ใช้แสงดาบที่ถือในพระหัตถ์ต่อสู้กับจระเข้ พระองค์ฟันเข้าถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำที่ท่วมป่าอยู่ก็เหือดแห้ง เมื่อตื่นบรรทม สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที เหล่าโหรพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้ เกิดเพราะเทวดาสังหรณ์ให้ทราบเป็นนัยว่า
น้ำซึ่งไหลท่วมป่าทางทิศตะวันตกนั้นคือกองทัพพม่า
ส่วนจระเข้นั้นคือพระมหาอุปราชา การสงครามนี้ยิ่งใหญ่ ถึงขนาดต้องกระทำยุทธหัตถี
การลุยกระแสน้ำนั้นหมายความว่าพระองค์จะทรงตะลุยไล่บุกเข้าไปในหมู่ข้าศึก จนข้าศึกแตกพ่าย
เมื่อพระองค์สดับฟังคำพยากรณ์ ก็มีความผ่องแผ้วเป็นสุขใจ และเสด็จมายังเกยช้างที่ประทับ ณ พลับพลาในค่ายหลวง ในระหว่างที่คอยพิชัยฤกษ์อยู่ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุ ส่องแสงเรืองรอง มีขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้ ลอยวนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรต ๓ รอบ แล้วลอยเวียนฉวัดเฉวียนกลางฟ้า ผ่านไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้อง ทรงกราบนมัสการด้วยความปลาบปลื้มปิติยินดียิ่ง ทรงพระช้างชื่อ ไชยานุภาพ ส่วนพระเอกาทศรถทรงช้าง พลายปราบไตรจักร โดยเสด็จนำหน้าขบวนสมเด็จพระนเรศวร

ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าประทะทัพหน้าของไทย
ฝ่ายนายกองลาดตระเวน ซึ่งพระมหาอุปราชาใช้ให้ขี่ม้าตรวจดูทัพไทย มีสมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมทหารม้า ๕๐๐ และกราบทูลพระมหาอุปราชาว่า กองทัพไทยตั้งค่ายอยู่ที่หนองสาหร่าย สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นผู้ยกทัพมาเอง มีรี้พลประมาณ ๑๗-๑๘ หมื่น พระมหาอุปราชาจึงตัดสินใจใช้วิธีจู่โจม หักเอาชัยชนะเสียแต่แรก เพื่อเบาแรง แล้วล้อมกรุงศรีอยุธยา แล้วชิงราชสมบัติในภายหลัง จึงรับสั่งให้เตรียมพลให้เสร็จตั้งแต่ ๓ นาฬิกา(ตีสาม) พอ ๕ นาฬิกา(ตีห้า) ก็ยกทัพกะให้ไปสว่างกลางทาง รุ่งเช้าจะได้เข้าตีทันที พระองค์ขึ้นประทับพลับพลาที่มีเกยสำหรับขึ้นช้าง เพื่อประทับช้างพระที่นั่งชื่อ พลายพันธกอฝ่ายไทย พระยาศรีไสยณรงค์ กับพระราชฤทธานนท์ ได้รับพระราชโองการจากสมเด็จพระนเรศวร จึงยกพลเข้าโจมตีทัพพม่าตั้งแต่กลางดึก มีกำลังพลทั้งหมด ๕ หมื่น โดยจัดทัพดังนี้
ทัพหน้า มีพระสุพรรณเป็นแม่ทัพ เจ้าเมืองธนบุรีเป็นปีกซ้าย เจ้าเมืองนนทบุรีเป็นปีกขวา
ทัพหลวง พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ ขี่ช้างชื่อพลายสุรงคเดชะ เจ้าเมืองสรรค์บุรีเป็นปีกซ้าย เจ้าเมืองสิงห์บุรีเป็นปีกขวา
ทัพหลัง พระราชฤทธานนท์เป็นแม่ทัพ ขี่ช้างชื่อชนะจำบัง เจ้าเมืองชัยนาทเป็นปีกซ้าย พระยาวิเศษชัยชาญเป็นปีกขวา
สามทัพจัดเก้ากอง มีเหล่าทหารสมัครรบเป็นกองหนุน เดินทัพจนถึงโคกเผาข้าว ในเวลาเช้า ๗ นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพพม่า ทั้งสองผ่ายต่างต่อสู้กันอย่างกล้าหาญ พร่าผลาญชีวิตตากกันเกลื่อนกราด บ้างแขนขาด บ้างขาขาด หัวขาด กำลังพม่ามีมากกว่าจึงโอบล้อม กระหนาบไทยทั้งด้านหน้าด้านหลัง ฝ่ายไทยมีอยู่น้อย ไม่สามารถต้านทานไว้ได้ จึงรบไปถอยไป เสียงอาวุธที่ปะทะกันดังสั่นกึกก้อง เหมือนเสียงฟ้าผ่า ผืนแผ่นดินทลาย เสียงดังสั่นโลกจนไม่รู้ว่าฝ่ายใดแพ้ฝ่ายใดชนะ สองฝ่ายต่างเก่งกล้ามาก เหมือนราชสีห์สู้กับราชสีห์

