วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คลื่น

การจำแนกคลื่นโดยการใช้เกณฑ์การใช้ตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน สามารถจำแนกคลื่นออกได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นกล (mechanical) คลื่นชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นในเส้นเชือก
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) คลื่นชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงาน แต่ใช้การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก และสนามไฟฟ้า ในการแผ่พลังงานออกจากแหล่งกำเนิด คลื่นชนิดนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ไปได้แม้ในบริเวณที่เป็นสูญญากาศ ตัวอย่าง เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ เป็นต้น
การจำแนกคลื่นโดยใช้เกณฑ์ตามความต่อเนื่องของการให้กำเนิดคลื่น สามารถจำแนกคลื่นออกได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นดล เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดในช่วงเวลาสั้น ๆ ให้คลื่นที่แผ่ออกมาเพียง 1-2 ลูกเท่านั้น
2. คลื่นต่อเนื่อง เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นขบวนการคลื่นอย่างต่อเนื่อง
การจำแนกคลื่นโดยใช้เกณฑ์ในการสั่นของตัวกลางเทียบกับทิศทางการแผ่ หรือการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถจำแนกคลื่นออกได้ 2 ประเภท คือ
1. คลื่นตามยาว (longitudinal wave) คลื่นชนิดนี้จะมีทิศทางของการสั่นของตัวกลางอยู่ในแนวเดียวกับทิศของการแผ่ของพลังงาน ได้แก่ คลื่นเสียง
2. คลื่นตามขวาง (transverse wave) คลื่นชนิดนี้จะมีทิศทางการสั่นของตัวกลางอยู่ในแนวตั้งฉากกับทิศของการแผ่ของพลังงาน ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น