วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของบทร้อยกรอง

คำว่า ร้อยกรอง ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Poetry บางครั้งก็เรียก บทกวี หรือ กวีนิพนธ์ คำว่าร้อยกรอง เป็นคำที่สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม กำหนดขึ้นใช้เรียกวรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่งเพื่อให้เข้าคู่กับคำว่า "ร้อยแก้ว" ซึ่งเดิมบทประพันธ์ประเภทนี้ เรียกกันหลายอย่าง เช่น กลอน กาพย์ ฉันท์ กานท์ (ดนยา วงศ์ธนะชัย. 2542 : 211) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของร้อยกรองไว้หลากหลายดังนี้ คือ
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2506 : 28) ทรงอธิบายว่า ร้อยกรอง คือการเรียงถ้อยคำตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งได้แก่ มาตราฉันทลัษณ์ คำร้อยกรองเป็นส่วนประกอบของกวีนิพนธ์เท่านั้น ไม่ใช่แก่นสารของกวีนิพนธ์
- สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนวรรณ (2520 : 10) ได้อธิบายว่าร้อยกรองได้แก่ ข้อเขียนที่มีการจำกัดจำนวนคำ หรือพยางค์ จำกัดความยาว มีการกำหนดเสียงสูงต่ำ กำหนดเสียงสั้นยาว หนักเบา กำหนดสัมผัส และกำหนดจังหวะไว้อย่างแน่นอน
- ชลธิรา กลัดอยู่ (2517 : 161-162) ได้ให้ความหมายของร้อยกรอง ไว้ 2 ระดับ คือ ระดับแรก หมายถึงถ้อยคำ สำนวน ภาษาที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีบทบัญญัติ มีกฎเกณฑ์ หรือเรียกกันทั่วไปว่ามีฉันทลักษณ์ตามแบบโบราณ ระดับสองหมายถึง ถ้อยคำ สำนวน ภาษาที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีบทบัญญัติหรือฉันทลักษณ์ตามแบบที่มีมาแต่เดิม และรวมถึงฉันทลักษณ์ที่ผู้แต่งคิดขึ้นเองได้
- ส่วน พระยาอนุมานราชธน (2518 : 9) ได้ให้ความหมายของร้อยกรองว่า หมายถึง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ซึ่งมีถ้อยคำที่นำมาประกอบกัน มีขนาดมาตราเสียงสูงต่ำ หนักเบา และสั้นยาว ตามรูปแบบ (Pattern)ที่กำหนดไว้ รูปแบบที่กำหนดนี้มีมากมาย ไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะแต่ที่กำหนดไว้ในตำรา ซึ่งว่าด้วยการแต่ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หรือ ฉันทลักษณ์
- คณะกรรมการสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรมตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 กำหนดขึ้นใช้เรียกวรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่งมีกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เฉพาะแบบ เช่น กำหนดจำนวนคำ กำหนดส่งรับสัมผัสตามตำแหน่ง กำหนดจำนวนวรรค กำหนดเสียงวรรณยุกต์ กำหนดคำที่มีเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า คลุ ลหุ เป็นต้น
-พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ การสอดผูกให้ติดกัน ประดิษฐ์คำ แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ ร้อยและเย็บดอกไม้ให้เป็นรูปต่างๆ ” ซึ่งร้อยกรองเป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถในการเลือกภาษาแล้วจัดวางตำแหน่งถ้อยคำให้เหมาะสม ประกอบกับการฝึกบ่อยจนเกิดทักษะ ทั้งนี้เนื่องจากการเขียนร้อยกรองนั้นใช้คำได้เท่าที่ฉันทลักษณ์กำหนด ทั้งยังอาจเลยไปถึงการกำหนดคำตามเสียง / รูปวรรณยุกต์ และการกำหนดสัมผัสจึงเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับนักเขียนมือใหม่ แต่ขอบอกไว้ว่า เมื่อลองเขียนคำประพันธ์ชนิดใดก็ตามได้ด้วยตนเองสักบทหนึ่ง จะพบว่าร้อยกรองเป็นเรื่องไม่ยากและงดงามกว่า ให้ความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าการเขียนร้อยแก้วมากมายนัก
สรุปได้ว่า ร้อยกรอง คือ งานเขียนที่ผสมผสานระหว่างแนวความคิด และศิลปการใช้คำ ตามแบบวิธีฉันทลักษณ์โบราณ หรือ อาจคิดขึ้นใหม่ก็ได้
องค์ประกอบของร้อยกรอง
องค์ประกอบของร้อยกรองของไทยโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งร้อยกรองแบบเก่าและร้อยกรองปัจจุบัน (ยกเว้นกลอนเปล่า อาจไม่เคร่งครัดทางด้านองค์ประกอบบางประเภท เช่น ฉันทลักษณ์ เป็นต้น) ก็ยังคงใช้อยู่ ซึ่ง มีองค์ประกอบสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ
1) ฉันลักษณ์หรือลักษณะบังคับ โดยทั่วไป มี 9 ชนิด ดังนี้
1.1) คณะ หมายถึง การจัดหมวดหมู่ของคำประพันธ์ร้อยกรองทุกประเภท ว่าบทหนึ่งจะประกอบด้วย บท วรรค ตอน หรือคำอยางไร เช่น กาพย์ยานี 11 กำหนดคณะไว้ว่า 1 บท จะมี 2 บาท แต่ละบาทจะประกอบด้วย 2 วรรค วรรคแรกจะต้องมี 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ ดังนี้เป็นต้น
1.2) สัมผัส หมายถึง ความคล้องจองตามกฎเกณฑ์ที่บังคับไว้ในคำประพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1.2.1) สัมผัสสระ คือ สระพ้องกันตามมาตราแม้เสียงวรรณยุกต์จะต่างกันก็ตาม เช่น ใคร-ไป-นัยน์-ใหม่-ใกล้ เป็นต้น