ตอนที่ ๘ พระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะศึก
สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้พราหมณ์ทำพิธีเบิกโขลนทวาร เซ่นสรวงเทวดา แลพิธีพลีกรรมแก่ผีสาง ทรงส่งพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ให้หลวงมหาวิชัยทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ขณะนั้นทรงได้ยินเสียงปืนดังมาแต่ไกล จึงโปรดให้หมื่นทิพย์เสนาควบม้าอย่างรวดเร็วเพื่อไปสืบข่าว หมื่นทิพย์เสนาควบม้าไปเห็นกองทัพไทยถอยมาตามท้องนาไม่เป็นขบวน จึงจับเอาหมื่นคนหนึ่งกลับมาเฝ้าพระนเรศวร พระองค์ตรัสถามว่า เหตุใดจึงแพ้ เขาจึงเล่าว่า รี้พลทั้งหมดเดิมทัพมาถึงโคกเผาข้าวเวลา ๑ นาฬิกา ได้ปะทะกับกองทัพมอญซึ่งมีกำลังมากกว่า ไม่สามารถต้านทานไว้ได้ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทราบ จึงปรึกษากับเหล่าแม่ทัพนายกองว่า จะทำอย่างไรให้ชนะข้าศึก เหล่าแม่ทัพกราบทูลให้พระองค์จัดทัพไปหน่วงข้าศึกไว้ แล้วให้พระองค์ไปตั้งมั่นที่กรุงศรีอยุธยา ให้ข้าศึกอ่อนกำลังก่อนจึงค่อยเสด็จยกทัพหลวงออกมาสู้
สมเด็จพระนเรศวรตรัสแย้งว่า ฝ่ายไทยกำลังแตกพ่ายมา หากส่งกองทัพไปต้านทาน ก็ต้องพลอยแตกซ้ำกลับมาเป็นครั้งที่สอง จึงรับสั่งให้ถอยร่นลงมา โดยไม่หยุดยั้งเพื่อลวงข้าศึก พม่าจะได้ประมาทไล่ติดตามมาไม่เป็นขบวน แล้วค่อยยกกำลังส่วนใหญ่ออกไปตี เห็นจะได้ชัยชนะโดยง่าย เหล่าแม่ทัพนายกองเห็นชอบด้วย สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้หมื่นทิพย์เสนา กับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งข่าวให้ทัพหน้าทราบ ทัพหน้าไทยเมื่อได้รับคำสั่ง จึงหนีถอยร่นมาอย่ารวดเร็ว พวกพม่าเห็นเช่นนั้นก็ไล่ตามติดกองทัพไทยมาอย่างไม่เป็นขบวน โดยไม่รู้เล่ห์กลไทย เพราะคิดว่าไทยแพ้จริงๆ บุกไล่ตามกองทัพไทยด้วยความคึกคะนอง

ตอนที่ ๙ ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก
สมเด็จพระนเรศวรทรงเคลื่อนทัพตามเกร็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม ในไม่ช้าก็ปะทะกับข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสองเชือก ได้ยินเสียงฆ้อง กลอง และปืนก็เริ่มคึกคะนองด้วยกำลังตกมัน ส่งเสียงด้วยกิริยาร่าเริง ควาญไม่สามารถคัดท้ายไว้ได้ จึงวิ่งฝ่าเข้าไปในหมู่ข้าศึก แซงทั้งปีกซ้าย ปีกขวา กองหน้า แม่ทัพนายกลองและไพร่พลไม่สามารถตามเสด็จได้ จะมีก็แต่กลางช้างกับควาญช้าง ๔ คนเท่านั้นที่ตามเสด็จได้ เมื่อวิ่งเข้าใกล้กองหน้า สมเด้จพระพี่น้องทอดพระเนตรเห็นข้าศึกมีจำนวนมากมายเหมือนคลื่นในมหาสมุทร กำลังไล่ตามทหารไทยมา จึงไสยช้างพระที่นั่งทั้งคู่ด้วยแรงที่เกิดจากการตกมัน ทั้งถีบทั้งเตะตะลุมบอนทหารพม่ามอญตายเกลื่อนกลาด บางส่วนก็ยิงปืนเข้าใส่ บ้างก็ยิงธนูเข้าใส่ เกิดควันกลบท้องฟ้าให้มืดมิด