1.2.2) สัมผัสอักษร คือ ใช้เสียงตัวอักษรพ้องกัน ไม่กำหนดเสียงสระ หรือเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ เช่น เขา-ขัน, คู-ค่ำ เป็นต้น
1.2.3) สัมผัสนอก คือ สัมผัสที่ส่งและรับสัมผัสกันนอกวรรคออกไป คือ ส่งจากคำสุดท้ายของวรรคหน้าไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคต่อ ๆ ไป สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสบังคับในร้อยกรองทุกประเภทจะไม่มีไม่ได้ และกำหนดให้ใช้แต่ สัมผัสสระเท่านั้น
1.2.4) สัมผัสใน คือ สัมผัสที่ส่งและรับภายในวรรคเดียวกัน ไม่เป็นสัมผัสบังคับ และจะใช้สัมผัสสระหรือพยัญชนะก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
1.3) คำครุ คำลหุ คือ คำที่บังคับใช้ในการแต่งฉันท์ ซึ่งมีบังคับแจกแจงต่างกันออกไป โดยใช้เครื่องหมายเป็นเครื่องบอกคือ คำครุ ใช้เครื่องหมาย ั แทน และคำลหุ ใช้เครื่องหมาย ุ แทน
1.4) คำเอก คำโท คือ คำที่บังคับใช้ในการแต่งโคลงและร่าย คำเอก ได้แก่ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด ๆ ส่วนคำโท ได้แก่ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โท
1.5) คำเป็น คำตาย คือ คำที่ใช้การแต่งโคลง ร่าย และร้อยกรอง ที่เป็นกลบท เช่น กลอนกลบทที่มีคำตายล้วน เป็นต้น คำเป็น ได้แก่ คำที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว รวมทั้งคำที่ประกอบด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ส่วนคำตาย ได้แก่คำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา (ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา) และตัวสะกดในแม่ กก กด กบ
1.6) เสียงวรรณยุกต์ คือข้อกำหนดที่บังคับใช้ในการแต่งกลอนโดยถือเรื่องเสียงวรรณยุกต์ เป็นสำคัญ ได้แก่ เสียงสามัญ, เอก, โท, ตรี และ จัตวา เป็นต้น
1.7) พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ว่าจะสั้นยาวอย่างไร จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ในการแต่งร้อยกรองจะถือว่าพยางค์ก็คือคำนั่นเอง
1.8) คำขึ้นต้นและคำลงท้าย คือ คำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น หรือ คำที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท ท้ายบท ซึ่งอาจจะใช้เป็นคำเดียว หลายคำ หรือวลีก็ได้ เช่น คำว่า "สักวา" "เมื่อนั้น, บัดนั้น" "คนเอ๋ยคนดี" หรือลงท้ายว่า "เอย" เป็นต้น
1.9) คำสร้อย คือคำที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทเพื่อความไพเพราะ หรือเพื่อให้ครบจำนวนคำตามลักษณะบังคับ บางแห่งก็ใช้เป็นคำถามหรือใช้ย้ำความ คำสร้อยนี้มักจะใช้เฉพาะโคลงกับร่าย และมักจะเป็นคำเป็น เช่น พ่อ แม่ พี่ เทอญ นา ฤา แล ฮา แฮ เป็นต้น
2) เนื้อหาและแนวความคิด
บทร้อยกรองปัจจุบันจะเสนอเนื้อหา หรือแนวความคิดเดียวในร้อยกรองเรื่องหนึ่ง ๆ เช่น ความรัก ธรรมชาติ อารมณ์ ความคิดฝัน หรือสิ่งประทับใจของผู้ประพันธ์ สังคม เป็นต้น เพื่อที่จะสื่อสารกับผู้อ่าน อาจเป็นความคิดหรือเนื้อหาอย่างตรงไปตรงมา หรือความคิดที่แยบคาย ซ่อนเร้นแปลกใหม่ ตามความสามารถของผู้ประพันธ์
3) แนวการเขียนบทร้อยกรองมีดังนี้
1. ศึกษาฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์นั้น ๆ ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
2. คิดหรือจินตนาการว่าจะเขียนเรื่องอะไร สร้างภาพให้เกิดขึ้นในห้วงความคิด
3. ลำดับภาพหรือลำดับข้อความให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
4. ถ่ายทอดความรู้สึกหรือจินตนาการนั้นเป็นบทร้อยกรอง
5. เลือกใช้คำที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์และจินตนาการร่วมกับผู้ประพันธ์
6. พยายามเลือกใช้คำที่ไพเราะ เช่น คิด ใช้ว่า ถวิล เรื่อง ใช้คำว่า ระบิล
7. แต่งให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์
ประเภทของร้อยกรอง
คำประพันธ์ที่อยู่ในตำราฉันทลักษณ์ยังมีอีกมาก จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๕ ประเภท คือ
1. กาพย์ แบ่งเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้
2. กลอน แบ่งเป็น กลอนแปดและกลอนหก ซึ่งจัดเป็นกลอนสุภาพ และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก คือ ดอกสร้อย สักวา เพลงยาว เสภา นิราศ กลอนบทละคร กลอนเพลงพื้นเมืองและกลอนกลบทต่าง ๆ
3. โคลง แบ่งเป็น โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ ซึ่งอาจแต่งเป็นโคลงสุภาพหรือโคลงดั้นก็ได้ นอกจากเป็นโคลงธรรมดาแล้ว ยังแต่งเป็นโคลงกระท ู้ และโคลงกลอักษรได้อีกหลายแบบ
4. ฉันท์ แบ่งเป็นหลายชนิดเ ช่น วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงค์ประยาตฉันท์ อีทิสังฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สาลินีฉันท์ ฯลฯ ล้วนแต่มี ชื่อไพเราะ ๆ ทั้งนั้น
5. ร่าย แบ่งเป็นร่ายสั้นและร่ายยาว ร่ายสั้นนั้นมีทั้งร่ายสุภาพและร่ายดั้น