สมเด็จพระนเรศวร ทรงมีพระบรมราชโองการแก่เทพทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นฉกามาพจรตลอดจนพระพรหมที่อยู่ในพรหมโลกสิบหกชั้นว่า การที่พระองค์ประสูติมาในตระกูลกษัตริย์นั้น ก็เพื่อผดุงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน และทะนุบำรุงก่อเกื้อพระศาสนา เหตุใดจึงไม่ช่วยทำให้ท้องฟ้าใสสว่างปราศจากหมอกควัน จะได้มองเห็นข้าศึกในสนามรบให้ชัดกับตาด้วยเถิด พอตรัสจบ ก็เกิดลมครั่นครื้นขึ้นในท้องฟ้า พัดปั่นป่วน หมอกควันที่มืดก็หายไป สว่างไสวจนเห็นสนามรบ สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นข้าศึกขี่ช้างมีฉัตรกั้นทั้ง ๑๖ เชือก แต่ไม่ทันเห็นพระมหาอุปราชา จึงเร่งขับช้างพระที่นั่งตามหาพระมหาอุปราชา ณ เบื้องขวาของพระองค์ ทรงเห็นพญาช้างเชือกหนึ่งกั้นฉัตร มีพลทหารสี่เหล่าเรียงรายอยู่คับคั่ง อยู่ใต้ต้นข่อย ทรงมีพระราชดำริว่าน่าจะเป็นขุนศึกของพม่า เพราะแวดล้อมด้วยรี้พลทหาร และเครื่องอุปโภคพรั่งพร้อมไปหมด พระนเรศวร และพระเอกาทศรถ ขับช้างบ่ายหน้าเข้าพบพระมหาอุปราชาผู้เป็นแขกมาเยือน ข้าศึกยิงปืนกราด กระหน่ำเข้าไป แต่ไม่ระคายถูกต้องพระองค์ กลับแตกตื่นพล่านไปเสียเอง

ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสด้วยถ้อยคำที่ไพเราะว่า สมเด็จพระมหาอุปราชาผู้ยิ่งใหญ่ในพม่า มีพระยศแผ่ไปทั่ว ใครได้ยินก็ครั่นคร้ามในความเก่งกาจของพระองค์ ฤทธิ์เดชก็ลือสนั่นไปทั้งสิบทิศ ไม่มีใครกล้า ต่อสู้ด้วย เจ้าพี่หยุดพักอยู่ใต้ร่มไม้เช่นนั้นเป็นการไม่ชอบไม่ควร เชิญเจ้าพี่มารบกันด้วยช้างเถิด เพื่อเผยแผ่เกียรติยศไว้ นับแต่นี้เป็นต้นไป การชนช้างเช่นเราทั้งสองคงสิ้นสุดลงจะไม่มีอีกแล้ว การชนช้างคงถึงที่สุดคราวนี้ นับแต่นี้ไปเบื้องหน้า ก็คงไม่พบอีก เรื่องการยุทธหัตถีของเราพี่น้องทั้งสอง เขาคงบันทึกได้ด้วย ตราบฟ้าดินสิ้นไป
การชนช้างมีไว้เป็นมหรสพ เพิ่มความสุข ความสงบ เป็นเครื่องสำราญพระทัยของกษัตริย์นักรบมาแต่โบราณ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของมนุษย์ทั้งแผ่นดิน ตลอดจนสวรรค์ชั้นฟ้า ขออัญเชิญเทพยดาในพรหมโลก มาประชุม ณ สถานที่นี้ เพื่อชมการชนช้างที่เราจะกระทำกัน ใครเชียวชาญก็ช่วยอวยชัยส่งเสริมให้ หรือให้เกียรติยศที่เกิดขึ้นกลางสนามรบยืนยงคู่โลก ใครรู้เรื่องของสองกษัตริย์ที่รบกัน ก็คงสรรเสริญทั้งนั้น
คำพรรณนาของสมเด็จพระนเรศวร ทำให้พระมหาอุปราชาเกิดขัตติยะมานะขึ้น จึงขับช้างเข้ารบประทะด้วยทันที ช้างทรงของกษัตริย์ทั้งสองเปรียบเหมือนช้างเอราวัณของพระอินทร์ (เปรียบกับช้างของพระนเรศวร) กับช้างคิริเมขล์ของพระยาสวัสดีมาร ที่ขี่มาประจญพระพุทธเจ้า (เปรียบช้างของพระมหาอุปราชา) ต่างเสยงา โถมแทงกันจ้าละหวั่น ช้างทั้งสองฝ่ายต่างเอางามาปะทะกัน สองกษัตริย์ต่างชูด้ามง้าวกลอกกลับไปมาอย่างว่องไวรวดเร็ว ควาญนั้นขับช้างเข้าต่อสู้กันอย่างแข็งขัน สองกษัตริย์แห่งวงศ์อำมายต์อันสูงสุดต่อสู้กันแลดูสง่างาม