การแต่งร้อยกรองให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์เป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนี้มีการแต่งร้อยกรองแนวใหม่ ๆ เกิดขึ้นผู้ประพันธ์พอใจที่จะแต่งอย่างอิสระ ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์ตายตัว เช่น เขียนร้อยกรองปลอดสัมผัส คือไม่ต้องมีสัมผัสบังคับตามแบบ ร้อยกรองวรรณรูป คือ เรียบเรียงถ้อยคำเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ตามความพอใจของผู้ประพันธ์ และร้อยกรองที่ผู้ประพันธ์คิดรูปแบบขึ้นใหม่
จุดมุ่งหมายของร้อยกรอง
๑. เพื่ออธิบาย เป็นการอธิบายแจกแจง อธิบายวิธีใช้ วิธีทำให้ผู้อ่านเข้าใจ
๒. เพื่อเล่าเรื่อง เป็นการนำเอาเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นลำดับอยู่แล้ว มาถ่ายทอดเป็นงานเขียน
๓. เพื่อโฆษณาจูงใจ การเขียนประเภทนี้ต้องใช้ภาษาที่น่าสนใจ มีความสละสลวย มีแง่คิด สะดุดใจ และไม่เป็นการทับถมผู้อื่น
๔. เพื่อปลุกใจ เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความรู้สึกอึกเหิม เข้มแข็ง
๕. เพื่อสร้างจิตนาการ เป็นการเขียนเพื่อต้องกการให้ผู้อ่านเห็นภาพ เกิดจินตนาการตามที่กล่าวถึง หรือเกิดความรู้สึกคล้อยตามกับผู้เขียน
๖. เพื่อล้อเลียนเสียดสี เป็นการเขียนเพื่อต้องการตำหนิสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ใช้วิธีตำหนิแบบทีเล่นทีจริงไม่รุนแรง และมีการแทรกอารมณ์ขันไว้ด้วย
๗. เพื่อแสดงความคิดเห็น เป็นการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ หรือแนะนำการเขียนดังกล่าวนี้ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริง มีหลักเกณฑ์
๘. เพื่อบอกให้ทราบข้อเท็จจริง
ประโยชน์ของร้อยกรอง
ประโยชน์ของบทร้อยกรองมีมากมายแล้วแต่ว่าผู้อ่านแต่ละคนนั้นจะพิจารณาจากแง่มุมใดของบทประพันธ์นั้นๆคือ
1. เนื้อหา เนื้อหาในบทร้อยกรองนั้นมีหลากหลาย ในการพิจารณาระดับง่ายที่สุด คือ ดูว่าเรื่องนั้นเป้นไปในทำนองใด สร้างสรรค์ ยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้น สะท้อนสังคม แสดงแง่คิด ปรัชญาต่าง ๆ ทำให้รู้จักชีวิตและโลกกว้างขึ้น รู้วิธีในการอยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรือเป็นเรื่องมอมเมาชักจูงจิตใจของผู้อ่านให้ต่ำลง ดังนั้นเมื่ออ่านแล้วควรตอบตัวเองให้ได้ว่า รู้สึกอย่างไรต่อเนื้อหาในบทร้อยกรองเรื่องนั้น ๆ มีคุณค่า ให้ประโยชน์ ความรู้ ความคิด หรือให้
ความเพลิดเพลินนอกจากนี้จะต้องอาศัยความรู้จากการวิจารณ์สารคดีและบันเทิงคดีที่กล่าวมาแล้วเป็นแนวทางประกอบ ถ้าเป็นเรื่องเล่า ก็ดำเนินการวิจารณ์เหมือนประเภทบันเทิงคดีดังกล่าวมาแล้วในบทก่อน ถ้าเป็นร้อยกรองประเภทที่แสดงแนวคิดก็ใช้วิธีการเดียวกันกับการวิจารณ์บทความประเภทแสดงความคิดเห็นเข้ามาประกอบด้วย

2. ความคิดของผู้ประพันธ์ บทร้อยกรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทร้อยกรองร่วมสมัยหรือบทร้อยกรองปัจจุบัน ผู้แต่งจะแสดงทรรศนะแฝงไว้ ในปัจจุบันนิยมกันว่าร้อยกรองที่ดีควรเสนอความคิดที่ดีให้แก่ผู้อ่านด้วยผู้ที่วิจารณ์วรรณกรรมร้อยกรองจึงต้องอาศัยความชำนาญในการอ่านแบบต่าง ๆเช่น การอ่านตีความเพื่อพินิจว่าบทร้อยกรองนั้นให้ทรรศนะในเรื่องใดและทรรศนะนั้นมีว่าอย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นทรรศนะอย่างชัดเจนแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงความเห็นของตนว่า ทรรศนะของกวีนั้นถูกต้องหรือไม่
3. ศิลปะการประพันธ์ ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมร้อยกรองนั้นมักจะเป็น
ภาษาที่ไพเราะ สามารถโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านทำให้เกิดจินตนาการและมโนภาพ ผู้ประพันธ์จะต้องเลือกกรองถ้อยคำหรือสำนวนโวหารมาร้อยเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม เพราะนอกจากบทร้อยกรองจะมีเนื้อหาสาระและความคิดที่ดีแล้วยังต้องมีศิลปะการประพันธ์ หรือวรรณศิลป์ หรือเรียกว่าแง่งามของบทร้อยกรองอีกด้วยซึ่งพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
3.1 เสียงเสนาะ การแต่งบทร้อยกรองไม่ได้มุ่งหมายความไพเราะ
เท่านั้น ยังต้องนึกถึงความไพเราะแก่ผู้ฟัง นั้นคือต้องมีเสียงสัมผัสทั้งสระและตัวอักษร เสียงวรรณยุกต์ มีการเลียนแบบเสียงธรรมชาติ เป็นต้น
3.1.1 การใช้สัมผัส