สมเด็จพระนเรศวรสามารถต้านทานพระมหาอุปราชาไว้ได้ สองพระองค์สู้รบกันอย่างไม่เกรงกัน ยกหัตถ์กวัดแกว่งของ้าวตามทำนองพิชัยยุทธ เป็นภาพที่ช่างงดงามยิ่ง ช้างของพระนเรศวรโถมปะทะไม่ทันตั้งตัวช้างพระมหาอุปราชาได้ท่าอยู่ด้านล่างจึงเอางาเสยดันงาช้างพระนเรศวรขึ้นไปจนคางหงายเป็นโอกาสของพระมหาอุปราชาที่ได้ล่างจึงฟาดพระแสงง้าวลงมาสมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระมาลาหลบอาวุธจึงไม่ถูกพระองค์ทันในนั้น ช้างทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพ ก็เบี่ยงหัวสะบัดหลุดจากการถูกค้ำ และกลับเป็นฝ่ายได้ล่างบ้าง เข้าเอางางัดคอช้างพลายพัทธกอ ทำให้ต้องเบนหัวหงายแหงนขึ้นจนเสียท่า พระนเรศวรจึงเงื้อพระแสงของ้าวแสนพลพ่ายฟันลงไป ถูกพระอังสาขาดสะพายแล่งค่อนไปทางขวา พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันขาดเป็นรอยแยกจากกัน พระวรกายเอนฟุบลงบนคอช้าง เป็นที่น่าสลดสังเวชใจยิ่งนัก พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์แล้ว ได้เสด็จสถิต ณ แดนสวรรค์ ควาญท้ายช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรเสียทีถูกข้าศึกยิงปืนกราดเข้าไปต้องกายเสียชีวิต
ฝ่ายพระเอกาทศรถ ก็ทรงชนช้างเข้าต่อสู้กับมางจาชโร ช้างพระเอกาทศรถได้ล่าง งัดงาทั้งสองจนช้างพัชเนียงของมางจางชโรซวนเซหันข้างให้จนเสียที ถูกพระเอกาทศรถฟันคอขาดสิ้นชีวิต ทันใดนั้นกลางช้างของพระองคก็สิ้นชีวิตล้มลง เพราะถูกเหล่าข้าศึกยิงปืนใส่ ลูกปืนต้องถูกอกเสียชีวิต
หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพไทยทั้งหมดก็ตามเสด็จมาทัน ไล่ล้างข้าศึกตายกลาดเกลื่อน ข้าศึกต่างขวัญหนีดีฝ่อด้วยความหวาดกลัวแตกหนีไปหมด

ตอนที่ ๑๑ พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชโองการให้สร้างสถูปสวมพระศพพระมหาอุปราชาไว้ ณ สถานที่กระทำยุทธหัตถี ตำบลตระพังตรุ ไว้เป็นอนุสรณ์แผ่นดินสืบไป และโปรดให้เจ้าเมืองมล่วน ควาญช้างของพระมหาอุปราชากลับไปแจ้งข่าวการแพ้สงคราม และการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี จากนั้นพระองค์จึงยกทัพกลับคืนกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จนายทหารที่ตามเสด็จคือ เจ้ารามราฆพ กลางช้างพระนเรศวร และขุนศรีคชคง ควาญช้างพระเอกาทศรถ ทั้งสองได้รับบำเหน็จตอบแทนด้วยเครื่องอุปโภค เครื่องใช้ เงิน ทอง ทาส และเชลยไว้รับใช้ และพระราชทานบำนาญให้แก่ นายมหานุภาพ และหมื่นภักดีศวร ซึ่งเสียชีวิตในการรบ และโปรดพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ
เมื่อการปูนบำเหน็จแก่ผู้ที่มีความชอบแล้ว ทรงรับสั่งปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองตามกฎอัยการศึก ที่ปล่อยให้พระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปอยู่ท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง การกระทำเช่นนี้ควรได้รับโทษประการใดจึงจะถูกต้องตามโบราณจารีตประเพณี ลูกขุนเชิญกฎพระอัยการศึกดู เห็นพ้องว่าต้องได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วันแรม ๑๕ ค่ำ (วันปัณรสี) จึงทรงกราบทูลงดโทษไว้ก่อน โดยกำหนดวันประหารเป็นวันพรุ่งนี้แทน ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ พ้นวันอุโบสถไปแล้ว (ปาฎิบท) ให้เร่งประหารเสีย อย่าบิดพลิ้วเคลื่อนเขตคำดำเนินบทพระอัยการไป