รอนรอน สุริยะโอ้ อัสดง
เรื่อยเรื่อย ลับเมรุลง ค่ำแล้ว
รอนรอน จิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่
เรื่อยเรื่อย เรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว
( กาพย์เห่เรือ : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ )
คำประพันธ์นอกจากไพเราะด้วยเสียงสัมผัสบังคับแล้วยังเพิ่มความไพเราะด้วยเสียงสัมผัสในได้แก่ คำว่า โอ้-อัส, ลง-แล้ว,นง-นุชและเล่นคำว่า รอนรอน-เรื่อยเรื่อย ซึ่งเป็นคำสัมผัส “ ร ” ทั้งหมด นอกจากนี้จะได้เสียงสัมผัสและยังแสดงความรู้สึกโศกเศร้าได้อย่างชัดเจน คำว่า รอนรอน
ทำให้เห็นภาพดวงอาทิตย์กำลังจะตกเหมือนหัวใจที่รอนรอน เรื่อยเรื่อย แสดงอาการดวงอาทิตย์กำลังจะลับลงช้า ๆ เช่นเดียวกับการรอคอยที่ยาวนาน



3.1.2 การเล่นสัมผัส
“…พลางพระดูดงเฌอ พิศพุ่มเสมอเหมือนฉัตร เป็นขนัดเนืองนันต์ หลายเหล่าพรรณพฤกษา มีนานาไม้แมก หมู่ตระแบกกระบาก มากรวกโรกรักรังรง ปริกปริงปรงปรางปรู ลำแพนลำพูลำพัน…”
( ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมรเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส )
คำประพันธ์ข้างต้นนี้แสดงให้เห็นการเล่นสัมผัสพยัญชนะในแต่ละวรรคมีคำที่เสียงคล้องจองทำให้เกิดเสียงที่กลมกลืนกัน เช่น พลาง-พระพิศ-พุ่ม,เนือง-นันต์,พรรณ-พฤกษา,สมอ-สมี-แสม,ม่วง-โมก,ซาก-ซึก, โศก-สน-สัก รวก-โรก-รัก-รัง-รง, ปริก-ปริง-ปรง-ปราง-ปรู,แพน-พู-พัน เป็นต้น

3.1.2 การเล่นคำ

แก้วเกาะกิ่งแก้วก่อง กานน
เสียงพูดภาษาคน คล่องแจ้ว
โผผินโบกบินบน ไปบอก หน่อยรา
ข่าวส่งตรงสู่แก้ว เนตรผุ้ดูถวิล
( สามกรุง : น.ม.ส. )
จากคำประพันธ์ข้างต้นเล่นคำว่า “แก้ว” คำว่าแก้วในคำแรกหมายถึงนกแก้ว แก้วในคำที่สองเป็นชื่อต้นไม่ และแก้วในคำสุดท้ายหมายถึงนางอันเป็นที่รักดังดวงตา
รูปแบบของร้อยกรอง
กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้
กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ
๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์
๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า "คำฉันท์" เหมือนกัน
กาพย์ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ ชนิด คือ
๑. กาพย์ยานี ๒. กาพย์ฉบัง ๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๔. กาพย์ห่อโคลง ๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง
กาพย์ ๓ ชนิดข้างต้น ใช้เทียบเคียง แต่งปนไปกับฉันท์ได้ และเพราะเหตุที่ มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ และแต่งปนไปกับฉันท์ได้ จึงเรียกว่า คำฉันท์ด้วย
๑. กาพย์ยานี ๑๑ kaapyaanii 11







๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ kaap chabang 16



๓. กาพย์สุรางคนางค์ kaap suraangkhanaang
กาพย์สุรางคนางค์ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ ดังมีลักษณะต่อไปนี้ ๓.๑ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ kaapsuraangkhanaang 28






๓.๒ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ kaapsuraangkhanaang 32



๔. กาพย์ห่อโคลง
กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อของบทประพันธ์ ที่แต่งขึ้น โดยใช้กาพย์ยานี สลับกับ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี กับ โคลงสี่สุภาพนั้น จะต้องมีความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่หนึ่ง ของกาพย์ยานี กับบาทที่หนึ่ง ของโคลงสี่สุภาพ บรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน หรือบางที ก็ให้คำต้นวรรค ของกาพย์ กับคำต้นบท ของโคลง เป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติ หรือกฏข้อบังคับต่างๆ เหมือนกับ กฏของกาพย์ยานี และโคลงสี่สุภาพ ทั้งสิ้น ลักษณะการแต่งกาพย์ห่อโคลง แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ ๑.แต่งกาพย์ยานีหนึ่งบท แล้วแต่งโคลงสี่สุภาพ ซึ่งมีเนื้อความเช่นเดียว กับกาพย์ยานี หนึ่งบท สลับกันไป ชนิดนี้ มักแต่งเป็นเรื่องสั้นๆ เป็นเชิงประกวดฝีปาก หรือสำนวน อย่างแต่งโคลงกระทู้ หรือกลอนกลบท ดังตัวอย่าง เช่น


๒.เหมือนชนิดที่ ๑ แต่กลับกันคือเอาโคลงไว้หน้า เอากาพย์ไว้หลังเรียงสลับกันไป ๓.แต่งโคลงบทหนึ่ง แล้วแต่งกาพย์ พรรณาข้อความยืดยาว จนสุดกระแสความ ตามจุใจ จะแต่งกาพย์ ยาวสักกี่บท ก็ได้ แต่ต้องให้บทต้น มีเนื้อความ เช่นเดียวกับโคลง ส่วนบทต่อๆ ไป จะขยายความรำพัน ให้พิศดารอย่างไรก็ได้ ชนิดที่ ๓ นี้ มักนิยมแต่ง เป็นบทเห่เรือ จึงเรียกชื่อ อีกอย่างหนึ่งว่า กาพย์เห่เรือ ตัวอย่างเช่น

๕. กาพย์ขับไม้ห่อโคลง kaap khapmayh@@khloong







กลอน คือลักษณะคำประพันธ์ ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ มีสัมผัสกันตามลักษณะบัญญัติ เป็นชนิดๆ แต่ไม่มีบังคับ เอกโท และครุลหุ กลอนแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ กลอนสุภาพ กลอนลำนำ และกลอนตลาด
กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑. กลอน ๖ ๒. กลอน ๗ ๓. กลอน ๘ ๔. กลอน ๙
กลอนสุภาพ นับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่าย กลอนอื่นๆ ที่มีชื่อเรียกไปต่างๆ นั้น ล้วนแต่ยักเยื้อง แบบวิธี ไปจากกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นกลอนหลัก ทั้งสิ้น

กลอนลำนำ คือกลอนที่ใช้ขับร้อง หรือสวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ
๑. กลอนบทละคร ๒. กลอนสักวา ๓. กลอนเสภา ๔. กลอนดอกสร้อย ๕. กลอนขับร้อง
กลอนตลาด คือกลอนผสม หรือกลอนคละ ไม่กำหนดคำตายตัว เหมือนกลอนสุภาพ ในกลอนบทหนึ่ง อาจมีวรรคละ ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้าง คือเอากลอนสุภาพ หลายชนิด มาผสมกัน นั่นเอง เป็นกลอนที่ นิยมใช้ ในการขับร้องแก้กัน ทั่วๆ ไป จึงเรียกว่า กลอนตลาด แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. กลอนเพลงยาว ๒. กลอนนิราศ ๓. กลอนนิยาย ๔. กลอนเพลงปฏิพากย์
กลอนเพลงปฏิพากย์ ยังแบ่งออกไปอีกหลายชนิด คือ
เพลงฉ่อย
เพลงโคราช หรือเพลงตะวันออก
เพลงเรือ
เพลงชาวไร่
เพลงชาวนา
เพลงแห่นาค
เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน)
เพลงเกี่ยวข้าว
เพลงปรบไก่
เพลงพวงมาลัย
เพลงรำอีแซว หรือเพลงอีแซว
เพลงลิเก
เพลงลำตัด
ฯลฯ

บทของกลอน
คำกลอนวรรคหนึ่ง เรียกว่า กลอนหนึ่ง สองวรรค หรือสองกลอน เรียกว่า บาทหนึ่ง หรือคำหนึ่ง สองคำ หรือสองบาท หรือสี่วรรค หรือสี่กลอน เรียกว่า บทหนี่ง วรรคทั้งสี่ของกลอน ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กัน และนิยมใช้เสียงต่างๆ กันอีก คือ
๑. กลอนสลับ ได้แก่ กลอนวรรคต้น คำสุดท้าย ใช้คำเต้น คือนอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้ ก็ไม่ห้าม
๒. กลอนรับ ได้แก่ กลอนวรรคที่สอง คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงโท, สามัญ, ตรี, และวรรณยุกต์เอกมีรูป วรรณยุกต์เอกไม่มีรูป ไม่ห้าม แต่ต้องให้คำสุดท้าย ของกลอนรอง เป็นเสียงตรี
๓. กลอนรอง ได้แก่ กลอนวรรคที่สาม คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๔. กลอนส่ง ได้แก่ กลอนวรรคที่สี่ คำสุดท้าย นิยมใช้ เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรี บ้างก็ได้
บาทของกลอน
คำกลอนนั้น นับ ๒ วรรคเป็น ๑ บาท ตามธรรมดา กลอนบทหนึ่ง จะต้องมีอย่างน้อย ๒ บาท (เว้นไว้แต่กลอนเพลงยาว หรือกลอนนิราศ ซึ่งนิยมใช้บทแรก ที่ขึ้นต้นเรื่อง เพียง ๓ วรรค) บาทแรก เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท คำกลอนจะยาวเท่าไรก็ตาม คงเรียกชื่อว่า บาทเอก บาทโท สลับกันไปจนจบ และต้องจบลง ด้วยบาทโทเสมอ เช่น
นิราศเรื่องหัวหินก็สิ้นสุด เพราะจากบุตรภรรยามากำสรวล (บาทเอก)
เมื่ออยู่เดียวเปลี่ยวกายใจคร่ำครวญ ก็ชักชวนให้คิดประดิษฐ์กลอน (บาทโท)
ใช้ชำนาญการกวีเช่นศรีปราชญ์ เขียนนิราศก็เพราะรักเชิงอักษร (บาทเอก)
บันทึกเรื่องที่เห็นเป็นตอนตอน ให้สมรมิตรอ่านเป็นขวัญตา (บาทโท)
มิใช่สารคดีมีประโยชน์ จึงมีโอดมีครวญรัญจวนหา (บาทเอก)
ตามแบบแผนบรรพกาลโบราณมา เป็นสาราเรื่องพรากจากอนงค์ (บาทโท)
-จากนิราศหัวหิน-
หลักนิยมทั่วไปของกลอน
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๒ ก็ดี คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ ก็ดี ไม่ควรใช้คำ ที่มีเสียงเหมือนกัน หรือคำที่ใช้สระ และตัวสะกด ในมาตราเดียวกัน เช่น
ก. ในไพรสณฑ์พรั่งพรึบด้วยพฤกษา แนววนาน่ารักด้วยปักษา
ข. เขาเดินทุ่งมุ่งลัดตัดมรรคา มั่นหมายมาเพื่อยับยั้งเคหา
ค. เห็นนกน้อยแนบคู่คิดถึงน้อง มันจับจ้องมองตรงส่งเสียงร้อง
๒. คำที่รับสัมผัส ในวรรคที่ ๒ และที่ ๔ ควรให้ตำแหน่งสัมผัส ตกอยู่ที่พยางค์สุดท้าย ของคำ ไม่ควรให้สัมผัสลงที่ต้นคำ หรือกลางคำ ยิ่งเป็นกลอนขับร้อง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้เสียความ ในเวลาขับร้อง เช่น
สดับถ้อยสุนทรนอนดำริ จนสุริยาแจ้งแจ่มเวหา
๓. คำสุดท้ายของวรรค ควรใช้คำเต็ม ไม่ควรใช้ครึ่งคำ หรือยัติภังค์ เว้นไว้แต่ แต่งเป็น กลบทยัติภังค์ หรือเป็น โคลง, ฉันท์ และกาพย์ เช่น
อันถ้อยคำของท่านนั้นเป็นสา มานย์วาจาฟังไปไม่เกิดหรร
ษารมณ์เลยสักนิดเพราะผิดจรร ยาทั้งนั้นไร้ศีลฉันสิ้นอา(วรณ์)
การแยกคำออกใช้คนละครึ่ง ในระหว่างวรรค เช่นนี้ไม่ควรใช้
๔. ไม่ควรใช้ภาษาอื่น ที่ยังมิได้รับรอง มาใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย เช่น
โอไมเดียร ดาริ่งมิ่งสมร บิวตี้ฟูลสุนทรหฤหรรษ์
แม่ชื่นจิตสวิตฮารตจะคลาดกัน ใจป่วนปั่นหันเหเซกู๊ดบาย
ส่วนคำบาลี และสันสกฤตใช้ได้ เพราะเรารับมาใช้ เป็นส่วนหนึ่ง แห่งภาษาไทย แต่ถึงกระนั้น ก็ต้องแปลงรูปคำเสียก่อน จะนำมาใช้ทั้งดุ้นไม่ได้
๕. ไม่ควรใช้ "ภาษาแสลงโสต" คือถ้อยคำที่พูดด้วยความตลกคะนอง หยาบโลน หรือเปรียบเทียบ กับของหยาบ ซึ่งใช้กันอยู่ ในกลุ่มคนส่วนน้อย และรู้กัน แต่เฉพาะในวงแคบๆ เช่น คำว่า ม่องเท่ง, จำหนับ, จ้ำบ๊ะ, ตั้กฉึ้ก, ถังแตก, ยกล้อ ฯลฯ