ตอนที่ ๑๒ สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
พอถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ เวลา ๘ นาฬิกาตรง สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว กับพระสงฆ์ชั้นราชาคณะรวม ๒๕ รูป พากันเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง พระนเรศวรรับสั่งให้นิมนต์เข้าท้องพระโรง สมเด็จพระวันรัตถวายพระพรขึ้นว่า พระมหาบพิตรทรงได้ชัยชนะศัตรู เหตุใดเหล่าราชบริพารจึงต้องโทษด้วย ได้ยินแล้วสงสัยยิ่งนักสมเด็จพระนเรศวรตอบกลับว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงเมื่อเห็นข้าศึกแล้วตกใจหวาดกลัวยิ่งกว่ากลัวพระองค์ ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องสู้รบเดียวดายท่ามกลางข้าศึก เมื่อได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะรอดพ้นจากความตายแล้ว จึงทอดพระเนตรเห็นแม่ทัพนายกองเหล่านี้ ถ้าไม่ได้ความดีจากปางก่อนแล้ว ประเทศไทยคงสิ้นอำนาจในคราวนี้ การลงโทษแม่ทัพนายกองให้ถึงตายตามกฎอัยการศึกครั้งนี้ เพื่อเป็นแบบแผนไม่ให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่างต่อไปอีกในภายภาคหน้า
สมเด็จพระวันรัต ถวายพระพรต่อว่า บรรดาข้าทูลละอองพระบาททั้งหลายล้วนมีความจงรักภักดีทั้งนั้น น่าจะผิดแลกไปจากเดิมที่ว่าข้าราชบริพารจะไม่จงรักภักดี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชนะพญามารด้วยลำพัง พระองค์เอง เช่นเดียวกับพระนเรศวร กับพระเอกาทศรถ ที่เสด็จปราบอริราชศัตรูจนพ่ายแพ้ โดยปราศจากไพร่พล ด้วยเหตุนี้พระเกียรติของพระองค์จึงเลื่องลือเป็นที่อัศจรรย์ไปทั่วหากอาศัยกำลังแล้วไซร้ แม้รบชนะจนสามารถทำลายล้างข้าศึกมอญจนราบคาบ พระเดชานุภาพคงไม่เฟื่องฟุ้ง เพิ่มพูน ให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันออกพระนามเอิกเกริกจนฟ้าดินหวั่นไหวเช่นนั้น ขอพระองค์อย่าน้อยพระทัยในราชกิจที่ทรงกระทำมาเลย เป็นด้วยเหล่าเทวดาช่วยแสดงพระเดชของพระองค์ให้เห็นเด่นชัดขึ้นในสนามรบ
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้สดับคำชี้แจงอย่างพิสดารจากสมเด็จพระวันรัตแล้ว ทรงปราบปลื้มพระทัยเผยพระโอษฐ์รับสั่งว่า ชอบแล้ว ทรงพระนมพระหัตถ์ไว้เหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) ด้วยความดีพระทัยสูงสุด ตรัสตอบไปว่า พระคุณเจ้ากล่าวคำน่าขอบใจ เพราะทุกสิ่งที่ชี้แจงล้วนสมควรและเป็นจริงไม่ชวนสงสัยเลยแม้แต่น้อย
สมเด็จพระวันรัตถวายพระพรต่อไปว่า เหล่าแม่ทัพนายกองต่างมีความผิด แต่พวกเขาเหล่านี้เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่เก่าก่อน นับตั้งแต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จนล่วงมาถึงพระองค์ เปรียบได้เหมือนพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงสืบพระพุทธศาสนา ขอพระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตไว้สักครั้งเถิด เพื่อพวกเขาจะได้เป็นผู้ส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ต่อไป พวกเขาเหล่านี้คงจะคิดแก้ตัว ด้วยเหตุผลที่ว่า คงไม่มีใครยอมตายโดยไม่คิดจะแก้ตัว