โคลง
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ สุภาพ
๒. โคลง ๓ สุภาพ
๓. โคลง ๔ สุภาพ
๔. โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ
๕. โคลง ๕ หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
๖. โคลง ๔ จัตวาทัณฑี
๗. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ
๑. โคลง ๒ ดั้น
๒. โคลง ๓ ดั้น
๓. โคลงดั้นวิวิธมาลี
๔. โคลงดั้นบาทกุญชร
๕. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
๖. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ ๑๕ กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ ๘ ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้ แบ่งออกเป็น ๘ ชนิด คือ
๑. โคลงวิชชุมาลี
๒. โคลงมหาวิชชุมาลี
๓. โคลงจิตรลดา
๔. โคลงมหาจิตรลดา
๕. โคลงสินธุมาลี
๖. โคลงมหาสินธุมาลี
๗. โคลงนันททายี
๘. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ๖ อย่าง คือ
๑. คณะ
๒. พยางค์
๓. สัมผัส
๔. เอกโท
๕. คำเป็นคำตาย
๖. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น ๒ อย่าง คือ
๑.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
๒.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์


โคลงสุภาพ Khloong Suphaap
โคลง ๒ สุภาพ Khloong 2 Suphaap
แผน:



โคลง ๓ สุภาพ Khloong 3 Suphaap
แผน:











โคลง ๔ สุภาพ Khloong 4 Suphaap
แผน:





โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ Khloong 4 Triiphitthaphan แผน:



โคลง ๕ (โคลงมณฑกคติ) Khloong 5
โคลง ๕ (โคลงมณฑกคติ) เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยเพียงเรื่องเดียวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระโหราธิบดีได้กล่าวึงลักษณะของชนิดโคลงนี้ไว้ในหนังสือจินดามณีว่า ประกอบด้วย วรรคหรือบาทละ ๕ คำ บังคับเอกโท เช่นเดียวกับโคลงทั่วไป แต่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้ และบอกไม่ได้ ว่ามีการวางรูปแบบเป็นอย่างไร
ตัวอย่าง:
แลมีค่ำมิ่วนน กินสาลีเปลือกปล้อน บมีผู้ต้อนแต่ง บรรณาฯ
เลือกผู้ยิ่งยศสา เปนราชาอคร้าว เรียกนามสมมตจ้าว จึ่งต้องท้าวเจ้าแผ่นดินฯ
-จาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ-
โคลง ๔ จัตวาทัณฑี Khloong 4 Cattawaathanthii
แผน:



โคลงกระทู้ Khloong Krathuu
๑. กระทู้เดี่ยว หรือกระทู้คำเดียว หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำทั้งหมดอยู่ ๔ คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละคำ
ตัวอย่าง:

๒.กระทู้สองหมายความว่ากระทู้นั้นมีคำอยู่ทั้งหมด ๘ คำแต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้าบาทละ ๒ คำ
ตัวอย่าง:

๓.กระทู้สาม หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำอยู่ทั้งหมด ๑๒ คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ ๓ คำ
ตัวอย่าง:

๔.กระทู้สี่ หมายความว่ากระทู้นั้นมีคำอยู่ทั้งหมด ๑๖ คำแต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้าบาทละ ๔ คำ
ตัวอย่าง:

ฉันท์
ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน
ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ซึ่งในภาษาเดิมของเขา หามีไม่ ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ
ฉันท์ใด กำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น ๑ มาตรา คำครุ นับเป็น ๒ มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง ๑๐๘ ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลง เอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดี เท่านั้น ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทย เป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตราพฤติ ไม่ใคร่จะนิยมแต่ง เพราะจังหวะ และทำนองที่อ่านในภาษาไทย ไม่สู้จะไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤติ ที่ท่านแปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมแต่งกันทั้งหมด เท่าที่สังเกตดู ในคำฉันท์เก่าๆ มักนิยมแต่งกันอยู่เพียง ๖ ฉันท์เท่านั้น คือ
- อินทรวิเชียรฉันท์
- โตฎกฉันท์
- วสันตดิลกฉันท์
- มาลินีฉันท์
- สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
- สัทธราฉันท์
แต่ท่านมักแต่งกาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ปนไปกับฉันท์ด้วย และคงเรียกว่า คำฉันท์เหมือนกัน
เหตุที่โบราณนิยมแต่งเฉพาะ ๖ ฉันท์ คงเป็นเพราะฉันท์ทั้ง ๖ นั้น สามารถจะแต่งเป็นภาษาไทยได้ไพเราะกว่าฉันท์อื่นๆ และท่านมักนิยมเลือกฉันท์ ให้เหมาะกับบทของท้องเรื่อง เป็นตอนๆ เช่น บทไหว้ครู นิยมใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือ สัทธราฉันท์ บทชมหรือบทคร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกฉันท์ บทสำแดงอิทธิฤทธิ์หรืออัศจรรย์ นิยมใช้ โตฎกฉันท์ (แต่คำฉันท์เก่าๆไม่ใคร่นิยมใช้ โตฎกฉันท์) บทดำเนินความยาวๆ ในท้องเรื่อง นิยมใช้ กาพย์ฉบัง หรือ กาพย์สุรางคนางค์ ในปัจจุบันนี้นิยมแต่งภุชงคประยาตฉันท์ เพิ่มขึ้นอีกฉันหนึ่ง และมักใช้แต่ง ในตอนพรรณนาโวหารหรือ ข้อความที่น่าตื่นเต้น การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่บ่งไว้ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่บัดนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้องเป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะ ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี ใช้เป็นลหุได้ แต่บัดนี้คำที่ประสมด้วยสระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่า เป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย ฉันท์ทั้ง ๒๕ ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน ดังจะได้อธิบาย ต่อไปนี้
๑.จิตรปทาฉันท์ ๘
๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘
๓. มาณวกฉันท์ ๘
๔. ปมาณิกฉันท์ ๘
๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑
๙. สาลินีฉันท์ ๑๑
๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒
๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒
๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
๑๕. กมลฉันท์ ๑๒
๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕
๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕
๑๙. วาณินีฉันท์ ๑๖
๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐
๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑

๑. จิตรปทาฉันท์ ๘ cittapathaachan 8

ตัวอย่าง:

๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘ witchumaalaachan 8

ตัวอย่าง:

๓. มาณวกฉันท์ ๘ maanawakkachan 8

ตัวอย่าง:




๔. ปมาณิกฉันท์ ๘ pamanikkachan 8

ตัวอย่าง:

๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ upatthitaachan 11

ตัวอย่าง:


๖. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ intharawichianchan 11

ตัวอย่าง:


๗. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ upeenthrawichianchan 11

ตัวอย่าง:


๘. อุปชาติฉันท์ ๑๑ upachaatchan 11

ตัวอย่าง:


๙. สาลินีฉันท์ ๑๑ saaliniichan 11

ตัวอย่าง:


๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑ akhayaattachan 11

ตัวอย่าง:



๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ wangsatthachan 12

ตัวอย่าง:


๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒ inthawongchan 12

ตัวอย่าง:



๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒ toodokkachan 12

ตัวอย่าง:


๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ phuchongkhapayaatchan 12

ตัวอย่าง:



๑๕. กมลฉันท์ ๑๒ kammalachan 12

ตัวอย่าง:


๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ wasantadilokchan 14

ตัวอย่าง:

๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕ maaliniichan 15

ตัวอย่าง:


๑๘. ประภัททกฉันท์ ๑๕ prapatthakachan 15

ตัวอย่าง:


๙๑. วาณินีฉันท์ ๑๖ waniniichan 16

ตัวอย่าง:






๒๐. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘ kusumittaladawellitachan 18

ตัวอย่าง:


๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙ mekkhawipaphutchitachan 19

ตัวอย่าง:


๒๒. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ satthunlawikkiilitachan 19

ตัวอย่าง:






๒๓. อีทิสฉันท์ ๒๐ iithisachan 20

ตัวอย่าง:


๒๔. สัทธราฉันท์ ๒๑ satthraachan 21

ตัวอย่าง:


ร่าย
ร่าย เป็น ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)
ร่าย คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด, และมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก, เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง

กำเนิดและวิวิฒนาการ

พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เชื่อว่า ร่ายเป็นของไทยแท้, มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง. ด้วยปรากฏหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีสุโขทัย คือ สุภาษิตพระร่วง, และต่อมาจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวรรณคดีอยุธยา เรื่อง โองการแช่งน้ำ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เชื่อว่า ร่ายเป็นของไทยแท้ เพราะคนไทยนิยมพูดเป็นสัมผัสคล้องจอง, ดังปรากฏประโยคคล้องจองในสำนวนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง กาพย์พระมุนีเดินดงของภาคเหนือ และคำแอ่วของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นอกจากนี้ยังได้สันนิษฐานว่า คำว่า ร่าย ตัดมาจาก ร่ายมนต์, สังเกตจากโองการแช่งน้ำที่มีร่ายดั้นปรากฏเป็นเรื่องแรก และมีเนื้อหาเป็นคำประกาศในการดื่มน้ำสาบาน
วิวัฒนาการของร่ายน่าจะเริ่มจากสำนวนคล้องจองในศิลาจารึกและความนิยมพูดคล้องจองของคนไทยแต่โบราณ ในบทที่พระภิกษุใช้เทศนาก็ปรากฏลักษณะการคล้องจองอยู่, เป็นการรับส่งสัมผัสจากวรรคหน้าไปยังวรรคถัดไป โดยไม่ได้กำหนดความสั้นยาวของพยางค์อย่างตายตัว, ซึ่งลักษณะนี้ใกล้เคียงกับร่ายประเภท "ร่ายยาว" มากที่สุด จึงมีการสันนิษฐานว่า ร่ายยาวเป็นร่ายที่เกิดขึ้นในอันดับแรกสุด, ต่อมาจึงเกิดร่ายประเภท "ร่ายโบราณ" ซึ่งกำหนดจำนวนพยางค์และจุดสัมผัมคล้องจองตายตัว, และตามมาว่าด้วย "ร่ายดั้น" ซึ่งมีการประยุกต์กฎเกณฑ์ของโคลงดั้นเข้ามา, อันดับสุดท้ายจึงเกิด "ร่ายสุภาพ"ซึ่งมีการประยุกต์ของกฎเกณฑ์กลอนสุภาพเข้ามา

ร่ายมีสี่ประเภท เรียงลำดับตามการกำเนิดจากก่อนไปหลังได้ ดังนี้:
๑. ร่ายยาว
๒. ร่ายโบราณ
๓. ร่ายดั้น
๔. ร่ายสุภาพ
ฉันทลักษณ์

๑. ร่ายยาว


ร่ายยาว คือ ร่ายที่ไม่กำหนดจำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๆ แต่ละวรรคจึงอาจมีคำน้อยมากแตกต่างกันไป. การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกัลคำหนึ่งคำใดในวรรคถัดไป. จะแต่งสั้นยาวเท่าไรเมื่อจบนิยมลงท้ายด้วยคำว่า แล้วแล นั้นแล นี้เถิด โน้นเถิด ฉะนี้ ฉะนั้น ฯลฯ เป็นต้น
ตัวอย่าง
โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อันสร้างสมดึงส์ปรมัตถบารมี เมื่อจะรับวโรรัตนเรืองศรีแปดประการ แด่สำนักนิท้าวมัฆวานเทเวศร์ ก็ทูลแก่ท้าวสหัสเนตรฉะนี้ (กาพย์มหาชาติ กาพย์สักรบรรพ)
๒. ร่ายโบราณ



ร่ายโบราณ คือ ร่ายที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมีคำห้าคำเป็นหลัก บทหนึ่งต้องแต่งให้มากกว่าห้าวรรคขึ้นไป. การสัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกัลคำที่หนึ่ง สอง หรือสาม คำใดคำหนึ่งของวรรคถัดไป, และยังกำหนดอีกว่า หากส่งด้วยคำเอก ต้องสัมผัสด้วยคำเอก คำโทก็ด้วยคำโท คำตายก็ด้วยคำตาย. ในการจบบทนั้น ห้ามไม่ให้ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ประสมอยู่เป็นคำจบบท, อาจจบด้วยถ้อยคำ, และอาจแต่งให้มีสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง
...พระบาทเสด็จ บ มิช้า พลหัวหน้าพะกัน แกว่งตาวฟันฉฉาด แกว่งดาบฟาดฉฉัด ซ้องหอกซัดยยุ่ง ซ้องหอกพุ่งยย้าย ข้างซ้ายรบ บ มิคลา ข้างขวารบ บ มิแคล้ว แกล้วแลแกล้วชิงข้า กล้าแลกกล้าชิงขัน รุมกันพุ่งกันแทง เข้าต่อแย้งต่อยุทธ์ โห่อึงอุดเอาชัย เสียงปืนไฟกึกก้อง สะเทือนท้องพสุธา หน้าไม้ดาปืนดาษ ธนูสาดศรแผลง แข็งต่อแข็งง่าง้าง ช้างพะช้างชนกัน ม้าผกผันคลุกเคล้า เข้ารุกรวนทวนแทง รแรงเร่งมาหนา ถึงพิมพิสารครราช พระบาทขาดคอช้าง ขุนพลคว้างขวางรบ กันพระศพกษัตริย์ หนีเมื้อเมืองท่านไท้ ครั้นพระศพเข้าได้ ลั่นเขื่อนให้หับทวาร ท่านนา (ลิลิตพระลอ)
ตัวอย่างแบบมีสร้อยสลับวรรค
เจ้าเผือเหลือแผ่นดิน นะพี่ หลากระบิลในแหล่งหล้า นะพี่ บอกแล้วจะไว้หน้าแห่งใด นะพี่ ความอายใครช่วยได้ นะพี่ อายแก่คนไสร้ท่านหัว นะพี่ แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่ สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่ เจ็บเผื่อเหลือแห่งพร้อง โอเอ็นดูรักน้อง อย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา. (ลิลิตพระลอ)

๓. ร่ายดั้น


ร่ายดั้น คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายโบราณ, แต่ไม่เคร่งเรื่องการรับสัมผัสระหว่างชนิดคำ คือ คำเอกไม่จำเป็นต้องรับด้วยคำเอก เป็นต้น. ส่วนการจบบท ใช้บาทที่สามและสี่ของโคลงดั้นมาปิดท้ายบท, และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง
ศรีสุนทรประฌาม งามด้วยเบญจพิธ องค์ประดิษฐ์อุตดม อัญขยมประจงถวาย พร้อมด้วยกายวาจาจิต...มวลมารพ่ายแพ้สูญ สิ้นเสร็จ ทรงพระคุณล้ำล้น เลิศครู. [ลิลิตดั้นมาตาปิตุคุณคาถาบรรยาย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)]

๔. ร่ายสุภาพ


ร่ายสุภาพ คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายดั้นทุกประการ ส่วนการจบบท ใช้โคลงสองสุภาพจบ และนิยมมีคำสร้อยปิดท้ายด้วย, และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
ตัวอย่าง
สรวมสวัสดิวิชัย เกริกกรุงไกรเกรียงยศ เกียรติปรากฏขจรขจาย สบายทั่วแหล่งแหล้า ฝนฟ้าฉ่ำชุ่มชล ไพศรพณ์ผลพูนเพิ่ม เหิมใจราษฎร์บำเทิง...ประเทศสยามชื่นช้อย ทุกข์ขุกเข็ญใหญ่น้อย นาศไร้แรงเกษม โสตเทอญ (ลิลิตนิทราชาคริต โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น