สมเด็จพระนเรศวรได้สดับข้อความที่สมเด็จพระวันรัตถวายพระพรขอโทษบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งปวงเพื่อเห็นแก่ความภักดี จึงทรงพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลขอ
สมเด็จพระนเรศวรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพนายกองพ้นโทษ และดำรงตำแหน่งยศตามเดิม ทรงมีพระราชกำหนดให้เจ้าพระยาคลัง คุมพลห้าหมื่นไปตีเมืองทวาย และให้เจ้าพระยาจักรีนำทัพห้าหมื่นไปตีเมืองตะนาวศรี และมะริด เป็นการแก้ตัว

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง

หลังจากที่เกิดการปฏิวัตจากเหล่าทหารและตำรวจเมื่อวันที่ 19 กย. 2549 แล้ว สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายหลายอย่าง ทำให้ประชาชนทั่วไปต้องมีการปรับตัวปรับความรู้สึกให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นให้ได้ มีทั้งในทางที่ดีขึ้นและเลวร้ายลง ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละบุคคลว่าจะมองไปในทางแง่มุมใด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ พอจะแยกได้เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ได้ดังนี้
-การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง
หลังจากที่มีการปฏิวัติแล้ว รัฐบาลก็เปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลทหารในทันที ถึงแม้ว่าจะมีการบอกกล่าวว่าเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจ ที่ตั้งขึ้นเพื่อจัดระเบียบด้านการเมืองใหม่ก็ตามแต่ก็มีการจัดการในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านงบประมาณ การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ตลอดจนนโยบายการเมืองและการไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดอย่างมากมาย โดยมีการกล่าวอ้างว่าเพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นใหม่ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มีการเตรียมพร้อมที่จะลงเลือกตั้งและมีการแตกตัวจากการร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลเดิม หรือฝ่ายค้าน เพื่อดูทิศทางทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น มีพรรคการเมืองที่เกิดใหม่มากขึ้น และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองกันอย่างมากมาย ทำให้เห็นถึงสัจธรรมที่ว่าไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในวงการเมืองได้อย่างแจ่มชัด ซึ่งการที่มีการร่วมมือกันระหว่างพรรคหลายๆพรรค ทำให้การเมืองของเมืองไทยขณะนี้ ไม่ค่อยมีเสถียรภาพมากเท่าไรนัก เพราะจะมีการต้องเกิดการต่อรองทางด้านตำแหน่งความสำคัญของแต่ละพรรคเกิดขึ้น ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า ไม่ค่อยมีความสามัคคีในฝ่ายรัฐบาลเท่าใดนัก มีการเสนอนโยบายที่มาจากคนละพรรค ซึ่งก็มีคนเห็นด้วยบ้าง หรือไม่ก็ถูกยกเลิกไปบ้าง ทำให้ดูเหมือนกับว่า รัฐบาลนี้ กำลังเดินไปข้างหน้าอย่างไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ถนนที่ต้องเดินผ่านไปเต็มไปด้วยปัญหามากมาย ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า รัฐบาลนี้จะสามารถประคับประคองให้อยู่รอบตลอดวาระได้หรือไม่ หรือจะมีการต้องเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นในอนาคนอันใกล้นี้
-การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
หลังจากที่เกิดการปฏิวัติ เศรษฐกิจไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดิ่งลงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลปัญหาทางด้านการเมืองที่ยังไม่สงบลง หรือจะด้วยเหตุผลที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกซึ่งทำให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนหรือคิดจะมาลงทุนไม่แน่ใจที่จะเข้ามาในเมืองไทยต่างก็พากันถอนตัวออกไปอย่างมากมาย มีการปิดตัวธุรกิจต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ตาม ทำให้เศรษฐกิจของเมืองไทยดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนตกอยู่ในภาวะตกงาน และทำให้กระแสการเงินติดขัด ถึงแม้รัฐบาลจะมีนโยบายแจกเงิน ให้ประชาชนไปเพื่อดึงให้มีการหมุนเวียนกระแสการใช้เงินมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมากนัก ตลอดจนจากนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงไว้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย เรียนฟรี นโยบายการขึ้นรถฟรี ค่าน้ำค่าไฟ ที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลเดิม ก็ยิ่งทำให้รัฐบาลขาดแคลนงบประมาณมากขึ้น เนื่องจากงบประมาณเดิมเองก็ได้หมดไปตั้งแต่ตอนที่เป็นรัฐบาลทหารแล้ว ทำให้รัฐบาลใหม่ ต้องหาเงินเพิ่มไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากต่างชาติ หรือการออกพันธบัตรขายให้แก่ประชาชนก็ตาม โดยกล่าวว่าเพื่อจะได้นำมาลงทุนสร้างงาน เพื่อที่จะได้มีงานเพิ่มขึ้น ให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะมีการหมุนเวียนได้ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งถ้าเป็นไปได้ตามที่คาดหวังนี้จริงก็จะสามารถทำให้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ทีดีขึ้นได้ แต่เมื่อดูจากสายตาจากสถาบันที่เกี่ยวของกับธุรกิจในต่างประเทศแล้ว จะเห็นได้ว่า ต่างชาติ ยังไม่วางใจมากพอที่จะเข้ามาทำธุรกิจเพิ่มเติมในไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า ขณะนี้ ทุกประเทศเองต่างก็กำลังประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ถ้าคิดจะลงทุนอะไร ก็จะต้องคิดแล้วว่า เขาจะต้องได้ประโยชน์อย่างแน่นอน แต่เนื่องจากประเทศไทยขณะนี้ สถานการณ์บ้านเมืองยังคงไม่นิ่งพอ มีกลุ่มคนที่แตกต่างทางด้านความคิดกันหลายกลุ่ม และมีการต่อต้านเกิดขึ้นอย่างมากมาย รัฐบาลเอง ต่างชาติก็มองว่ายังขาดเสถียรภาพ ไม่มั่นคง พอที่จะทำให้เชื่อถือได้ ทำให้ยังคงหวังได้ยากว่า ระบบเศรษฐกิจของเมืองไทย จะดีขึ้นในเร็ววันนี้


-การเปลี่ยนแปลงทางด้านความน่าเชื่อถือของต่างประเทศ
เมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น แน่นอนว่า ต่างชาติ ย่อมจับตามองอยู่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่า ต่างชาติ ย่อมไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับประเทศไทยในเรื่องภายในอย่างแน่นอน แต่ทว่า ในปัจจุบัน ไทยมิได้เป็นประเทศที่อยู่เพียงลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาใครหรือไม่ต้องคบหาใครได้ เหมือนเช่นในอดีต เราจึงย่อมต้องพึ่งพาและต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมโลกด้วย ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่า สังคมโลกเปลียนไปอย่างมาก การแบ่งค่ายเป็นประเทศเสรี หรือประเทศ สังคมนิยมหรือสังคมเผด็จการนั้น มีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีอิสระเสรีและให้เสรีภาพทางด้านความคิดแก่ประชาชนมากขึ้น และให้ความสำคัญกับระบบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ดังนั้น การที่เรามีเหตุการณ์ที่ดูเหมือนกับการยึดอำนาจโดยคนกลุ่มน้อยเพื่อให้กลุ่มคนที่ได้รับเลือกมาจากคนกลุ่มใหญ่ของประเทศพ้นจากการบริหารงานไปนั้น ย่อมดูไม่ดีในสายตาคนต่างชาติ อย่างแน่นอน เพราะต่างชาติย่อมจะยึดถือว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ควรจะต่อสู้กันด้วยการใช้เหตุผลมากกว่าที่จะอารมณ์หรือความรุนแรงเข้า ต่อสู้กัน ซึ่งการใช้อารมณ์หรือความรุนแรงนั้น ไม่เคยได้รับผลที่ดีพร้อม ไม่ว่าอย่างไร ก็ย่อมที่จะมีการสูญเสียเกิดขึ้นแก่คนหมู่มากเสมอ ถ้าเราเห็นหรือมองว่าใครกระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ต้องหาหลักฐานมายืนยันความผิดนั้นให้ได้ ถึงแม้ว่าในสังคมไทยนั้นจะทำได้ยากก็ตามที เพราะไม่ว่าใคร ถ้าขึ้นมามีอำนาจ ก็จะใช้อิทธิพลทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์และความปลอดภัยของตัวเองเสมอ อันแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ ของสถาบันการปกครอง สถาบันของเหล่าผู้พิทักษ์ความถูกต้องทั้งหลาย ตลอดจนความไม่เด็ดขาดของกฏหมายไทยให้ชาวต่างชาติได้เห็นมากขึ้น
ซึ่งเมื่อชาวต่างชาติได้เห็นแบบนี้ย่อมที่จะไม่มีความมั่นใจเต็มร้อยพอที่จะกล้าเข้ามาที่จะลงทุนหรือแม้แต่จะมาท่องเที่ยวซึ่งเป็นการเอาเม็ดเงินเข้ามาสู่ประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ยึดสนามบิน การไปประท้วงยึดโรงแรมที่มีการประชุมระดับประเทศ หรือการปิดถนนไม่ให้คนเดินทางไปมาได้ ต้องมีการปิดโรงเรียน หรือหยุดงาน โดยที่ฝ่ายที่มีหน้าที่ป้องกันและรักษาความปลอดภัยไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ยิ่งทำให้เห็นถึงความอ่อนแอ ขาดความมั่นคงของรัฐบาล และทำให้ต่างชาติไม่เชื่อถือในรัฐบาล ในสถานการณ์ และในกระบวนการปฏิบัติงานของข้าราชการไทยได้ ซึ่งยิ่งจะทำให้ประเทศไทยในสายตาของทั่วโลกนั้น ไม่ค่อยดีนัก และขาดน้ำหนักในการที่จะเจรจาไม่ว่าจะในเรื่องใดก็ตาม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องไปถึงระบบเศรษฐกิจของชาติไปด้วย และทำให้ความคาดหวังที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่จะมาต่างชาติก็ย่อมจะไม่มีผลไปด้วย